• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Post Formats

การประเมินผลกระทบจากภัยแล้งต่อความมั่นคงด้านการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ

MU-SDGs Case Study

การประเมินผลกระทบจากภัยแล้งต่อความมั่นคงด้านการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง

(Drought impact assessment on agricultural security in Mae Chang watershed Lampang province)

แหล่งทุน

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

ส่วนงานหลัก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ส่วนงานร่วม

 

ผู้ดำเนินการหลัก

รศ.ดร. สุระ พัฒนเกียรติ

ผู้ดำเนินการร่วม

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

คำอธิบาย

 

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินและคาดการณ์ผลกระทบจากภัยแล้งต่อพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งประเมินความเหมาะสมของพื้นที่สำหรับการปลูกพืชทางเลือก เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์พื้นที่เกษตรกรรมในลุ่มน้ำแม่จางอย่างเหมาะสมและยั่งยืน

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

 

            ภาคเกษตรกรรมต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งซ้ำแล้วซ้ำอีกเกือบทุกปี ทั้งทางตรงและทางอ้อม ก่อให้เกิดการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค ตลอดจนการใช้น้ำเพื่อการเกษตร ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภัยแล้งต่อพื้นที่เกษตรกรรมและคาดการณ์สถานการณ์พื้นที่เปราะบางจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการใช้ที่ดินในอนาคต พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการรับมือผลกระทบจากภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นต่อพื้นที่เกษตรกรรมในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง

            การประเมินผลกระทบของการเกิดภัยแล้งต่อพื้นที่เกษตรกรรมในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง ผ่านวิธีการประเมินและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำ การจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต การระบุปีที่เกิดเหตุการณ์แล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำโดยใช้ดัชนีความแห้งแล้ง Standardized Precipitation Index (SPI) รวมถึงประเมินปริมาณน้ำท่าและการขาดแคลนน้ำตามรูปแบบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสภาพภูมิอากาศในอนาคต ตามแบบจำลอง Integrated Valuation of Ecosystem Services and Tradeoffs (InVEST) พร้อมทั้งการประเมินพื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืช ตลอดจนการจัดประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะกับเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เหมืองแร่ และพื้นที่ชุมชนสิ่งปลูกสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันพื้นที่ป่าผลัดใบลดลงจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำแม่จางจากปี พ.ศ. 2532 ถึง 2564 ส่วนการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ปี พ.ศ. 2580 พบว่าการลดลงของพื้นที่ป่าผลัดใบยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม จากการวิเคราะห์ทำให้คาดการณ์ได้ว่าในอนาคตพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จางจะมีความแห้งแล้งเพิ่มมากขึ้น ด้วยการระบุปีที่เกิดเหตุการณ์แล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำโดยใช้ดัชนี SPI ซึ่งค่า SPI คาบ 12 เดือน ในปีที่มีฝนตกน้อยที่สุดได้แก่ พ.ศ. 2558 2567 และ 2570 โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ที่เกิดภัยแล้งซ้ำซากในอดีต ปัจจุบัน และจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว รองลงมาคือพืชไร่และไม้ยืนต้น

            ส่วนแบบจำลอง InVEST กรณีในปี พ.ศ. 2567 จะมีความแห้งแล้งปานกลางถึงมาก เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน และในปี พ.ศ. 2570 จะมีความแห้งแล้งมากที่สุดและต่อเนื่องยาวนาน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปจนถึงธันวาคม ในส่วนการประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ปลูกข้าวจากข้อมูลน้ำฝนปี พ.ศ. 2564-2580 พบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพดินที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว ในทางกลับกันผลการประเมินความเหมาะสมของพืชเกษตรต่อสภาพพื้นที่จากการศึกษานี้ พบว่ามีพื้นที่ในหลายตำบลที่มีสภาพดินเหมาะแก่การปลูกไผ่ และพืชเกษตรอื่น ๆ ที่ใช้น้ำน้อย (300 – 700 ลบ.ม./ไร่/ฤดูกาลผลิต) อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจความคิดเห็นผู้ใช้น้ำในลุ่มน้ำแม่จาง พบว่าร้อยละ 42 ได้รับผลกระทบมากจากภัยแล้งมาก

