• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  • ความเข้าใจพฤติกรรมของผู้คนเพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารในช่วงการระบาดของโควิด-19

    Understanding Food Security Behaviors during the COVID-19 Pandemic in Thailand: A Review

    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • ข้าวสารัช อัตลักษณ์แห่งวิถีชีวิตระหว่างคนกับสัตว์

    ดร.รัชพงษ์ กลิ่นศรีสุข อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., Tel.081-5774774

    ในโลกยุคปัจจุบันมนุษย์ได้ให้ความสนใจกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สืบเนื่องมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อการดำรงชีพของมนุษย์และสัตว์ทั้งในระดับโลกและระดับท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ จังหวัดบุรีรัมย์มีผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ตราสารัชเป็นอัตลักษณ์ของการอนุรักษ์วิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันของคนกับสัตว์ หรือการอยู่ร่วมกันระหว่างเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์สวายสอกับนกกระเรียนพันธุ์ไทยอย่างยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์เคยเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องจากการใช้สารเคมีในการเกษตรจนส่งผลให้นกกระเรียนพันธุ์ไทยหายไปจากพื้นที่ยาวนานมากกว่า 40 ปี อย่างไรก็ตาม การตระหนักรู้ถึงปัญหาย่อมส่งผลให้เกิดการแก้ไข ปี พ.ศ. 2511 องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์และกรมอุทยานแห่งชาติได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำนกกระเรียนพันธุ์ไทยกลับคืนสู่พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จึงได้เริ่มต้นโครงการ ‘นกกระเรียนพันธุ์ไทยคืนถิ่น’ หรือ Sarus Crane Reintroduction Project ด้วยการผลักดันให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวแบบอินทรีย์ เพื่อให้พื้นที่นาข้าวเป็นที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของนกกระเรียน ความทุ่มเทพยายามนี้ได้รับการสนับสนุนจากวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์สวายสอ จนสามารถนำนกกระเรียนกลับคืนสู่ถิ่นได้ประสบความสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2559 นับเป็นเวลากว่า 48 ปีในการทุ่มเทพยายามเพื่อทำให้ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในบริเวณที่อยู่อาศัยของนกกระเรียนพันธุ์ไทยกลับมาน่าอยู่สำหรับนกกระเรียนอีกครั้ง การให้ที่อยู่อาศัยนกกระเรียนจำเป็นต้องทำให้เกษตรกรมีรายได้ควบคู่กันไปเพื่อการอนุรักษ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยอย่างยั่งยืน ดังนั้น เกษตรกรที่เป็นสมาชิกวิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์สวายสอและองค์การสวนสัตว์จึงร่วมกันสร้างและผลักดันตราสินค้า “ข้าวสารัช” เพื่อยกย่องคุณงามความดีของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนในการนำนกกระเรียนพันธุ์ไทยกลับคืนถิ่น พร้อมทั้งยกให้ท้องนาของเกษตรกรเป็นแผ่นดินของนกกระเรียน จึงกล่าวได้ว่าข้าวสารัชเป็นตราสินค้าซึ่งเป็นตัวเชื่อมสำคัญที่ทำให้วิถีชีวิตระหว่างเกษตรกรกับนกกระเรียนพันธุ์ไทยสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน หากข้าวสารัชเป็นที่รู้จักในตลาดและกลุ่มผู้บริโภคที่กว้างขึ้น จะส่งผลต่อการสร้างแรงจูงใจให้แก่เกษตรกรในการดำรงระบบการผลิตข้าวแบบอินทรีย์ต่อไปได้ และนาข้าวก็จะยังคงเป็นที่อยู่อาศัยของนกกระเรียน

    ลูกนกกระเรียน
    ภาพที่ 1 ลูกกระเรียนในนาข้าวอินทรีย์ในพื้นที่นาจังหวัดบุรีรัมย์
    ที่มา: ธารริน(2560)

    กระบวนการสร้างตราสินค้ามีเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้ถึงอัตลักษณ์ของข้าวสารัช ประกอบด้วย การเล่าเรื่องราวอันทรงคุณค่าระหว่างเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก จังหวัดบุรีรัมย์ กับนกกระเรียนพันธุ์ไทย ที่มีความสัมพันธ์กันในด้านการเกื้อกูลกัน โดยนำเรื่องเล่านี้มาเป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญของข้าวสารัช และนำอัตลักษณ์ดังกล่าวมาบอกเล่าผ่านบรรจุภัณฑ์

