• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Post Formats

โครงการอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยโปรแกรม R เพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

โครงการอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยโปรแกรม R เพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

โครงการอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยโปรแกรม R เพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

(Spatial Data Analysis with R Program for Environmental Science)

วันที่ ๒๕ – ๒๖  กรกฎาคม ๒๕๖๗

ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ GIS อาคารสารสนเทศผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

*****************************************************************************

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันงานวิจัยถูกวิเคราะห์ด้วยวิธีการที่หลากหลายมากขึ้นกว่าในอดีต ทั้งข้อมูลในเชิงพรรณา เชิงปริมาณ เชิงเวลา และที่สำคัญในยุคที่มีการนำระบบภูมิสารสนเทศเข้ามาร่วมด้วย ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Geospatial data) จึงมีบทบาทที่สำคัญในงานวิจัย ซึ่งรวมไปถึงงานทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ที่มีความผันแปรทั้งในเชิงพื้นที่และเวลา การจัดการกับข้อมูลดังกล่าวจึงต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานของข้อมูล และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นอย่างดี นอกจากนั้นหากมีการประยุกต์การวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพื้นที่ที่เป็นมาตรฐานร่วมด้วย ผลงานวิชาการนั้นๆจะมีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพเพียงพอสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งช่วยในการพัฒนาคุณภาพของนักวิจัยทั้งระดับบุคคลและระดับองค์กร ด้วยเหตุผลข้างต้นความรู้ความเข้าใจในข้อมูลเชิงพื้นที่จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการประยุกต์ใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมทั้งในปัจจุบันและอนาคต

การอบรมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยโปรแกรม R เพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เป็นโครงการอบรมระยะสั้นที่มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยโปรแกรม R เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์โครงการอบรมนี้ครอบคลุมเนื้อหาที่สำคัญดังต่อไปนี้ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ การใช้งานโปรแกรม R ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้โปรแกรม R ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โครงการอบรมนี้เหมาะสำหรับผู้สนใจในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ที่ต้องการเพิ่มทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรม R โครงการอบรมนี้จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถเข้าใจหลักการพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่โดยการใช้งานโปรแกรม R ได้อย่างคล่องแคล่ว ประยุกต์ใช้โปรแกรม R ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เนื้อหาของโครงการอบรมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้

ส่วนแรก จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ โดยจะครอบคลุมเนื้อหาดังนี้

  • พื้นฐานภูมิสารสนเทศศาสตร์ (Basic Geoinformatics)
  • ระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Coordinate Reference System (CRS) and EPSG Code )
  • ประเภทของข้อมูลเชิงพื้นที่และแหล่งที่มา (Geospatial data types and sources)
  • พื้นฐานการใช้โปรแกรม QGIS เพื่อการเตรียมข้อมูลเบื้องต้น

ส่วนที่สอง จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับโปรแกรม R โดยจะครอบคลุมเนื้อหาดังนี้

  • การติดตั้งโปรแกรม R การใช้งานพื้นฐานของโปรแกรม R
  • ฟังก์ชันและคำสั่งในโปรแกรม R ที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
  • การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่และการจัดการกับข้อมูล
  • การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในโปรแกรม R ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (กรณีศึกษา)

โครงการอบรมนี้จะมีระยะเวลาอบรม 2 วัน ในแต่ละวันจะมีระยะเวลาอบรมประมาณ 6 ชั่วโมงผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการอบรมได้โดยการลงทะเบียนออนไลน์ที่เว็บไซต์ของหน่วยงานที่จัดการอบรม ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงเปิดการฝึกอบรม หลักสูตร การพัฒนาศักยภาพการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยโประแกรม R เพื่อประยุกต์ใช้ในงานสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (Spatial Data Analysis with R Program for Environmental Science) เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงพื้นที่ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การจัดการข้อมูล การสร้างภาพเพื่อนำเสนอข้อมูล การประยุกต์ใช้สถิติเพื่องานวิจัย รวมถึงเทคนิคและวิธีเขียนผลการศึกษาเพื่อการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ด้านการวิเคราะห์งานวิจัยที่มีคุณภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่ได้มาตรฐานระดับสากล

