สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 23 กันยายน 2567
ที่มา : thebangkokinsight.com (https://www.thebangkokinsight.com/news/environmental-sustainability/1383674/)
ธุรกิจไต้หวันผลักดัน “แฟชั่นยั่งยืน” ผ่านการจัดทำเวิร์คช้อปในการนำ “ขยะพลาสติก” รูปแบบต่าง ๆ มาเนรมิตชีวิตใหม่ ให้กลายเป็นแว่นตาภายในเวลาไม่นาน
วีโอเอ รายงานว่า ฝาขวดพลาสติก กล่องบรรจุภัณฑ์อาหาร ช้อนส้อมพลาสติก และของเล่น เป็นส่วนหนึ่งของวัสดุที่ได้รับการชุบชีวิตใหม่ในได้หวัน โดย “มินิวิช” บริษัท อัพไซเคิล ไต้หวัน ผู้จัดเวิร์คช้อป ครัวขยะ หรือ Trosh..Kitchen ได้ให้ลูกค้าสัมผัสประสบการณีรีไซเคิลนี้ ทุกกระบวนการ ตั้งแต่การนำขยะพลาสติกมาจากบ้าน และหลอมให้เป็นแว่นตาใหม่ภายในเวลาเพียง 2 ชั่วโมง
อาร์เธอร์ หวง ผู้ก่อตั้งมินิวิซ บอกว่า สิ่งที่พยายายามจะแสดงให้เห็นที่ Trash Kitchen คือ การให้ทุกคน ได้เห็น และสัมผัสได้ภายในเวลาไม่กี่นาทีว่า กระบวนการอัพไซเคิล และรีไซเคิลเหล่านี้สามารถทำได้โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษซ้ำสอง และสามารถเปลี่ยนขยะให้เป็นสิ่งที่มีมูลค่าได้ทันที นอกจากแว่นตาแล้ว มินิวิซยังผลิตล้อ อิฐบล็อก ไม้แขวนเสื้อ และอุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จากพลาสติก และขยะอินทรีย์ ด้วยเครื่องที่เรียกว่า miniTrashpresso ที่พัฒนาขึ้นมาเมื่อปี 2560 ทางด้าน โครา เซี๊ยะ บรรณาธิการบริหารนิตยสารแฟชั่นฮาร์เบอร์ส บาซาร์ ไต้หวัน กล่าวว่า โครงการอัพไซเคิลแว่นตาเป็นโครงการริเริ่มที่ดี ในการสนับสนุนแฟชั่นยั่งยืน
“หนทางยังอีกยาวไกลสำหรับการปกป้องสิ่งแวดล้อมและแฟชั่น แต่สำหรับผู้บริโภคแล้ว เป็นสิ่งสำคัญที่พวกเขาควรได้สัมผัสประสบการณ์เหล่านี้ด้วยตนเอง ซึ่งเวิร์คช้อปเช่นนี้มีประโยชน์มาก” ส่วนผู้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ บอกว่า เวิร์ดช้อปได้สร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาต้องคิดให้รอบคอบก่อนจะสร้างขยะ และใส่ใจเรื่องการใช้สิ่งของที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้มากขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลของกระทรวงสิ่งแวดล้อมได้หวัน แสดงให้เห็นว่า ในปี 2556 ไต้หวัน มีปริมาณขยะมากเป็นประวัติการณ์ถึง 11.58 ล้านต้น ในจำนวนนี้เป็นขยะรีไซเคิล 6.27 ล้านต้น ส่วนผู้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ บอกว่า เวิร์ดช้อปได้สร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาต้องคิดให้รอบคอบก่อนจะสร้างขยะ และใส่ใจเรื่องการใช้สิ่งของที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้มากขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลของกระทรวงสิ่งแวดล้อมไต้หวัน แสดงให้เห็นว่า ในปี 2556 ไต้หวัน มีปริมาณขยะมากเป็นประวัติการณ์ถึง 11.58 ล้านต้น ในจำนวนนี้เป็นขยะรีไซเคิล 6.27 ล้านต้น