    โครงการนกกระเรียนพันธุ์ไทยคืนถิ่นได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรในพื้นที่อย่างมาก โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตเพื่อการเกษตรจากการใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก มาเป็นการเกษตรแบบอินทรีย์ เพื่อสร้างพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่หากินแก่นกกระเรียน โดยผลผลิตที่ได้จากนาข้าวอินทรีย์เหล่านี้ คือ ข้าวอินทรีย์ตราสารัช หรือข้าวสารัช ซึ่งเป็นสินค้าที่เป็นตัวแทนสัญลักษณ์วิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับสัตว์

    อย่างไรก็ตาม เรื่องราววิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับนกกระเรียน ไปจนถึงความทุ่มเทพยายามจากหลายภาคส่วนเพื่อนำนกกระเรียนกลับคืนถิ่นเป็นสิ่งที่น่ายกย่อง และแม้ว่าเรื่องราวนี้จะถูกถ่ายทอดผ่านสินค้าข้าวสารัช แต่เนื่องจากข้าวสารัชยังไม่เป็นที่รู้จักเป็นวงกว้างทำให้ผู้บริโภคไม่รับรู้ถึงความทุ่มเทพยายามของเกษตรกรเพื่อนกระเรียน

    ปัจจุบันสถานการณ์ช่องทางการจัดจำหน่ายข้าวสารัชยังมีน้อย การลงทุนลงแรงของเกษตรกรที่เสียสละที่นาของตนให้เป็นที่อยู่อาศัยของนกกระเรียนจะไม่สามารถทำได้อย่างยั่งยืนหากเกษตรกรขาดรายได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญ คือ การทำให้ผู้บริโภคตระหนักถึงความสำคัญของการทุ่มเท เสียสละของเกษตรกรเพื่อนกกระเรียน สาเหตุที่ผู้บริโภคไม่เกิดการรับรู้ถึงเรื่องราวอันทรงคุณค่าของข้าวสารัช เกิดจากช่องทางการจัดจำหน่ายและประชาสัมพันธ์ไม่เอื้อให้เกิดการรับรู้ของผู้บริโภค ส่งผลให้ข้าวสารัชไม่เป็นที่รู้จักในท้องตลาดทั่วไป


    ข้าวสารัช สถานการณ์และการดำรงอยู่

    ปัจจุบันข้าวสารัชดำเนินการผลิตโดยวิสาหกิจชุมชนสวายสอ ประกอบด้วย เกษตรกรจำนวนทั้งสิ้น 40 ราย และมีพื้นที่สำหรับปลูกข้าวจำนวน 619 ไร่ ใช้รูปแบบการปลูกข้าวแบบนาปี หรือการปลูกข้าวปีละ 1 ครั้งในฤดูฝนและเก็บเกี่ยวในฤดูแล้ง

    ภาพที่ 2 การปลูกข้าวของเกษตรกรในพื้นที่ของนกกระเรียน
    ที่มา: GIZ Thailand (2562)

    ภาพที่ 3 การเก็บเกี่ยวข้าวของเกษตรกรสมาชิกวิสาหกิจชุมชนสวายขอ
    ที่มา: ธาริน (2560)

