สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 20 สิงหาคม 2567
ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์ (https://www.dailynews.co.th/news/3770880/)
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โดยพื้นฐานแล้ว มนุษย์ได้ปล่อยก๊าซมีเทนออกสู่ชั้นบรรยากาศ มากกว่า 3 พันล้านตัน หากลดการปล่อยก๊าซดังกล่าวภายในหนึ่งหรือสองทศวรรษจะช่วยลดอุณหภูมิโลกได้ถึง 0.5 องศาเซลเซียส ดังนั้น หากสามารถยับยั้งการปล่อยมีเทนทั้งหมดจากการทำกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ได้ ปริมาณความเข้มข้นของก๊าซดังกล่าวจะต่ำลงได้เทียบเท่ากับโลกในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตาม หากโลกยังคงร้อนขึ้นเรื่อยๆ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เรายังต้องแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซมีเทนจากธรรมชาติที่สูงขึ้น ทั้งจากพื้นที่ชุ่มน้ำเขตในร้อนที่อุ่นขึ้น และการละลายของชั้นดินเยือกแข็งในอาร์กติก การปล่อยก๊าซมีเทนตามธรรมชาติระดับสูงสุดมาจากพื้นที่ชุ่มน้ำและป่าที่ถูกน้ำท่วมตามฤดูกาลในเขตร้อน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นชื้น และมีออกซิเจนต่ำ เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ปล่อยก๊าซมีเทน‘ร็อบ แจ็คสัน’ นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศ จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เมื่อเดือนกรกฎาคมของปีที่แล้ว เขาได้เดินทางไปที่เขตอนุรักษ์ ‘มามิราอูอา’ (Mamirauá) ในป่าอเมซอนของบราซิล ซึ่งเป็นช่วงที่ปรากฏการณ์เอลนีโญกําลังทวีความรุนแรงขึ้น และมหาสมุทรแอตแลนติกเขตร้อนก็ร้อนจัด โดยอุณหภูมิของมหาสมุทรนอกชายฝั่งฟลอริดานั้นเกือบแตะ 40 องศาเซลเซียส หรือ 104 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับอุณหภูมิจากอ่างน้ำร้อนเดือดๆ อุณหภูมิที่แนะนำสำหรับการทำให้ปลาแซลมอนสุก และอุณหภูมิพื้นผิวมหาสมุทรสูงสุดที่วัดได้
“น้ำทะเลที่อุ่นในมหาสมุทรแอตแลนติกเขตร้อนมักทำให้เกิดภัยแล้งในอเมซอน ‘อายัน ฟลีชมันน์’ เจ้าบ้านชาวบราซิล ซึ่งเป็นผู้อำนวยการด้านการวิจัยสภาพอากาศที่นั่น เขาบอกกับผมว่าภัยแล้งอาจกำลังใกล้เข้ามาแล้ว ระดับน้ำที่สถานีตรวจวัดในเมืองตาบาทิงกา ประเทศบราซิล ซึ่งอยู่ห่างออกไปหลายร้อยกิโลเมตรทางตอนเหนือของแม่น้ำนั้นอยู่ในระดับต่ำที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดของป่าแอมะซอนเกิดขึ้นในปีที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งน้ำทะเลในมหาสมุทรแอตแลนติกมีอุณหภูมิสูงขึ้น” แจ็คสัน กล่าวพื้นที่ทางทะเลที่สำคัญคือแถบที่ทอดยาวจากเส้นศูนย์สูตร ไปจนถึงคิวบาและฟลอริดาทางตอนใต้ ภัยแล้งรุนแรงที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญในปี 2015–2016 ส่งผลให้อุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ต้นไม้ตายไปหลายพันล้านต้นจากไฟป่าที่โหมกระหน่ำ และเปลี่ยนป่าแอมะซอนจากที่เคยเปรียบเสมือนฟองน้ำดูดซับคาร์บอนฯ ของทั่วโลกให้กลายเป็นแหล่งคาร์บอนขนาดใหญ่