• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Research Highlight

การติดตามนิเวศวิทยาประชากรและการเติบโตของวัวแดง (Bos javanicus) ภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ จังหวัดชลบุรี

Monitoring of Population Ecology and Growth Rate of Banteng (Bos javanicus) after the Reintroduction in Salakphra Wildlife Sanctuary, Kanchanaburi Province and Khao Khieo - Khao Chompu Wildlife Sanctuary, Chonburi Province

Image
แหล่งทุน
ทุนสนับสนุนงานพื้นฐาน (Fundamental Fund; FF)
ส่วนงานหลัก
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ส่วนงานร่วม
ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาน้ำพุ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ผู้ดำเนินการหลัก
รศ.ดร.รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์
ผู้ดำเนินการรอง
นายเสรี นาคบุญ

คำอธิบาย

การติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์เพื่อติดตามประชากรและอัตราการเติบโตของวัวแดงเพื่อเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ที่เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมก่อนที่จะสูญพันธุ์หมดไป ต่อมาได้มีการฟื้นฟูประชากรโดยการปล่อยอย่างเป็นระบบครั้งแรกของโลกตามคู่มือการปล่อยของ IUCN/SSC (2013) และพัฒนาเป็นรูปแบบการปล่อยมาตรฐาน เมื่อได้ภาพถ่ายของวัวแดงและสัตว์ป่าชนิดอื่น ๆ ในพื้นที่แล้วนำมาจัดทำฐานข้อมูลสำคัญในการกำหนดมาตรการและนโยบายการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่และเป็นโมเดลต้นแบบสำหรับพื้นที่อื่น เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและส่งเสริมงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานิเวศวิทยาประชากรและอัตราการเติบโตของลูกวัวแดงภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ การติดตามกิจกรรมรอบวันของวัวแดงภายหลังการปล่อยคืนธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการเตรียมพื้นที่ก่อนปล่อยวัวแดงคืนสู่ธรรมชาติในพื้นที่อื่น ๆ

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ
เพื่อให้การปล่อยวัวแดงทั้ง 2 พื้นที่ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องจำเป็นต้องมีการติดตามนิเวศวิทยาประชากรและอัตราการเติบโตหลังจากสร้างประชากรได้แล้วในธรรมชาติเพื่อให้เป็นไปตามแผนการจัดการปกป้องคุ้มครองชนิดพันธุ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในประเทศไทย และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560–2564 แนวคิดการพัฒนาแบบองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมทั้งจากภาครัฐ เอกชน ประชาชน และภาคการศึกษาในประเด็น วัตถุประสงค์เพื่อศึกษานิเวศวิทยาประชากรและอัตราการเติบโตของลูกวัวแดงภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ การติดตามกิจกรรมรอบวันของวัวแดงภายหลังการปล่อยคืนธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการเตรียมพื้นที่ก่อนปล่อยวัวแดงคืนสู่ธรรมชาติในพื้นที่อื่น ๆ

การดำเนินการ
1) ติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าให้ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่หากินของวัวแดงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่
2) จำแนกภาพที่ได้และจำนวนตัว วันที่ เวลา และฤดูกาลที่พบ
3) วิเคราะห์การกระจายซึ่งเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อคาดคะเนโอกาสการกระจายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ กับการปรากฏของสัตว์ป่า
4) การวิเคราะห์รูปแบบกิจกรรมรอบวันของวัวแดง เพื่อศึกษากิจกรรมรอบวันหรือช่วงเวลาที่วัวแดงออกหากินในพื้นที่ศึกษา ทำให้สามารถเข้าใจพฤติกรรมของวัวแดงได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาการเลือกพื้นที่ในการทำกิจกรรมรอบวันของวัวแดงได้
5) ประเมินจำนวนประชากรและประเมินโครงสร้างประชากรวัวแดง
6) ติดตามกิจกรรมในรอบวัน มาวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางสถิติ เพื่อแสดงผลแผนภูมิกราฟของรูปแบบกิจกรรมของวัวแดงในแต่ละช่วงเวลา
7) วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ วิเคราะห์ความแตกต่างของจำนวนประชากรวัวแดงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่