    กระบวนการผลิตข้าวยังคงใช้วิถีการเกษตรแบบดั้งเดิม นั่นคือ การใช้แรงงานคนเป็นหลักในการผลิต ตั้งแต่กระบวนการปลูก เก็บเกี่ยว คัดเมล็ด ไปจนถึงบรรจุลงบรรจุภัณฑ์ ในด้านหนึ่งการผลิตในรูปแบบนี้เป็นการอนุรักษ์วิถีชีวิตของคนไทยแบบดั้งเดิมเอาไว้ แต่ในขณะเดียวกัน รูปแบบการผลิตเช่นนี้ส่งผลให้วิสาหกิจชุมชนไม่สามารถผลิตข้าวได้ทันในกรณีที่มียอดการสั่งซื้อจำนวนมาก ปัญหาที่วิสาหกิจชุมชนสวายสอเผชิญเมื่อเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น คือ ไม่มีโรงสีขนาดใหญ่รองรับการสีข้าวจำนวนมาก ทำให้วิสาหกิจต้องแก้ปัญหาด้วยการจ้างโรงสีเอกชนขนาดใหญ่ส่งผลต่อการเพิ่มต้นทุนการผลิต ประกอบกับคู่แข่งทางด้านสินค้าข้าวอินทรีย์ในประเทศไทยมีเป็นจำนวนมากทำให้ข้าวสารัชต้องเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้มากขึ้น ทั้งด้านกระบวนการผลิตและกระบวนการจัดจำหน่าย

    กระบวนการจัดจำหน่ายในปัจจุบันใช้ช่องทางทั้งผ่านไลน์ เฟสบุ๊ค ร้านค้าท้องถิ่น วางขายร้านของฝากในจังหวัดบุรีรัมย์ และบริษัท เรียล เบฟเวอร์เรจ สยาม จำกัด ที่รับซื้อข้าวสารและนำไปบรรจุในตราสัญลักษณ์อื่น ซึ่งช่องทางการจัดจำหน่ายยังคงมีน้อย ดังภาพที่ 4

    ภาพที่ 4 ช่องการจัดจำหน่ายของข้าวสารัช
    ที่มา: จากการรวบรวมข้อมูลของคณะผู้วิจัย

    ข้าวอินทรีย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวายสอในปัจจุบันจำหน่ายภายใต้ตราสัญลักษณ์ “ข้าวสารัช” ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ผู้บริโภคยังไม่รับรู้เรื่องราวอันทรงคุณค่าระหว่างเกษตรกรกับนกกระเรียน อันเนื่องจากการประชาสัมพันธ์เรื่องราวของข้าวสารัชยังมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งการประชาสัมพันธ์ในปัจจุบันใช้รูปแบบการบรรยายในกิจกรรมการดูงานของกลุ่ม การออกบูธขายสินค้าพร้อมกับการประชาสัมพันธ์ ประชาสัมพันธ์ผ่าน Fan Page Facebook แต่การอัพเดทเนื้อหามีไม่บ่อยนัก และองค์การสวนสัตว์ช่วยประชาสัมพันธ์ ประกอบกับคู่แข่งทางการค้าของสินค้าข้าวอินทรีย์ในประเทศไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น ข้าวสารัชจึงต้องพัฒนาช่องการรับรู้ให้แก่ผู้บริโภคเพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันในตลาดข้าวอินทรีย์

    บทความนี้ใช้ SWOT Analysis เป็นเครื่องมือวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของการจัดจำหน่ายข้าวสารัช เพื่อชี้ให้เห็นช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภค และเพื่อหาวิธีการเข้าถึงการรับรู้ของผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสมกับสินค้า

    SWOT Analysis ประกอบด้วย การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength) คือ การวิเคราะห์ปัจจัยภายในอันส่งผลดีต่อผลิตภัณฑ์ข้าวสารัช ทำให้เกิดความเข้มแข็งของธุรกิจที่นำไปสู่ความได้เปรียบทางการตลาด การวิเคราะห์จุดอ่อน (Weakness) คือ การวิเคราะห์ปัจจัยภายในอันส่งผลเสีย หรือเป็นปัญหาบกพร่องภายใน ซึ่งทำให้เกิดจุดอ่อนที่สร้างความเสียเปรียบทางการตลาดให้แก่ผลิตภัณฑ์ข้าวสารัช การวิเคราะห์โอกาส (Opportunity) คือ การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่ช่วยเอื้อประโยชน์ให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้ด้วยดี ซึ่งส่งผลดีต่อผลิตภัณฑ์ข้าวสารัช และการวิเคราะห์อุปสรรค (Threat) คือ การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกอันเกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร ซึ่งสร้างข้อจำกัดให้แก่การดำเนินธุรกิจ และส่งผลเสียต่อผลิตภัณฑ์ข้าว สารัช

    จากการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของสินค้าข้าวสารัช พบว่า ปัจจัยภายในที่เป็น จุดแข็งที่สำคัญสำหรับข้าวสารัช คือ เรื่องเล่าที่ทรงคุณค่าของนกกระเรียนอันเป็นสัญลักษณ์ของการทุ่มเทพยายามในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับสัตว์ คุณภาพสินค้าข้าวอินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพ มีกระบวนการผลิตที่ใส่ใจ และได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก นั่นคือ องค์การสวนสัตว์ อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนที่เป็นอุปสรรคต่อการจำหน่ายสินค้า คือ ขาดบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารออนไลน์ ส่งผลให้ช่องทางการสื่อสารหรือช่องทางการสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริโภคมีน้อย ตราสัญลักษณ์นกกระเรียนยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง

    ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อสินค้าข้าวสารัช ได้แก่ โอกาส คือ ข้าวสารัชได้รับการสนับสนุนจากองค์การสวนสัตว์ในด้านการประชาสัมพันธ์ ส่งผลให้ข้าวสารัชเป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ นอกจากนี้ กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโลกกำลังเป็นที่ตระหนักในปัจจุบัน ประกอบกับกระแสการดูแลสุขภาพกำลังเป็นที่นิยม การรับประทานอาหารที่มีกระบวนการผลิตแบบอินทรีย์ รวมถึงข้าวอินทรีย์กำลังเป็นที่นิยม ส่วนด้านอุปสรรค คือ กระบวนการผลิตข้าวขึ้นอยู่กับสถานการณ์ธรรมชาติทำให้ในบางปีผลิตข้าวได้น้อยอันเนื่องจากฝนฟ้าไม่เป็นตามตามคาดหมาย และคู่แข่งทางด้านการค้ามีเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประเทศไทยมีสินค้าข้าวอินทรีย์เป็นจำนวนมาก

    จากสถานการณ์ปัจจุบันด้านช่องทางการจัดจำหน่ายของข้าวสารัชสามารถสรุปได้ดังภาพที่ 5

    ภาพที่ 5 การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันด้านช่องทางการจัดจำหน่ายของข้าวสารัช ด้วย SWOT Analysis
    ที่มา : คณะผู้วิจัย

    จากภาพสถานการณ์ปัจจุบันของข้าวสารัชย้ำให้เห็นว่าปัญหาหลักของการขายสินค้าข้าวสารัชในตลาด คือ ผู้บริโภคไม่สามารถรับรู้ได้ถึงคุณค่าและความหมายของข้าวสารัช ซึ่งวิธีการสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริโภคประการหนึ่ง คือ การสร้างอัตลักษณ์ให้แก่สินค้าเพื่อให้สินค้ามีเอกลักษณ์และเป็นที่น่าจดจำ


    อัตลักษณ์ข้าวสารัชและการรับรู้ของผู้บริโภค

    การสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริโภคเป็นวิธีการหนึ่งที่เชื่อมโยงระหว่างผู้บริโภคกับสินค้า วิธีการสร้างการรับรู้ประการหนึ่งคือ การหยิบยกอัตลักษณ์ของข้าวสารัชขึ้นมาเป็นจุดขาย ซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้เรื่องเล่าที่เฉพาะตัวของข้าวสารัชหรือเรื่องเล่าของนกกระเรียนมาเป็นอัตลักษณ์สำคัญ และนำเสนออัตลักษณ์ดังกล่าวผ่านรูปแบบต่าง ๆ ในที่นี้จะนำเสนอการบอกเล่าอัตลักษณ์ผ่านบรรจุภัณฑ์ อัตลักษณ์ข้าวสารัชเป็นไปดังภาพที่ 6

    ภาพที่ 6 องค์ประกอบอัตลักษณ์ข้าวสารัช สู่การนำเสนอความหมายในบรรจุภัณฑ์
    ที่มา : คณะผู้วิจัย

    จากภาพแสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบการสร้างอัตลักษณ์ประกอบด้วย

    1) คุณประโยชน์ของข้าวสารัช ซึ่งเป็นข้าวอินทรีย์ปลอดสารเคมี ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและข้าวยังประกอบด้วยคุณประโยชน์ทางโภชนาการหลายประการ

