• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพจากโลกเดือด ถึงจุดจบมนุษยชาติ?

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  9 มีนาคม 2567

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์  (https://www.prachachat.net/sd-plus/sdplus-sustainability/news-1517567)

โลกเดือด สัญญาณอันตรายเมื่อไทยอุณหภูมิพุ่งสูง 50 องศา เป็นอย่างไร? การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ อาจเป็นจุดจบของมวลมนุษยชาติ ในขณะที่ภาคธุรกิจ ต่อไปจะมีเกณฑ์วัดBio-Credit..ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำลังสร้างผลกระทบทั่วโลก เพราะอุณหภูมิของโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีรายงานว่าบางจังหวัดอาจร้อนทะลุ 50 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าอยู่ในระยะอันตราย

           โลกเดือด จุดจบมนุษยชาติ?..ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวบนเวทีสัมมนา งานอรุณ สรเทศน์ รำลึก 2567 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงความท้าทายในการเดินหน้าอนาคตประเทศ โดยเฉพาะอุณหภูมิของโลกที่นับว่ายิ่งสูงขึ้น โดย ดร.พิรุณกล่าวว่า หายนะมีหลายรูปแบบ ที่เพิ่งผ่านพ้นไปคือ โควิด-19 และกำลังเผชิญกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังก้าวเข้าสู่“Biodiversity..Collapse”..หรือการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่ถึงตรงนี้นั่นคือจุดจบของมวลมนุษยชาติ..“ผลกระทบที่เราเห็นภาพชัดเจนคือ หมีขั้นโลกเริ่มอยู่ยาก เพราะน้ำแข็งขั้วโลกละลายทำให้เขาไม่สามารถหาอาหารได้ในเขตที่อาศัยอยู่ หรือดอกไม้บานในแอนตาร์กติกา เป็นความสวยงามที่แฝงหายนะ เพราะการที่ดอกไม้บานในขั้วโลกที่มีแต่ธารน้ำแข็งไม่ใช่เรื่องที่เราควรมองข้าม รวมถึงประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าอุณหภูมิโลกอาจจะสูงขึ้นไปถึง 50 องศาเซลเซียส แน่นอนว่ากระทบต่อการจัดการชีวิตประจำวันของทุกคนแน่นอน โดยเฉพาะด้านสุขภาพ อาหารการกิน เพราะอย่างทะเล นักวิชาการ กรมทะเลและชายฝั่งก็เริ่มออกมาเตือนว่า เราเอาเผชิญกับปะการังฟอกขาวในน้ำทะเลอีกครั้ง”

ดร.พิรุณกล่าวต่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้น เราก็ต้องร่วมกันแก้ปัญหาก่อน ด้วยวิธีใดก็ตาม เพื่อหวังผลว่าอีก 15-20 ปีข้างหน้า ผลกระทบจะบรรเทาลง และอยู่ในระดับที่มั่นคง ยั่งยืน..“วันนี้เลขาธิการสหประชาชาติบอกว่า สถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ใช่ยุคของ Global warming แต่มันคือ Global Boiling หรือยุคโลกเดือด การที่เรามาสู่จุดนี้ เพราะโลกทั้งโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมไปแล้วกว่า 2500 จิกะตัน (Gt)..หรือคิดเป็น 2500 ล้านล้านตัน..ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจมหาศาลคือปัญหาสิ่งแวดล้อม หนึ่งในนั้นคือปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประชุมดาวอสมีการพูดกันว่า ถ้ามันรุนแรงขึ้น อาจจะมีมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 12.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2050 หรือ 27 ปีต่อจากนี้..โดยกติกาโลกก็จะเปลี่ยน ธุรกิจต้องมองเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น รวมถึงซัพพลายเชนจ์ต้องเป็นสีเขียว ตลาดคาร์บอนจะมีบทบาทในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ไม่ใช่โซลูชั่นหลัก มันเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ต้องใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่น เพื่อให้เราเข้าสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ การรายงานการปล่อยก๊าซจากนี้ต้องมีความโปร่งใสมากขึ้น” ดร.พิรุณกล่าวอีกว่า เราต้องเปลี่ยนผ่านเรื่องพลังงานให้ได้ ไม่เช่นนั้นไทยไม่มีทางเป็นกลางคาร์บอน หรือเป็น Net Zero ได้ รวมถึง Carbon Tax จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอนาคต แรงกดดันจากต่างประเทศก็จะมากขึ้นด้วย เพราะวันนี้เริ่มเห็นว่า CBAM มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (European Union หรือ EU) ต้องเสียเงินให้เขา ถ้าปริมาณการปล่อยก๊าซของเรามากกว่าเขา แว่วๆ ว่าจะมีอเมริกา แคนาดา อีกแห่งประกาศ และอียูจะเพิ่มผลิตภัณฑ์ ตอนนี้กำหนดแค่ 5 ต่อไปอาจจะมากกว่าเดิม

TOP 5 ประเทศปล่อยก๊าซสูงสุดในโลก ดร.พิรุณเผยอีกว่า อย่างไรก็ตามเราจำเป็นเป้าหมายการปรับตัว ประเทศพัฒนาแล้วควรจะให้ความสำคัญมากกว่านี้ เพราะว่าอุณหภูมิสูงขึ้นทุกวัน ประเทศพัฒนาแล้วได้รับผลกระทบ มีความเสียหายมากมาย แต่คนที่รวยมาก่อน หรือพัฒนาแล้ว ก๊าซเรือนกระจกที่สะสมทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ก็มาจากประเทศพัฒนาแล้วทั้งหมด โดย Top..5 ประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด ดังนี้

อันดับ 1 จีน ปล่อย 25% ประมาณ 12,705 ล้านตัน      อันดับ 2 อเมริกา ปล่อย 12% ประมาณ 6,000 ล้านตัน

อันดับ 3 อินเดีย ปล่อย 7.02% ประมาณ 3395 ล้านตัน  อันดับ 4 อินโดนีเซีย ปล่อย 3.93% ประมาณ 1,913 ล้านตัน

อันดับ 5 รัสเซีย ปล่อย 3.93% ประมาณ 1,890 ล้านตัน ในขณะที่ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 19 ประมาณ 0.93% ซึ่งข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นจาก NGO ยังไม่ใช่ข้อมูลทางการที่เปิดเผยโดยสหประชาชาติ


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.