            ด้านข้อเสนอแนะพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อความมั่นคงด้านการเกษตรนั้นมีข้อจำกัดด้านอื่นที่ควรพิจารณาร่วมด้วยกันคือความคุ้มค่าในการลงทุนเช่นเดียวกันกับความต้องการของตลาด ทั้งนี้แนวทางการปลูกพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสมกับพื้นที่ต้องมีความหลากหลาย ควรมีการผสมผสานพืชหลายชนิด ส่วนที่สำคัญคือการส่งเสริมการขยายผลวิจัยให้ต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเกษตรกรรมในลุ่มน้ำแม่จาง จะช่วยให้สามารถวางแผนเพื่อลดผลกระทบจากภัยแล้งในพื้นที่เกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืนในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง

            สำหรับหน่วยงานที่นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ได้แก่

1. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 ได้ใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ เชิงชุมชน และเชิงวิชาการ โดยข้อมูลจากงานวิจัยถูกใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการลุ่มน้ำวัง คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดลำปาง และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค

2. สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดลำปาง ใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายและชุมชน โดยใช้ประโยชน์ในด้านการนำข้อมูลไปประกอบการจัดทำแผนเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านและแผนพัฒนาจังหวัดด้านสิ่งแวดล้อม                                                      

3. โรงเรียนบ้านนาดู่ ใช้ประโยชน์ในเชิงชุมชน โดยนำเนื้อหาสาระไปใช้ในการเรียนการสอนหลักสูตร สถานศึกษาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นเครือข่ายเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำจาง ให้เยาวชนและชาวบ้านได้เกิดความตระหนัก ทำให้นักเรียนเกิดความตระหนักถึงสภาวะสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและควรเกิดการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรในลุ่มน้ำจาง                                                              

4. โรงเรียนแม่ทะพัฒนาศึกษา ใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ นำเนื้อหาสาระไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษารายวิชาเพิ่มเติมในส่วนของสาระท้องถิ่นของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกิจกรรมค่ายเยาวชนรักษ์ลุ่มน้ำจาง ทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมค่ายเยาวชนรักษ์ลุ่มน้ำจางได้เรียนรู้เกี่ยวกับภัยแล้งในอนาคตและควรเร่งส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ                                                    

5. โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายและเชิงชุมชน โดยมีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ 1) ใช้ข้อมูลในการจัดทำนโยบายผลกระทบภัยแล้งต่อความมั่นคงด้านการเกษตรและประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและนำองค์ความรู้สู่นักเรียน 2) มีการเผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้เรื่องผลกระทบภัยแล้งต่อความมั่นคงด้านการเกษตรสู่ผู้ปกครอง และชุมชน                                     

6. วิสาหกิจชุมชนไทยวิจัยสิ่งแวดล้อม ใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ เชิงพาณิชย์ เชิงชุมชน และเชิงวิชาการ โดยมีการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ 1) นำองค์ความรู้ไปสังเคราะห์เป็นนโยบาย เพื่อส่งเสริมพี่น้องสมาชิกและประชาชน เพิ่มการปลูกต้นไม้ไม่ผลัดใบ 2) สมาชิก และประชาชน เปลี่ยนวิธีคิด และพฤติกรรมเพิ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต 3) ส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เพื่อรักษาความชื้นในระบบนิเวศ และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ 4) นำองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมขน และสมาชิก 5) ต่อยอดงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมคุณภาพเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตของสมาซิก และประชาชน

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

13

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

1, 2, 6

Key Message

 

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อประเมินภัยแล้งต่อพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งเสนอพืชทางเลือกที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่และสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถปรับตัวและลดผลกระทบจากภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

อัลบั้มภาพ

 

Partners/Stakeholders

1. เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง

2. สำนักงานเกษตรอำเภอแม่เมาะ

3. สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ทะ

4. สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง

5. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1

6. สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดลำปาง

7. วิสาหกิจชุมชนไทยวิจัยสิ่งแวดล้อม

8. โรงไฟฟ้าแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ตัวชี้วัด THE Impact Ranking

13.3.2, 13.3.3, 2.5.1, 6.5.5

กำหนดวันที่ในการแสดงผล

วันเริ่มต้น

วันสิ้นสุด


Accordion Menu

Newsletter Subscribe

About The Flex

Good seasons, day place male evening life after together gathered let void she'd grass created days upon after above great. Creative, prolific and ever-ready to serve you.


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.