    2) การสร้างบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สัญลักษณ์เป็นนกกระเรียน ที่น่าซื้อและสื่อถึงความหมายวิถีชีวิตของคนกับนกกระเรียน เนื่องจากกระบวนการผลิตข้าวสารัชมีเรื่องราวการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างเกษตรกรกับนกกระเรียน กล่าวคือ เกษตรกรได้แบ่งพื้นที่บางส่วนให้เป็นที่อยู่อาศัยของนกกระเรียน และปล่อยให้พื้นที่นาของตนเป็นพื้นที่หากินของนก

    3) สินค้าสื่อถึงถิ่นที่อยู่ของนกกระเรียน ซึ่งมีความหมายเกี่ยวโยงถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมกันนั้นยังกล่าวถึงเรื่องราวการกลับมาของนกกระเรียนพันธุ์ไทยที่หายไปนานกว่า 48 ปี และเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ แต่ด้วยความร่วมมือกันระหว่างเกษตรกรและภาครัฐทำให้สามารถนำนกกระเรียนพันธุ์ไทยกลับคืนถิ่นมาได้ ดังนั้น การปลูกข้าวของเกษตรกรจึงไม่ได้มีความหมายเพียงการปลูกเพื่อขายหรือเลี้ยงชีพมนุษย์เท่านั้น แต่ยังเป็นการเลี้ยงชีพนกกระเรียนให้สามารถอยู่รอดและสืบพันธุ์ต่อไปได้

    4) ปริมาณข้าวในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะกับสังคมสมัยใหม่ ซึ่งเป็นสังคมที่มีการใช้ชีวิตในรูปแบบครอบครัวเดี่ยวมากยิ่งขึ้น หรือในหลายกรณีที่ผู้คนในสังคมสมัยใหม่มักเลือกใช้ชีวิตอยู่คนเดียว มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวน้อยลง ส่งผลให้การซื้อข้าวในยุคปัจจุบันจึงไม่ใช่การซื้อในปริมาณมากต่อการซื้อแต่ละครั้ง ดังนั้น ปริมาณข้าวในบรรจุภัณฑ์จึงสำคัญ ในกรณีการบรรจุข้าวสารัชจะบรรจุถุงขนาด 500 กรัม และ 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่เหมาะสมและตอบโจทย์กับชีวิตของผู้คนในสังคมสมัยใหม่

    จากองค์ประกอบของอัตลักษณ์ทั้ง 4 ประการ สามารถนำเสนอเพื่อสร้างการรับรู้แก่ผู้บริโภค ด้วยการนำมาเป็นจุดขายในรูปแบบการเล่าเรื่องราว (Story Telling) แก่ผู้บริโภคด้วยวิธีการนำเสนอเนื้อหาผ่านบรรจุภัณฑ์


    ข้าว วิถีชีวิต และนกกระเรียนผ่านบรรจุภัณฑ์ข้าวสารัช

    เป้าหมายการนำเสนออัตลักษณ์ผ่านบรรจุภัณฑ์ของข้าวสารัช คือ การทำให้ผู้บริโภครับรู้และตระหนักคุณค่าของนกกระเรียน การอนุรักษ์ธรรมชาติ และวิถีการดำรงชีพของเกษตรกรและนกกระเรียน พร้อมกันนั้นเป็นการสร้างความรู้สึกร่วมในความเป็นไทยให้กับผู้บริโภคได้รับรู้ว่าทุกคนบนโลกนี้สามารถช่วยให้นกกระเรียนมีที่อยู่อาศัยและสืบพันธุ์ต่อไปได้เพียงซื้อข้าวสารัช ทั้งนี้ ข้อความที่ใช้สื่อ คือ

    “ข้าวแห่งแผ่นดินนกกระเรียน ธำรงชีวิต ธำรงวัฒนธรรม ธำรงความยั่งยืน”

    มีความหมาย ดังนี้

    “ข้าวแห่งแผ่นดินนกกระเรียน” หมายถึง การปลูกข้าวของเกษตรกรในพื้นที่หมู่บ้านสวายสอที่ยกให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัยหรือเป็น “แผ่นดิน” ของนกกระเรียน เป็นการดำรงรักษาชีวิตนกกระเรียนพันธุ์ไทยไม่ให้สูญหายไปจากแผ่นดินดังกล่าว

