• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Post Formats

โครงการปรับปรุงดัชนีความเปราะบางจากภัยแล้ง และพัฒนาดัชนีพยากรณ์ภัยแล้งจากข้อมูลดาวเทียม

โครงการปรับปรุงดัชนีความเปราะบางจากภัยแล้ง และพัฒนาดัชนีพยากรณ์ภัยแล้งจากข้อมูลดาวเทียม

Drought vulnerability indices improvement and develop a drought forecast index from Satellite imageries

Image
ผู้ว่าจ้าง
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
ส่วนงานหลัก
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ส่วนงานร่วม
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้ดำเนินการหลัก
รศ.ดร.กาญจนา นาคะภากร
ผู้ดำเนินการรอง
  • ผศ.ดร.อัจฉรา อัศวรุจิกุลชัย
  • ผศ.ดร.วันวิสาข์ ปั้นศักดิ์
  • รศ.ดร.สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา
  • รศ.ดร. ไพศาล จี้ฟู

คำอธิบาย

การติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์เพื่อติดตามประชากรและอัตราการเติบโตของวัวแดงเพื่อเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ที่เคยเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมก่อนที่จะสูญพันธุ์หมดไป ต่อมาได้มีการฟื้นฟูประชากรโดยการปล่อยอย่างเป็นระบบครั้งแรกของโลกตามคู่มือการปล่อยของ IUCN/SSC (2013) และพัฒนาเป็นรูปแบบการปล่อยมาตรฐาน เมื่อได้ภาพถ่ายของวัวแดงและสัตว์ป่าชนิดอื่น ๆ ในพื้นที่แล้วนำมาจัดทำฐานข้อมูลสำคัญในการกำหนดมาตรการและนโยบายการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่และเป็นโมเดลต้นแบบสำหรับพื้นที่อื่น เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและส่งเสริมงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานิเวศวิทยาประชากรและอัตราการเติบโตของลูกวัวแดงภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ การติดตามกิจกรรมรอบวันของวัวแดงภายหลังการปล่อยคืนธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว - เขาชมภู่ และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการเตรียมพื้นที่ก่อนปล่อยวัวแดงคืนสู่ธรรมชาติในพื้นที่อื่น ๆ

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อปรับปรุงดัชนีความเปราะบางจากภัยแล้งและพัฒนาดัชนีพยากรณ์ภัยแล้ง พัฒนาระบบปฏิบัติการและระบบแสดงผล เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการพัฒนาระบบติดตามและพยากรณ์ภัยแล้ง และการวิเคราะห์และพัฒนาดัชนีด้านน้ำจากข้อมูลดาวเทียม

การดำเนินการ
พัฒนาให้เกิด “ระบบปฏิบัติการติดตามและพยากรณ์ภัยแล้ง” ที่เป็นโครงการนำร่อง สามารถคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งล่วงหน้าได้อย่างน้อย 3 เดือน และพัฒนาระบบแสดงผลข้อมูลเพื่อสนับสนุนให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำ พร้อมสำหรับสนับสนุนการบริการจัดการภัยแล้งได้เป็นอย่างดี

ผลการดำเนินงาน
เชิงปริมาณ : มีการปรับปรุงดัชนีความเปราะบางและพัฒนาดัชนีพยากรณ์ภัยแล้งด้านน้ำ ระบบปฏิบัติการและระบบแสดงผลพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งจากข้อมูลดาวเทียม
เชิงคุณภาพ : เกณฑ์การประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ภัยแล้งมากขึ้น พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการพัฒนาระบบการติดตามและพยากรณ์ภัยแล้งจากข้อมูลดาวเทียม


การนำไปใช้ประโยชน์
ได้ระบบติดตามและพยากรณ์ภัยแล้งต้นแบบ ที่สามารถใช้ในการวิเคราะห์ ติดตามสถานการณ์ และรายงานสถานการณ์ภัยแล้ง ที่สามารถสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งจะสามารถลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับภาคการเกษตรและประชาชนได้ ได้ และพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพด้านการพัฒนาระบบติดตามและพยากรณ์ภัยแล้ง

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

ระบบติดตามและพยากรณ์ภัยแล้งต้นแบบที่วิเคราะห์ภัยแล้งแบบบูรณาการทั้งด้านอุตุนิยมวิทยา ด้านทรัพยากรน้ำ และด้านเกษตร

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

การติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ภัยแล้งมีประสิทธิภาพมากขึ้น สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจและการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ลดความเสี่ยง และความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากภัยแล้ง

Key Message

ระบบปฏิบัติการติดตามและพยากรณ์ภัยแล้ง” สามารถคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งล่วงหน้าได้อย่างน้อย 3 เดือน และพัฒนาระบบแสดงผลข้อมูลเพื่อสนับสนุนให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำ พร้อมสำหรับสนับสนุนการบริการจัดการภัยแล้งได้เป็นอย่างดี

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 3 “Policy Advocacy and Leaders in Professional / Academic Services”

Partners/Stakeholders

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

ภาพประกอบ
Image
Image
Image
Image

Accordion Menu

Newsletter Subscribe

About The Flex

Good seasons, day place male evening life after together gathered let void she'd grass created days upon after above great. Creative, prolific and ever-ready to serve you.


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.