• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

33 ปี มรดกโลกทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง จากวันที่ผ่านมาถึงวันข้างหน้า

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  28 กันยายน 2567

ที่มา https://www.seub.or.th/bloging/work/2024-275/

จากเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534 จนมาถึงวันนี้ เกือบ 33 ปี ที่ผ่านมา เมื่อมองย้อนกลับไปยังเกณฑ์พิจารณาต่างๆ ก็พบโจทย์ที่น่าสนใจว่า คุณค่าความสำคัญของผืนป่ามรดกโลกยังครบถ้วนตามเกณฑ์ที่ระบุไว้หรือไม่ หรือในแง่ของการทำงานดูแลรักษาผืนป่า สัตว์ป่า และระบบนิเวศ จะยังสามารถต่อยอดจากสิ่งที่พัฒนามาแล้วไปในทิศทางใด มิติไหน เพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นในอนาคต

หากกล่าวถึงผืนป่ามรดกโลกแห่งแรกของประเทศไทย คงต้องย้อนไปถึงการทำเอกสารเสนอชื่อต่อองค์การยูเนสโก คุณอรุณี อิ้วเจริญ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ผลักดันการขึ้นทะเบียนมรดกโลก

“การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกมีวัตถุประสงค์หลักๆ คือ การอนุรักษ์คุณค่าของแหล่งมรดกโลกเพื่อส่งไปยังคนรุ่นถัดไป”

คุณอรุณี กล่าวต่อว่า เมื่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว คณะกรรมการมรดกโลกจะมีมติเสนอประเด็นควรติดตามเฝ้าระวังออกมาทันที แต่ทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ไม่มีมติในวันรับรอง ซึ่งหมายความว่า ทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ผ่านด้วยเกณฑ์ที่มีศักยภาพ และเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก (ในสมัยนั้น) คณะกรรมการมรดกโลกจึงไม่กังวลเรื่องการบุกรุกมากนัก

ด้วยการทำงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า การศึกษาวิจัย และการบริหารพื้นที่เชิงวิชาการ ทุกวันนี้ผืนป่ามรดกโลกทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง จึงแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนโดยรอบ ขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่งยังให้ก่อประโยชน์แก่คนเมืองที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกประการ ซึ่งทราบหรือไม่ว่า น้ำจากโรงประปามหาสวัสดิ์รับมาจากแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำแควตอนบน ลำห้วยขาแข้ง และลำน้ำสาขาต่าง ๆ จากพื้นที่มรดกโลก มาช่วยผลักดันน้ำเค็มช่วยแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ให้กระทบการผลิตน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.