    “ธำรงชีวิต” หมายถึง การปลูกข้าวแบบอินทรีย์ นอกจากจะช่วยให้นกกระเรียนสามารถอยู่รอดได้ ยังสามารถช่วยให้ชีวิตเกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ด้วยการขายข้าวอินทรีย์ออกสู่ท้องตลาด ทั้งยังช่วยให้สุขภาพของผู้บริโภคดีขึ้นจากการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดสารเคมี

    “ธำรงวัฒนธรรม” หมายถึง การรักษาไว้ซึ่งวิถีชีวิตของเกษตรกรในภาคอีสาน ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่สื่อเอกลักษณ์ความเป็นไทยอยู่คู่กับคนไทยมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทั้งนี้ ในพื้นที่หมู่บ้านสวายสอมีวัฒนธรรมที่เฉพาะกว่าเอกลักษณ์ความเป็นไทย เพราะเป็นวิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับสัตว์ ดังนั้น ซื้อข้าวสารัชจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดำรงรักษาวิถีชีวิตเช่นนี้ให้สืบต่อไป

    “ธำรงความยั่งยืน” หมายถึง การรักษาไว้ซึ่งความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นการปลูกข้าวในรูปแบบอินทรีย์ ทำให้สามารถอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยจากสารเคมีได้ ทั้งยังรักษาไว้ซึ่งชีวิตนกกระเรียนให้อยู่รอดได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น การซื้อข้าวสารัชก็เป็นการรักษาความยั่งยืนของชีวิตนกกระเรียนและเกษตรกรไปในตัว ซึ่งสอดคล้องกับข้อความ “สนับสนุนข้าวสารัช = ช่วยให้นกกระเรียนไม่สูญพันธุ์” และ “Save Eastern Sarus Crane”

    ภาพที่ 7 สโลแกนข้าวสารัช
    ที่มา: คณะผู้วิจัย

    รูปแบบบรรจุภัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกำลังซื้อของผู้บริโภค ทั้งนี้ ได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

    ภาพที่ 8 บรรจุภัณฑ์ข้าวสารัช 3 รูปแบบ
    ที่มา : คณะผู้วิจัย

    บรรจุภัณฑ์รูปแบบที่ 1: บรรจุภัณฑ์กล่องข้าวสีทอง ประกอบด้วยกล่องข้าว 3 สี บรรจุไว้ในกล่องใหญ่สีทอง องค์ประกอบแต่ละอย่างบนบรรจุภัณฑ์สื่อถึงข้าว เกษตรกร และนกกระเรียน ดังภาพที่ 9

    ภาพที่ 9 ความหมายของบรรจุภัณฑ์แบบที่ 1
    ที่มา : คณะผู้วิจัย

    บรรจุภัณฑ์รูปแบบที่ 2: ใช้กระสอบเป็นวัสดุหลักเพื่อสื่อถึงข้าวและความเป็นไทย อันเนื่องจากกระสอบป่านมีความเป็นมาที่อยู่คู่กับข้าวไทยมานับตั้งแต่ พ.ศ.2484 ซึ่งรัฐบาลได้ผลักดันให้ประชาชนผลิตกระสอบป่านเพื่อบรรจุข้าวในยุคที่ผลิตข้าวได้เป็นจำนวนมาก กระสอบป่านจึงเป็นบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ในประวัติศาสตร์คู่กับข้าวไทยมานาน เรียกได้ว่ากระสอบป่านเป็นสัญลักษณ์ของข้าวสาร ดังนั้น เมื่อเห็นกระสอบป่านผู้คนจึงมักจะนึกถึงข้าวซึ่งเป็นสิ่งที่บรรจุอยู่ภายในกระสอบ นอกจากนี้ ยังสื่อถึงการลดการใช้พลาสติกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เนื่องจากเมื่อผู้บริโภครับประทานข้าวจนหมดกระสอบ ผู้บริโภคสามารถนำกระสอบนี้ไปใช้ต่อได้ในโอกาสอื่นๆ เช่น ใส่ของเล็กๆ น้อยๆ หรือนำไปใส่ข้าวสารซ้ำได้อีก

