• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สรุปแผนปรับตัว-รับมือวิกฤตโลกร้อน เส้นทางสู่อนาคตไทยยั่งยืน

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  12 มกราคม 2568

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ (https://www.thansettakij.com/climatecenter/616385)

ประเทศไทยได้จัดทำ รายงานความโปร่งใสรายสองปีฉบับแรก หรือ Thailand’s First Biennial Transparency Report (BTR1) ซึ่งเป็นความพยายามสำคัญในการดำเนินการตามพันธสัญญาภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) รายงานนี้จัดทำโดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อรายงานข้อมูลด้านการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนสะท้อนถึงความพยายามในการบรรลุเป้าหมายที่ทั้งประเทศและประชาคมโลกตั้งไว้

หนึ่งในหัวข้อสำคัญของ BTR1..คือบทที่ 4 ที่มุ่งเน้นเรื่อง ผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Information on Climate Change Impacts and Adaptation) ซึ่งเป็นการสรุปถึงความท้าทายที่ประเทศไทยเผชิญ รวมถึงแนวทางในการปรับตัวทั้งในระดับนโยบายและการดำเนินงานเชิงพื้นที่

ประเทศไทยเผชิญหน้ากับผลกระทบที่หลากหลาย ตั้งแต่ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศที่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในทุกภาคส่วน เพื่อรับมือกับปัญหาเหล่านี้ ประเทศได้กำหนดเป้าหมายระดับชาติ เช่น การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป้าหมายเหล่านี้รวมอยู่ใน แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (National Adaptation Plan: NAP) ซึ่งได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ (LT-LEDS)

         เป้าหมายการปรับตัวระดับโลก (Global Goal on Adaptation: GGA) เป้าหมายการปรับตัวระดับโลกถือเป็นรากฐานสำคัญของการวางแผนด้านภูมิอากาศในประเทศไทย ซึ่งมี 3 แนวทางหลัก ได้แก่

เสริมสร้างขีดความสามารถในการปรับตัว เพื่อให้ชุมชนและภาคส่วนต่าง ๆ สามารถรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มความภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและเสริมสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรลดความเปราะบางผ่านการดำเนินงานที่ช่วยลดผลกระทบต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด


© 2025 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.