• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

กอนช. เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากจากฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของประเทศ ขณะที่กรมฝนหลวงฯ ยังคงขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงแก้ปัญหาฝนทิ้งช่วงในพื้นที่การเกษตร

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  30 พฤษภาคม 2566

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากจากฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ของประเทศ ขณะที่กรมฝนหลวงและการบินเกษตรยังคงขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงแก้ปัญหาฝนทิ้งช่วงในพื้นที่การเกษตร

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กล่าวถึงสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศวันนี้ (30 พ.ค.66) ว่า ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมามีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.นครนายก // พังงา // ราชบุรี // เพชรบูรณ์ // สิงห์บุรี และชัยภูมิ ทำให้พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วันในพื้นที่ภาคเหนือ บริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก // ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ จ.ศรีสะเกษ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี // ภาคกลาง จ.ชัยนาท สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี นครนายก นครปฐม พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล // ภาคตะวันออก บริเวณ จ.ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด // ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ราชบุรี // ภาคใต้ บริเวณ จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ขณะเดียวกันกรมฝนหลวงและการบินเกษตรยังคงขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงแก้ปัญหาฝนทิ้งช่วงเพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรใน จ.ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี ขอนแก่น กาญจนบุรี ชุมพร และระนอง พร้อมเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเหนือเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ , เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น , เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี และเขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี

ทั้งนี้ กอนช. ยังได้เร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินหน้าแผนปฏิบัติ 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปีนี้อย่างเคร่งครัด โดย กรมเจ้าท่า เร่งขุดลอกแม่น้ำสงคราม ตำบลอ้อมกอ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ระยะทาง 2,350 เมตร โดยขุดลอกเพื่อเพิ่มความกว้างและความลึกของร่องน้ำ และเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำในหน้าน้ำหลากลดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตร


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.