• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

กอนช. เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคใต้ 7 จังหวัด ถึง 11 ม.ค.นี้ พร้อมเร่งช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  10 มกราคม 2566

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคใต้ 7 จังหวัด ถึงวันที่ 11 มกราคมนี้ พร้อมเร่งช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กล่าวถึงสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศวันนี้ (10 ม.ค.66) ว่า ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมามีฝนตกหนักบริเวณ จ.สงขลา , ปัตตานี และนราธิวาส โดยมีน้ำท่วมบริเวณ จ.ยะลา ใน 2 อำเภอ คือ อ.ยะหา และสะเตงนอก รวม 3 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 158 ครัวเรือน // ปัตตานี น้ำท่วมใน อ.โคกโพธิ์ รวม 12 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,027 ครัวเรือน จึงได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่อเนื่อง พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือ ขณะเดียวกัน กอนช.ยังต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากถึงวันที่ 11 มกราคมนี้ ทั้งนี้ จะมีอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังปกคลุมประเทศไทยส่งผลให้มีฝนตกหนักภาคใต้ฝั่งตะวันออกและภาคใต้ตอนล่างช่วงวันที่ 12 - 15 มกราคม ทำให้แนวโน้มมีฝนลดลง จึงคาดการณ์คลื่นวันที่ 9 - 11 มกราคม มีความสูง 1.5 - 2 เมตร ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ส่วนน้ำทะเลหนุนสูงที่ปากแม่น้ำปัตตานีจะหนุนสูงวันที่ 11 และ 24 มกราคม เบื้องต้นกรมชลประทานลดบานประตูที่เขื่อนปัตตานีและบ้านปรีกี เพื่อผลักน้ำออกทางคลองตุยง ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นบริเวณบ้านบริดอ

ขณะที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือใน จ.ชุมพร และนราธิวาส ที่มีการก่อสร้างสะพานเบลีย์ใน จ.นราธิวาส คาดว่า จะแล้วเสร็จวันที่ 11 มกราคม ซึ่งช่วงที่ผ่านมาไม่มีพื้นที่ประสบอุทกภัยเพิ่มเติมและสนับสนุนเครื่องจักรกลใช้ช่วยเหลือใน จ.สงขลา นราธิวาส และปัตตานี สำหรับกรมประชาสัมพันธ์ได้ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำภาคใต้ให้ประชาชนที่อาศัยอยู่พื้นที่ลุ่มต่ำให้เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง และเขื่อนบางลางหยุดการระบายน้ำเพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำ


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.