ผลการดำเนินงาน
1) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระในปีที่ 2 พบตำแหน่งที่พบวัวแดงจำนวน 10 จุด จากข้อมูลโครงสร้างประชากรของวัวแดงที่เลี้ยงภายในศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาน้ำพุก่อนการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติจำนวน 23 ตัว มีอัตราส่วนระหว่างเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 12:11 ส่วนข้อมูลวัวแดงภายหลังจากปล่อยคืนสู่ธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระจากกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ พบว่ามีอัตราส่วนระหว่างเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 12:11 การพัฒนาร่างกายของวัวแดงที่เลี้ยงอยู่ภายในศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาน้ำพุก่อนการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติจำนวน 23 ตัว มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเพศผู้มีการพัฒนาสภาพร่างกายดีกว่าเพศเมีย ข้อมูลจากกล้องดักถ่ายภาพสัตว์พบว่า การพัฒนาร่างกายของวัวแดงที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเพศผู้มีการพัฒนาสภาพร่างกายดีกว่าเพศเมีย เช่นเดียวกับการพัฒนาร่างกายของวัวแดงที่เลี้ยงอยู่ภายในศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาน้ำพุก่อนการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ อัตราการเติบโตของลูกวัวแดงมีการพัฒนาร่างกายของวัวแดงมีความแตกต่างกันระหว่างเพศผู้และเพศเมีย เรียกว่า ภาวะเพศสองรูปแบบ (Sexual dimorphism) สัณฐานวิทยาของวัวแดงเพศผู้มีความแตกต่างกันไปตามชั้นอายุ โดยเฉพาะเมื่อมีอายุตั้งแต่ 3 ปีเป็นต้นไป โดยเฉพาะการตีวงเขา ขนาดร่างกาย สีบริเวณผิวหนัง และเหนียง โดยทั่วไปวัวแดงเพศผู้มีสีน้ำตาลเข้ม ร่างกายมีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย โดยเพศผู้สูงได้ถึง 160 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 600–800 กิโลกรัม ส่วนเพศเมียมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสัณฐานวิทยาหลัง 3 ปีขึ้นไป เพศเมียมีน้ำหนักน้อยกว่า มีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเม็ดมะขาม สูงถึง 140 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 590–670 กิโลกรัม
2) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ ในปีที่ 2 พบตำแหน่งที่พบวัวแดงจำนวน 7 จุด ข้อมูลโครงสร้างประชากรของวัวแดงที่หลุดสู่ธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่จากกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ พบว่ามีอัตราส่วนระหว่างเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 12:11 ข้อมูลจากกล้องดักถ่ายภาพสัตว์พบว่า การพัฒนาร่างกายของวัวแดงที่หลุดสู่ธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเพศผู้มีการพัฒนาสภาพร่างกายดีกว่าเพศเมีย เช่นเดียวกับการพัฒนาร่างกายของวัวแดงที่เลี้ยงอยู่ภายในศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาน้ำพุและที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ

การนำไปใช้ประโยชน์
ภาครัฐ: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ผลงานตีพิมพ์
Chaiyarat R, Ingudomnukul P, Yimphrai N, Nakbun S, Youngpoy N. The preferred habitat of reintroduced banteng (Bos javanicus) at the core and the edge of Salakphra Wildlife Sanctuary, Thailand. Animals, 2023, 13, 2293. https://doi.org/10.3390/ani13142293. ISI Impact Factor = 3.231, SJR Quartile = Q1
Chaiyarat R, Sriphonkrang N, Khamsirinan P, Nakbun S, Youngpoy N. Age structure, development and population viability of banteng (Bos javanicus) in captive breeding for ex-situ conservation and reintroduction. Animals, 2023, 13(2), 198. https://doi.org/10.3390/ani13020198. ISI Impact Factor = 3.231, SJR Quartile = Q1

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

เป็นการเปรียบเทียบการเลือกใช้พื้นที่ของวัวแดงที่หลุดเข้าสู่ป่าธรรมชาติและที่ดำเนินการปล่อยอย่างเป็นระบบครั้งแรกที่ยังไม่เคยมีโครงการใดดำเนินการมาก่อน

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

ระดับชุมชน สร้างความตระหนักให้สังคมได้เห็นคุณค่าต่อการอนุรักษ์วัวแดงและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ในพื้นที่เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม

ระดับประเทศ ได้ข้อมูลในการเตรียมวัวแดงพื้นปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ และการจัดการถิ่นที่อยู่อาศัยของวัวแดงให้ดีขึ้น หรือพร้อมต่อการรองรับประชากรของวัวแดงที่จะทำการปล่อยในอนาคต

ระดับโลก ได้ข้อมูลในการเตรียมวัวแดงพื้นปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ และการจัดการถิ่นที่อยู่อาศัยของวัวแดงให้ดีขึ้น หรือพร้อมต่อการรองรับประชากรของวัวแดงที่จะทำการปล่อยในอนาคต เป็นครั้งแรกของโลกที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินการอนุรักษ์ในพื้นที่อื่น ๆ ของโลกต่อไป

Key Message

การปล่อยสัตว์ป่าที่เป็นเหยื่อที่สำคัญที่สุดของเสือโคร่งคืนสู่ธรรมชาติเป็นการฟื้นฟูสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศบนบกที่ถูกทำลายและเสื่อมสภาพลงให้กลับมาทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพยั่งยืนอีกครั้ง

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

Partners/Stakeholders

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

กรมป่าไม้

ภาพประกอบ
Image
Image
Image
Image

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.