• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

กอนช. เฝ้าระวังน้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ 18 จังหวัด ช่วง 21-25 ก.ค.นี้ จากอิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  19 กรกฎาคม 2565

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เฝ้าระวังน้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ 18 จังหวัด ช่วงวันที่ 21-25 กรกฎาคมนี้ จากอิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ออกประกาศเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลัน ฉบับที่ 21 หลังกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ช่วงวันที่ 20 – 24 กรกฎาคม ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ประกอบกับ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เบื้องต้นได้ประเมินสถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบจะมีปริมาณฝนตกสะสมต่อเนื่อง ประกอบกับ สถานการณ์น้ำในลำน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติบางพื้นที่ที่ฝนตกหนักอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก อาจส่งผลให้เกิดน้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลัน จึงขอให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงช่วงวันที่ 21-25 กรกฎาคม คือ เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก - น้ำท่วมขัง ในพื้นที่ภาคเหนือ บริเวณอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ , อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย , อำเภอบ่อเกลือ เชียงกลาง และเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน , อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ , อำเภอนครไทย และชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก , อำเภอน้ำหนาว เมืองเพชรบูรณ์ และหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี // ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณอำเภอเมืองเลย ด่านซ้าย และท่าลี่ จังหวัดเลย , อำเภอโพนพิสัย และรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย , อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร , อำเภอเมืองบึงกาฬ โซ่พิสัย เซกา ปากคาด บึงโขงหลง ศรีวิไล และบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ , อำเภอบ้านเขว้า และหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ , อำเภอภูเวียง ภูผาม่าน เวียงเก่า และหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น , อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ และยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ , อำเภอเสิงสาง จักราช พิมาย ห้วยแถลง ชุมพวง หนองบุญมาก และลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา , อำเภอนางรอง ละหานทราย ประโคนชัย เฉลิมพระเกียรติ โนนดินแดง โนนสุวรรณ และลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ , อำเภอปราสาท และกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ // ภาคตะวันออก บริเวณอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว , อำเภอเกาะกูด เกาะช้าง และเขาสมิง จังหวัดตราด

ขณะเดียวกัน กอนช. ยังต้องเฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน บริเวณแม่น้ำน่านและลำน้ำสาขา แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเลย แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และแม่น้ำตราด // เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) 3 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่ , อ่างเก็บน้ำลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ , อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น และอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ภาคเหนือ บริเวณเชียงใหม่ น่าน และเพชรบูรณ์ // ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณเลย บึงกาฬ ขอนแก่น และนครราชสีมา // ภาคตะวันออก บริเวณสระแก้ว และตราด

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ พร้อมตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความสามารถใช้งานของอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำ ซ่อมแซมแนวคันบริเวณริมแม่น้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ //วางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมกับปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำและระดับน้ำในลำน้ำ เพื่อเตรียมพร้อมรับน้ำหลากป้องกันน้ำท่วมให้สามารถใช้งานได้มีประสิทธิภาพ


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.