• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Post Formats

สรุปการเสวนา เรื่อง “Tips and Tricks with Two Editors: What an editor wants”

สรุปการเสวนา เรื่อง “Tips and Tricks with Two Editors: What an editor wants

17 มกราคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.จำลอง อรุณเลิศอารีย์ รองคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้แทนคณบดีกล่าวต้อนรับ ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญหา บรรณาธิการวารสาร Tropical Natural History วารสารทางการของพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รองศาสตราจารย์ ดร.ดุษณี ธนะบริพัฒน์ บรรณาธิการวารสาร Current Applied Science and Technology จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในโอกาสเป็นวิทยากรผู้ร่วมเสวนาด้านการวิจัย เรื่อง “Tips and Tricks with Two Editors: What an editor wants” ทั้งนี้โดยมี อาจารย์ ดร.วิชญา รงค์สยามานนท์ รองบรรณาธิการวารสาร Environment and Natural Resources Journal คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ

สรุปรายละเอียดการเสวนา

อาจารย์สมศักดิ์เกริ่นนำเกี่ยวกับวารสาร โดยมีแนวความคิดว่าการตีพิมพ์ผลงานพื้นฐานมาจากงานวิจัยและมีโจทย์วิจัย มีการพัฒนาองค์ความรู้ให้ใหม่ขึ้นไปเรื่อยๆ การวิจัยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยจึงเกิดโจทย์ใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งวารสาร Tropical Natural History เน้นเรื่องชีววิทยา สิ่งแวดล้อม และมนุษยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

อาจารย์ดุษณีเกริ่นนำเกี่ยวกับวารสาร เป็นวารสารแบบ Multidisciplinary โดยสาขาวิชาที่มี Impact เพิ่มมากขึ้นมีอยู่ 3 ด้านคือ Biochemistry, Biotechnology และ Environmental Sciences ซึ่งการจัดการวารสารของ Current Applied Science and Technology มีการจัดการโดยหน่วยงานสำนักบริหารวารสารวิชาการ ขึ้นตรงกับมหาวิทยาลัยโดยตรง

ช่วงถาม-ตอบ

  1. ในมุมมองของบรรณาธิการการเลือกวารสารที่ถูกต้องมีส่วนสำคัญต่อผู้เขียนมากหรือน้อยอย่างไร

อาจารย์สมศักดิ์: ผู้เขียนต้องประเมินขอบเขตงานวิจัยของตนเองให้ถูกต้อง เช่นดูจากการอ้างอิงในบทความของตนเองว่าหนักไปทางไหน และขึ้นอยู่กับระดับผู้ทำวิจัย สำหรับผู้เขียนมือใหม่ควรเลือกให้เหมาะสมกับงานก่อนจึงค่อยๆ ขยับความยากของวารสารเพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้ตนเอง

อาจารย์ดุษณี:  ถ้าบทความเป็นด้านงานประยุกต์จะค่อนข้าง ให้ดูเรื่องของเครื่องมือของงานวิจัยนั้นๆ ว่าเน้นหนักไปทางด้านไหน ผู้เขียนบางท่านอาจจะชอบส่งวารสารด้าน Applied ไปก่อนเนื่องจากมีความกว้างของขอบเขตงานวิจัยจึงจะได้รับการตอบรับตีพิมพ์ง่ายกว่าวารสารที่เฉพาะทางแต่ส่วนนี้ก็ต้องขึ้นกับบบรรณาธิการพิจารณา

 

  1. Format หรือ Template ของวารสารมีความสำคัญอย่างไร และมีผลต่อการพิจารณาในเบื้องต้นกองบรรณาธิการอย่างไร

อาจารย์สมศักดิ์: ผู้เขียนควรศึกษา Instruction for Authors ของวารสารมาให้ดี ซึ่งหากเราเลือกวารสารใดเพื่อจะส่งบทความแล้วต้องพิจารณาให้ดีเนื่องจากนนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำตามมิใช่ให้เลือกทำหรือไม่ บรรณาธิการเห็นว่าเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญมากในการพิจารณาบทความ

