• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนา AI นับขยะใช้ Deep learning บรรเทาภัยน้ำท่วมเมือง

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  1 ตุลาคม 2567

ที่มา https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1147053

รศ.ดร.ธนารัตน์ ชลิดาพงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในประเทศไทย มุ่งเป้าแก้ไขปัญหาในท้องถิ่นซึ่งปัญหาเร่งด่วนอย่างอุทกภัยก็สามารถใช้เทคโนโลยี AI ทางด้านวิชั่น (VISION) มาช่วยเฝ้าระวังได้

กระบวนการ Deep Learning คือ การให้ AI เรียนรู้จากฐานข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งปกติจะเรียนรู้จากภาพนิ่ง แต่การพัฒนาให้ AI จับวัตถุจากภาพเคลื่อนไหวเป็นการยกระดับขึ้นอีกขั้น เพราะมีโจทย์ทางวิชั่นเกิดขึ้น 2 โจทย์คือ การพัฒนาแบบจำลอง เพื่อใช้ในการการตรวจจับวัตถุ (Object Detection) ให้ AI ตรวจจับวัตถุที่สนใจในภาพและจำแนกประเภทได้อย่างถูกต้อง และกระบวนการติดตามวัตถุ (Object Tracking) ให้ AI เรียนรู้ว่าวัตถุในเฟรมนี้อยู่ตรงไหนในเฟรมถัดไป

รศ.ดร.เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การทำงานครั้งนี้เป็นงานวิจัยที่ทำร่วมกับ Ocean Cleanup องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรด้านเทคโนโลยีเพื่อกำจัดขยะพลาสติกในมหาสมุทรจากเนเธอร์แลนด์ ที่มีการคัดเลือกแม่น้ำเจ้าพระยาของประเทศไทย ร่วมกับประเทศแอฟริกาใต้และโดมินิกันเป็นตัวแทนของแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านชุมชนเมืองใหญ่สู่มหาสมุทร

หากมีข้อมูลปริมาณและประเภทของขยะที่มากเพียงพอ จะช่วยให้เกิดนโยบายการจัดการขยะตามแนวทาง Circular economy ได้แม่นยำมากขึ้น อีกทั้งการจัดการขยะแบบดั้งเดิมด้วยการเพิ่มรอบรถเก็บขยะ ย่อมส่งผลต่อการปล่อยคาร์บอนจากการขนถ่ายขยะ แต่หากมีการจัดการเฉพาะจุดฮอตสปอต (พื้นที่ที่ขยะถูกนำมากองทิ้งไว้) แยกขยะตั้งแต่ต้นทาง หรือส่งเสริมวัสดุทางเลือก ก็จะทำให้ลดการปล่อยคาร์บอนของเมืองได้ด้วย ตามแนวทาง Carbon Neutrality


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.