สิ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับ

๑. เข้าใจพื้นฐานของข้อมูลเชิงพื้นที่ และสามารถแสดงผลเป็นแผนที่และกราฟได้

๒. สามารถประยุกต์ใช้สถิติเชิงพื้นที่เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๓. สามารถใช้โปรแกรมจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล (โปรแกรม R และ QGIS) ได้ในระดับเบื้องต้น


 

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

ผู้ที่มีพื้นฐานการจัดการข้อมูลเบื้องต้น และต้องการเรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนผู้ที่มีภารกิจรับผิดชอบในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าไม้และสัตว์ป่า รวมไปถึงผู้ที่มีความสนใจในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพื้นที่ผ่านโปรแกรม R ในระดับเบื้องต้น

วิธีการฝึกอบรม

การบรรยาย

- พื้นฐานภูมิสารสนเทศศาสตร์และการประยุกต์ใช้ในงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

- ระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์

- ประเภทของข้อมูลเชิงพื้นที่และแหล่งที่มา

- แนะนำการใช้งานโปรแกรม R เพื่องานสิ่งแวดล้อม

- พื้นฐานการจัดการข้อมูลวิจัยเชิงพื้นที่

- การแสดงผล แผนที่ และกราฟประเภทต่างๆ

การปฏิบัติ

- พื้นฐานการใช้โปรแกรม QGIS เพื่อการเตรียมข้อมูลเบื้องต้น

- การจัดการข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (การใช้งานแพ็คเกจต่างๆ)

- วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการประยุกต์สถิติเชิงพื้นที่ผ่านโปรแกรม R

- การแสดงภาพกราฟและแผนที่ในงานวิจัยเบื้องต้นผ่านโปรแกรม R

- การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในโปรแกรม R ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (กรณีศึกษา)

ซอฟแวร์ที่ใช้    Microsoft Excel, QGIS และ R Gui + R Studio

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐานได้ดี

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม

ผู้เข้ารับการฝึกอบรม   ๒๐ คน

สถานที่ดำเนินการ

ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ GIS อาคารสารสนเทศผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ระยะเวลาดำเนินการ

จำนวน ๒ วัน วันที่ ๒๕ – ๒๖  กรกฎาคม ๒๕๖๗ 

อัตราค่าลงทะเบียน

          ๓,๕๐๐ บาท / คน

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

๑.   ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร

       คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                 ห้อง ๓๓๐๒ อาคารสารสนเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน (อาคาร ๓)

                 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                 ๙๙๙ ถนนพุทธมณฑล สาย ๔  ตำบลศาลายา  อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐

                 โทรศัพท์ ๐๒-๔๔๑-๕๐๐๐ ต่อ ๓๓๔๔ โทรสาร ๐๒-๔๔๑-๙๕๑๐

                 อีเมล girenoffice@gmail.com 

๒.   ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

       ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล

                 ห้อง ๓๓๐๓ อาคารสารสนเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน (อาคาร ๓)

                 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                 ๙๙๙ ถนนพุทธมณฑล สาย ๔  ตำบลศาลายา  อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐

                 โทรศัพท์ ๐๒-๔๔๑-๕๐๐๐ ต่อ ๓๓๔๔ โทรสาร ๐๒-๔๔๑-๙๕๑๐

                 อีเมล gistmu@mahidol.ac.th

                 เว็บไซต์: http://gistmu.mahidol.ac.th

กำหนดการอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยโปรแกรม R เพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

(Spatial Data Analysis with R Program for Environmental Science)

วันที่ ๒๕ – ๒๖  กรกฎาคม ๒๕๖๗

ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ GIS อาคารสารสนเทศผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

*****************************************************************************

วันพฤหัสที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗

 

เวลา

กิจกรรม

วิทยากร

๐๘.๐๐ - ๐๘:๓๐ น.

ลงทะเบียน (ทำแบบทดสอบก่อนเรียน)

๐๘:๓๐ - ๐๙:๐๐ น.

พิธีเปิด

คณบดี

๐๙:๐๐ - ๐๙:๔๕ น.

