สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 14 มีนาคม 2567
ที่มา https://www.onep.go.th/wp-admin/post.php?post=91746&action=edit
มหาวิทยา Surrey Global Center for Clean Air Research พบว่า ปรากฏการณ์ลดอุณหภูมิเมือง สามารถทำได้จริง แม้กระทั่งสวนหย่อมตามบ้านขนาดเล็กก็มีส่วนสำคัญ ซึ่งงานวิจัยกำลังศึกษาลึกลงไปในรายละเอียดว่า ต้นไม้ประเภทไหนลดอุณหภูมิได้มาก ขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบเช่น ประเภทของร่มเงาของต้นไม้ การระเหยของน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ แนวการปลูกต้นไม้ เป็นต้น
โครงการ Green Bangkok 2030 นอกจากต้องการเพิ่มพื้นที่สีเขียวต่อประชากร ให้ได้ถึง 9 ตร.ม./คน ภายในปี 2030 แล้ว ยังมีเป้าหมายการเพิ่มสวนสาธารณะขนาดเล็ก (Pocket Park)ให้เข้าถึงได้ในระยะ 400-800 เมตรอีกด้วย
แม้กทม.จะมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ แต่ในยุคสมัยต่างๆ ของผู้ว่าราชการจังหวัดคนก่อนๆต่อเนื่องกันมา ได้มีการแก้ปัญหา เพิ่มพื้นที่สีเขียวในหลากหลายลักษณะ ทั้งใช้ที่ดินกทม.เอง หรือ เช่าที่ มาทำสวนสาธารณะ บางที่ได้รับพระราชทานมาจากในหลวงรัชกาลที่ 9 และยังมีการบริจาคมาจากภาคเอกชน หรือได้รับความร่วมมือจากพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งานจากหน่วยงานรัฐต่าง ๆ อีกด้วย
โดยปกติแล้วเมืองใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่า ใช้ทรัพยากรมากกว่า เป็นสาเหตุในการเร่งภาวะโลกร้อนรอบโลกมากกว่าพื้นที่ชุมชนอื่นๆ พื้นที่สีเขียวจึงจำเป็นที่ต้องอยู่คู่กับเมืองไปด้วย เพราะนอกจากจะทำให้เมืองคลายร้อนให้เมืองเย็นขึ้น ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึมซับน้ำส่วนเกิน ลดมลพิษทำความสะอาดอากาศ ก็ยังเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้คน ในเชิงความงดงาม และ คลายเครียดได้ด้วย