อาจารย์ดุษณี:  หากพบว่าไม่เป็นไปตามที่กำหนดบรรณาธิการส่งไปแก้ไข หากไม่แก้ไขกลับมาก็จะไม่พิจารณาบทความต่อ

 

  1. บรรณาธิการพิจารณาบทความขั้นต้นอย่างไรว่าบทความนั้นๆ ไม่มีความซ้ำซ้อน หรือผิดจริยธรรมการวิจัย

อาจารย์สมศักดิ์: เรื่องนี้ยากมากในการประเมิน แต่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของบรรณาธิการในส่วนหนึ่ง และหากสงสัยบรรณาธิการจะส่งต่อให้ Editorial Board ช่วยพิจารณาและช่วยตัดสินบทความนี้

อาจารย์ดุษณี:  ให้ Editorial Board ช่วยพิจารณาและช่วยตัดสินบทความนี้

(โดยทั้ง 2 วารสารได้ใช้โปรแกรม Turn-it-in ช่วยในการความซ้ำซ้อนของบทความก่อนเข้ากระบวนการ Review)

 

  1. 4. จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของบรรณาธิการ เหตุผลในการ reject บทความส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นจากปัญหาอะไรบ้าง

อาจารย์สมศักดิ์: บทความไม่มีคุณภาพในระดับเนื้อหางานวิจัย ไม่พบองค์ความรู้ใหม่จากบทความ และส่งให้ Editorial Board ช่วยพิจารณาและตัดสิน อีกส่วนนึงคือเรื่องภาษาไม่ดีทำให้อ่านแล้วไม่เข้าใจ

อาจารย์ดุษณี:  1. ขอบเขตงานวิจัยไม่ตรงกับวารสาร 2. เข้าโปรแกรม Turn-it-in แล้วมีความซ้ำซ้อนสูงกว่าที่วารสารกำหนด 3. เนื้อหางานวิจัยไม่ดีและข้อมูลไม่สมบูรณ์

(ทั้ง 2 วารสารมีบทความต่างชาติส่งเข้ามาจำนวนมากและถูก reject เป็นจำนวนมากกว่าประเทศไทย และทั้ง 2 วารสารไม่มีการเก็บค่าตีพิมพ์บทความ (Page charge) จึงทำให้มีผู้เขียนส่งเข้ามาเป็นจำนวนมาก)

 

  1. ปัจจุบันมีเว็บไซต์หลอกลวง มีการซื้อขายบทความเพื่อผู้เขียน ในฐานะบรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องมีวิธีกี่รับมืออย่างไร

อาจารย์สมศักดิ์: บรรณาธิการรับมือค่อนข้างยาก จึงขอฝากให้มีคุณธรรมจริยธรรมการวิจัยทุกท่าน

อาจารย์ดุษณี:  บรรณาธิการไม่สามารถรับมือได้ทันและทั้งหมด เนื่องจากกลโกงมีหลากหลายรู้แบบ จึงของฝากผู้เขียนว่าต้องมีจริยธรรมการวิจัยเป็นพื้นฐาน

 

  1. การส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เขียนพัฒนาและแก้ไขบทความดียิ่งขึ้น บรรณาธิการมีแนวทางอย่างไรในการสร้างแรงจูงใจผู้เขียนแก้ไขบทความ

อาจารย์สมศักดิ์: บรรณาธิการพิจารณาผลของ reviewer ว่ามีรายละเอียดการแก้ไขเป็นอย่างไร ตรงกับทิศทางที่ควรจะเป็นไปของบทความนั้นไหม หากพบว่าดีและช่วยสงเสริมก็จะมีประโยชน์ต่อบทความ แต่หากไม่มีการให้ข้อคิดเห็นใดๆ มาบรรณาธิการจะต้องพิจารณาผลของ reviewer เพิ่มเติมอีกครั้ง ข้อเสนอแนะบทความต้องสร้างสรรค์ช่วยให้ผู้เขียนพัฒนาบทความกลับมาได้อย่างดี

อาจารย์ดุษณี:  บรรณาธิการต้องพิจารณาผลของ reviewer เช่นเดียวกัน เพื่อพัฒนาบทความให้ดีขึ้น