บรรยาย: พื้นฐานภูมิสารสนเทศศาสตร์ (Basic Geoinformatics)

-          เทคโนโลยีการสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote sensing)

-          ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System)

-          ระบบนำทางด้วยดาวเทียม (Global Navigation Satellite System)

อาจารย์พิสุทธิ นาคหมื่นไวย
และคณะ

๐๙:๔๕ ๑๐:๑๕

บรรยาย: ระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Coordinate Reference System (CRS) and EPSG Code)

-          Geographic CRS

-          Projected CRS

-          CRS Data transformation

อาจารย์พิสุทธิ นาคหมื่นไวย
และคณะ

๑๐:๑๕ ๑๐.๓๐ น.

พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๓๐- ๑๑:๐๐ น.

บรรยาย: ประเภทของข้อมูลเชิงพื้นที่และแหล่งที่มา (Geospatial data types and sources)

-          แบบจำลองข้อมูลเวคเตอร์ (Vector data model)

-          แบบจำลองข้อมูลแรสเตอร์ (Raster data model)

-          แหล่งที่มาของข้อมูล

อาจารย์พิสุทธิ นาคหมื่นไวย
และคณะ

๑๑:๐๐ - ๑๒:๐๐ น.

ปฏิบัติการ: พื้นฐานการใช้โปรแกรม QGIS เพื่อการเตรียมข้อมูลเบื้องต้น

-          การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่
(Import geospatial data)

-          เทคนิคการซ้อนทับข้อมูล
(Basic spatial overlay analysis)

อาจารย์พิสุทธิ นาคหมื่นไวย
และคณะ

๑๒:๐๐ - ๑๓:๐๐ น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

  ๑๓:๐๐ - ๑๔:๐๐ น.

บรรยาย:  แนะนำการใช้งานโปรแกรม R เพื่องานสิ่งแวดล้อม และการจัดการกับข้อมูลเชิงพื้นที่

ผู้ช่วยอาจารย์อันดามัน จันทร์ขาว และคณะ

 ๑๔:๐๐ - ๑๔:๑๕ น.

พักรับประทานอาหารว่าง

๑๔:๑๕ น.- ๑๖:๐๐ น.

ปฏิบัติการ:  การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่และการจัดการกับข้อมูล ด้วยโปรแกรม R

-          การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ (Import data)

-          การจัดการกับข้อมูลเชิงพื้นที่แต่ละประเภท (point, polyline, polygon, และ raster)

-           การคำนวณข้อมูลเชิงพื้นที่ขั้นพื้นฐาน

ผู้ช่วยอาจารย์อันดามัน จันทร์ขาว และคณะ

 

วันศุกร์ที่ ๒๖  กรกฎาคม ๒๕๖๗

 

เวลา

กิจกรรม

วิทยากร

๐๙.๐๐ - ๐๙:๑๕ น.

ลงทะเบียน

๐๙:๑๕ - ๑๐:๓๐ น.

ปฏิบัติการ: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในโปรแกรม R ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

-           Spatio-temporal Particulate Matter 2.5 (PM2.5) with Inverse Distance Weighting interpolation

ผู้ช่วยอาจารย์อันดามัน จันทร์ขาว และคณะ

๑๐:๓๐ ๑๐.๔๕ น.

พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๔๕- ๑๒:๐๐ น.

ปฏิบัติการ: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในโปรแกรม R ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

-          Species Distribution Pattern with
K-function (Random, Clustered, Uniform)

ผู้ช่วยอาจารย์อันดามัน จันทร์ขาว และคณะ

๑๒:๐๐ - ๑๓:๐๐ น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

  ๑๓:๐๐ - ๑๔:๓๐ น.

ปฏิบัติการ: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในโปรแกรม R ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์:

-          Species Distribution Model with present and absent data

ผู้ช่วยอาจารย์อันดามัน จันทร์ขาว และคณะ

 ๑๔:๓๐ - ๑๔:๔๕ น.

พักรับประทานอาหารว่าง

๑๔:๔๕ น.- ๑๖:๐๐ น.

ปฏิบัติการ: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในโปรแกรม R ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

-          Forest area classification with Random Forest etc.

ผู้ช่วยอาจารย์อันดามัน จันทร์ขาว และคณะ

๑๖:๐๐ น.- ๑๖:๓๐ น.

แบบทดสอบหลังอบรมและแบบประเมินความพึงพอใจ

หมายเหตุ:

*กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


  

 


Accordion Menu

Newsletter Subscribe

About The Flex

Good seasons, day place male evening life after together gathered let void she'd grass created days upon after above great. Creative, prolific and ever-ready to serve you.


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.