สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 11 มกราคม 2568
ที่มา https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9680000001942
ป่าโกงกาง หรือ ป่าชายเลน ถือว่ามีความสำคัญต่อระบบนิเวศวิทยาทางทะเล ดังเช่นตามแนวชายฝั่งที่กว้างใหญ่ของประเทศไทย ป่าโกงกาง คือ ด่านป้องกันที่สำคัญในการช่วยป้องกันคลื่นให้กับชุมชนที่อยู่อาศัยตามริมชายฝั่งอีกทั้งยังเป็นแหล่งอาหารสำหรับชุมชนนับพันและเป็นพื้นที่เพาะพันธุ์สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศวิทยาทางทะเลที่มีความซับซ้อน ที่ปัจจุบันจะต้องเผชิญกับภัยคุกคามมากมายจากมนุษย์และได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศบนโลก
นับตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา ป่าโกงกางทำหน้าที่เป็นปราการทางธรรมชาติ ปกป้องการพังทลายของชายฝั่งจากคลื่นลมอีกทั้งยังให้ร่มเงาและที่อยู่อาศัยแก่สัตว์ทะเลต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของอุตสาหกรรมประมงที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสูญเสียป่าโกงกางไปแล้วกว่า 60% จากการตัดไม้ทำลายป่าและการขยายพื้นที่เมือง ยิ่งสูญเสียป่าโกงกางมากขึ้นเท่าไรก็ย่อมส่งผลกระทบกับระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ทำให้การอนุรักษ์เป็นเรื่องสำคัญอย่างเร่งด่วน
ความร่วมมือของ MGI ในการอนุรักษ์ป่าโกงกางได้สร้างกระแสความตื่นตัวในวงกว้าง เพราะโครงการวิจัยนี้ ไม่เพียงแสดงถึงความละเอียดทางพันธุกรรมของชนิดพันธุ์ไม้ในป่าโกงกาง แต่ยังสนับสนุนโครงการอนุรักษ์ในวงกว้างทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความรู้ทางพันธุกรรมจากโครงการนี้ ยังนำไปสู่การกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเพื่อปกป้องและฟื้นฟูป่าโกงกาง เพื่อให้ระบบนิเวศนี้ยังคงให้ประโยชน์แก่ชุมชนชายฝั่งและเศรษฐกิจของประเทศต่อไป