 

  1. การเสนอชื่อ reviewer จากผู้เขียนช่วยบรรณาธิการให้ง่ายต่อขั้นตอนต่อไปไหม Trick ในการเสนอชื่อ reviewer ควรทำยังไงบ้าง

อาจารย์สมศักดิ์: การเสนอชื่อ reviewer ควรเสนออย่างตรงไปตรงมา และควรดูเรื่องของ Conflict of interest ในการเสนอด้วย

อาจารย์ดุษณี:  เห็นด้วยกับอาจารย์สมศักดิ์

 

  1. บทคัดย่อต้องเขียนอย่างไร มี Tip and Trick อย่างไร

อาจารย์สมศักดิ์: การเขียนต้องมาจากผลการศึกษาก่อนให้น่าสนใจ บทความพบอะไรใหม่ เป็นอย่างไร วิธีการทำงานวิจัยอะไรที่ทำให้ได้ผลการศึกษาเช่นนี้ ในบทคัดย่อไม่ควรใส่ตัวย่อเยอะๆ ควรอ่านซ้ำๆ เพื่อแก้ไขให้น่าสนใจ ข้อควรระวังของการเขียนคือไม่ควรใส่ผลการศึกษาที่เกินจริงมากๆ แต่ข้อมูลจริงไม่พบข้อมูลดังกล่าว ควรตรงไปตรงมา

อาจารย์ดุษณี:  วัตถุประสงค์งานวิจัยคืออะไร พบอะไรใหม่และมีอะไรน่าสนใจ การเขียนบทคัดย่อดีมีผลต่อการอ้างอิงบทความจึงควรต้องน่าสนใจและกระชับ ข้อควรระวังที่พบมากๆ คือการเขียนผลการศึกษาที่เกินจริงไม่ดีต่อบทความ

 

  1. การเขียน Introduction อย่างไรให้น่าสนใจและควรมีปริมาณเท่าไหร่จึงเหมาะสม

อาจารย์สมศักดิ์: ต้องบอกในรายละเอียดว่ามีความจำเป็นในการศึกษาอย่างไร ควรศึกษางานวิจัยในระดับโลกและมีการอ้างอิงที่ชัดเจน การดำเนินการศึกษาก่อนหน้ายังขาดอะไรงานวิจัยนี้ถึงจำเป็นต้องทำขึ้นมา ควรมีการร้อยเรียงเนื้อหาให้ดี การอ้างอิงแบบผิดจริยธรรมเช่นการอ้างโดยไม่ได้อ่านอย่างละเอียด และการเขียนในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่สำคัญเพื่อบ่งบอกถึงการปิดช่องว่างงานวิจัยอื่นที่ยังขาด

อาจารย์ดุษณี:  ควรเขียนประมาณ 1 หน้าและความมีความเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย เพราะจะอธิบายว่าทำไมต้องทำงานวิจัยชิ้นนี้ การเขียนอ้างอิงในเนื้อหาเยอะๆ ก็เป็นผลเสีย เนื่องจากไม่ได้ระบุชัดเจนว่าแต่ละอ้างอิงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไรต่องานวิจัย ถ้าใส่มาเยอะแบบที่ไม่มีความจำเป็นก็ไม่สมควรใส่มา

 

  1. การเขียนผลการศึกษาแบบไหนที่เหมาะสมกับงานวิจัย การเขียนเชิงพรรณา กับการใส่รูป กราฟ ตารางอย่างไรให้เหมาะสม

อาจารย์สมศักดิ์: การเขียนเชิงพรรณามีความจำเป็นสำหรับวารสารบางประเภท แต่ควรมีรายละเอียดที่แน่นและไม่เป็นการเกริ่นไปเรื่อยๆ

อาจารย์ดุษณี:  ส่วนใหญ่จะเป็นรูป ตาราง แต่ผู้เขียนต้องอธิบายตารางหรือรูปนั้นๆ ต้องอธิบายจุดสำคัญของตารางไม่อธิบายผลทั้งหมดในตารางมา การใส่รูป กราฟ ตารางต้องไม่มากเกินไปและต้องเกี่ยวข้องกับงานวิจัยจริงๆ

