• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

รัฐบาล เดินหน้าโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ 43 โครงการ ช่วยเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำได้กว่า 600 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยช่วยลดความเสียหายจากภัยแล้งและน้ำท่วมลงได้มาก

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์   16 เมษายน 2565

รัฐบาล เดินหน้าโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ 43 โครงการ ช่วยเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำได้กว่า 600 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยช่วยลดความเสียหายจากภัยแล้งและน้ำท่วมลงได้มากจากแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า รัฐบาล ได้เร่งรัดขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญรวม 43 โครงการ เพื่อเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำได้อีก 646 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ 1.56 ล้านไร่ ประชาชนมีน้ำใช้ในกิจกรรมต่างๆกว่า 262,000 ครัวเรือน และบำบัดน้ำเสียได้ 1.36 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน เช่น โครงการอ่างเก็บน้ำลำสะพุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ชัยภูมิ // โครงการปรับปรุงคลองยม-น่าน // โครงการประตูระบายน้ำพุง-น้ำก่ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร // โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง // โครงการขยายเขต กปภ.บ้านฉาง รองรับ EEC // โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แผนหลักการพัฒนาฟื้นฟูคลองแสนแสบ โดยทำควบคู่กับการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นรูปธรรม ยกระดับการมีส่วนร่วม สร้างความเข้มแข็งขององค์กรด้านน้ำตั้งแต่ระดับพื้นที่ผ่านองค์กรผู้ใช้น้ำ อนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด คณะกรรมการลุ่มน้ำจนถึงระดับนโยบาย คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) พร้อมทั้ง ยังได้พัฒนากลไกการกำกับดูแลและจัดการน้ำทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ และพัฒนาเครื่องมือการบริหารจัดการน้ำ คือ ผังน้ำ คลังข้อมูลน้ำในรูปแบบ One Map ผ่านเว็บไซต์ และ application National Thai Water

เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวย้ำว่า การดำเนินงานดังกล่าวทำให้สถิติความเสียหายจากอุทกภัยลดลงอย่างชัดเจน อย่างปี 2562 ที่เกิดภัยแล้งรุนแรงมาก แต่การบริหารจัดการน้ำในเชิงป้องกัน วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง และหาแหล่งน้ำสำรอง ส่งผลให้มีหมู่บ้านประกาศภัยแล้งปี 2562 เพียง 30 จังหวัด 891 ตำบล ใน 7,662 หมู่บ้านเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าการบริหารจัดการน้ำในหลายปีที่ผ่านมา โดยปี 2564/65 ยังไม่มีการประกาศภัยแล้ง ส่วนปัญหาอุทกภัยได้แจ้งเตือนล่วงหน้าและบริหารจัดการน้ำร่วมกันทำให้ความเสียหายน้อยลง แล้วยังป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.