• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

คพ. และ ม.เทคโนโลยีสุรนารี ร่วมกันเร่งหาองค์ประกอบทางเคมีของ PM 2.5 ในการจำแนกแหล่งกำเนิดหลักในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาฝุ่น หลังพบสูงขึ้นบ่อยครั้ง

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  20 กุมภาพันธ์ 2566

กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ร่วมกันเร่งหาองค์ประกอบทางเคมีของ PM 2.5 ในการจำแนกแหล่งกำเนิดหลักในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาฝุ่น หลังพบสูงขึ้นบ่อยครั้ง

นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวว่า กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ทำโครงการ “องค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นละออง PM 2.5 ในการจำแนกแหล่งกำเนิดหลักในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองหนองคาย” ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบหลักทางเคมีของฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่เทศบาลเมืองหนองคาย // เพื่อประเมินสัดส่วนของแหล่งกำเนิดหลักของฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่เทศบาลเมืองหนองคาย และสุดท้าย เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อการสะสมฝุ่นละออง PM 2.5ในพื้นที่เทศบาลเมืองหนองคาย ขณะเดียวกันได้ศึกษาการวิเคราะห์ลักษณะขององค์ประกอบทางเคมีและหาสัดส่วนของแหล่งกำเนิดหลักของ PM 2.5 ร่วมกับข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา , ข้อมูลการเคลื่อนที่ของกระแสอากาศ (Back Trajectory) , การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงจุดเผาไหม้ในพื้นที่ใกล้เคียงและประเทศเพื่อนบ้าน และการใช้แบบจำลอง (PMF) มาช่วยวิเคราะห์ ซึ่งผลจากการศึกษาได้ข้อมูลสำคัญที่บ่งชี้ถึงองค์ประกอบทางเคมี สัดส่วนของแหล่งกำเนิดสำคัญ และปัจจัยที่มีผลต่อการสะสมของ PM 2.5 ในพื้นที่เทศบาลเมืองหนองคายได้ รวมทั้ง ยังได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะผลการศึกษาระหว่างหน่วยงานต่างๆนำไปสู่การแก้ปัญหา PM 2.5 ในเทศบาลเมืองหนองคาย พร้อมขยายผลสู่จังหวัดต่างๆในภูมิภาคที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันต่อไป

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวย้ำว่า พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ค่อนข้างได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) พบฝุ่น PM 2.5 สะสมสูงในบางช่วงของปี ซึ่งเทศบาลเมืองหนองคายเป็นเมืองขนาดกลางตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงจากลักษณะดังกล่าวไม่ควรมีการสะสมของ PM 2.5 สูงบ่อยครั้ง แต่ที่ผ่านมากลับพบมีปริมาณ PM 2.5 สูงบ่อยครั้งและบางครั้งสูงกว่าเมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียง จึงจำเป็นต้องหาสาเหตุและเร่งแก้ปัญหา


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.