 

  1. ในส่วนของ Discussion ผู้เขียนควรเขียนแบบไหน

อาจารย์สมศักดิ์: ควรอธิบายว่าผลการศึกษาของเราปิดช่องว่างอะไรในงานวิจัยนี้ ผู้เขียนร่วมควรช่วยอ่านบทความ แก้ไขและเสนอข้อคิดเห็นเพื่อพัฒนาบทความให้ดียิ่งขึ้น

อาจารย์ดุษณี:  ถ้าบทความค้นพบผลที่ค่อนข้างใหม่ควรนำเสนอในอภิปรายผล และอธิบายเสริมว่าเราต่างกับบทความอื่นอย่างไร ควรให้ผู้เขียนอื่นช่วยอ่านให้ด้วยเพื่อให้ผู้เขียนมั่นใจว่าเข้าใจตรงกัน

 

  1. การที่ผู้เขียนมีการแจ้งว่าบทความได้ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจภาษามาแล้วในเบื้องต้นมีผลดีต่อบรรณาธิการไหม

อาจารย์สมศักดิ์: มีผลดีกับวารสารมาก โดยทางวารสาร Tropical Natural History ได้ให้ Editorial Board ช่วยอ่านอีกที

อาจารย์ดุษณี:  มีผลดี แต่ขึ้นกับข้อกำหนดของแต่ละวารสาร อย่างวารสาร Current Applied Science and Technology ไม่ได้มีการขอกับผู้เขียนแบบจริงจัง แต่ทางวารสารมี Native Speaker อ่านบทความก่อนเผยแพร่ และท่านควรเป็นผู้เชี่ยวชาญที่จบมาตรงกับสาขาวิชาและขอบเขตของวารสาร

 

  1. หากบทความที่เคย Proceedings มาแล้วจะนำมาตีพิมพ์ในวารสารได้ไหม

อาจารย์สมศักดิ์: หากผู้เขียนมั่นใจกับงานวิจัยควรเขียนมาตีพิมพ์ในวารสารจะดีกว่า แต่หากตีพิมพ์ไปแล้วควรต้องเพิ่มและปรับแก้ไขให้มีสิ่งใหม่

อาจารย์ดุษณี:  ไม่ควรทำ หากจะทำควรมีการศึกษาเพิ่มเติมและต้องต่างจาก Proceedings เดิมมากกว่า 50% เพื่อไม่ให้เกิดการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน

 

  1. ทิศทางการวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้มในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้าควรเป็นไปในทิศทางใด และมีหัวข้อใดบ้างที่น่าสนใจ

อาจารย์สมศักดิ์: เกี่ยวข้องกับ Climate change โดยศึกษาร่วมกับศาสตร์อื่นๆ เช่น ผลกระทบของภาวะโลกร้อนกับระบบนิเวศต่างๆ การศึกษาเรื่องไมโครพลาสติกกับสิ่งแวดล้อมทางทะเลทั้งมนุษย์และสัตว์ งานด้านสิ่งแวดล้อมผนวกรวมกับ Material Science, Social Science หรือไปรวมกับเศรษฐศาสตร์

อาจารย์ดุษณี:  ขอเสริมอีกส่วนเรื่องของ Health Science เช่น PM2.5 จะช่วยแก้ปัญหาร่วมกับสุขภาพได้อย่างไร

 

งานเสวนานี้จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้ แนะนำเทคนิค วิธีการ รวมถึงสาระสำคัญสำหรับการเตรียมบทความทางวิชาการให้ได้รับการตีพิมพ์ โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์ของบรรณาธิการวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐาน Scopus โดยมีผู้สนใจจากทั้งภายในและภายนอกส่วนงานเข้าร่วมรับฟังการเสวนา และในรูปแบบออนไลน์ผ่านทาง Cisco Webex และ Facebook Live จำนวน 47 คน


Accordion Menu

Newsletter Subscribe

About The Flex

Good seasons, day place male evening life after together gathered let void she'd grass created days upon after above great. Creative, prolific and ever-ready to serve you.


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.