    ภาพที่ 10 ความหมายบรรจุภัณฑ์แบบที่ 2
    ที่มา: คณะผู้วิจัย

    บรรจุภัณฑ์แบบที่ 3: บรรจุภัณฑ์ข้าวสารัชแบบพรีเมียม มีผ้าไหมบุรีรัมย์เป็นวัสดุสำคัญเพื่อเชิดชูคุณค่าและความหมายของข้าวสารัชที่ควรค่าแก่การยกย่อง ทั้งนี้ ความเป็นมาของผ้าไหมบุรีรัมย์มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทรงเยี่ยมเยือนกลุ่มทอผ้าไหมบุรีรัมย์และได้แต่งเพลง “ลาวดวงเดือน” กล่าวได้ว่าเพลงนี้มีเรื่องราวของผ้าไหมบุรีรัมย์ร่วมด้วย นอกจากนี้ การใช้วัสดุเป็นผ้าไหมบุรีรัมย์ในด้านหนึ่งเพื่อส่งเสริมอาชีพให้แก่วิสาหกิจชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดบุรีรัมย์ด้วย

    ภาพที่ 11 ความหมายบรรจุภัณฑ์แบบพรีเมียม
    ที่มา : คณะผู้วิจัย

    ภาพที่ 12 บรรจุภัณฑ์กล่องหุ้มกล่องผ้าไหม
    ที่มา : คณะผู้วิจัย

    ประโยชน์จากการนำอัตลักษณ์ข้าวสารัชมาเป็นส่วนหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ข้าวสารัช ในด้านหนึ่งคือ การประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคเห็นคุณค่าของของข้าว เกษตรกร และนกกระเรียน ซึ่งมีความหมายและประวัติศาสตร์ที่ลึกซึ้งของวิถีชีวิตระหว่างคนกับนกกระเรียนพันธุ์ไทย วิถีชีวิตดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นไทยในมายาคติ หรือความเป็นไทยแบบดั้งเดิมได้เป็นอย่างดี

    กล่าวโดยสรุป การทำให้ผู้บริโภคเกิดแรงจูงใจและกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อข้าวสารัชได้ สิ่งสำคัญคือ การริเริ่มและการสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริโภค โดยวิธีการสร้างอัตลักษณ์ให้แก่สินค้าข้าวสารัชด้วยการเล่าเรื่องราว (Story telling) ที่สำคัญของข้าวสารัช ได้แก่ เรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกกระเรียนพันธุ์ไทย ความพยายามของคนที่นำพานกกระเรียนกลับคืนมา การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตความเป็นไทย วิธีการหนึ่งในการเผยแพร่เรื่องราวให้ผู้บริโภครับรู้ คือ บรรจุเรื่องราวผ่านบรรจุภัณฑ์ของข้าวที่เล่าเรื่องราวของอันทรงคุณค่าได้ และมีรูปแบบที่น่าดึงดูดให้ซื้อ ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสม เช่น ตลาดออนไลน์ ร้านขายของฝาก เป็นต้น

    ตราสินค้าข้าวสารัชเป็นเครื่องมือที่สื่อถึงอัตลักษณ์ของข้าวสารัช โดยอัตลักษณ์ดังกล่าวได้บอกเล่าเรื่องราวการอยู่ร่วมกันระหว่างเกษตรกรกับนกกระเรียนพันธุ์ไทย การอนุรักษ์ธรรมชาติ และวิถีชีวิตความเป็นไทย การซื้อสินค้าข้าวสารัชเท่ากับการช่วยให้วิถีชีวิตดังกล่าวสามารถดำรงอยู่สืบไปได้อย่างยั่งยืน ในแง่นี้ ข้าวสารัชจึงเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกษตรกรและนกกระเรียนดำเนินชีวิตได้ในพื้นที่นาจังหวัดบุรีรัมย์ได้อย่างยั่งยืน

     

     

     

  • Project Title: Efficacy development of insect repellent from Chromolaena odorata and Vernonia cinereal (L.) extracts for bio-control of Plutella xylostella L. in green vegetable cultivation

    Research Title: Insect repellent from Chromolaena odorata and Vernonia cinereal (L.) extracts for bio-control in green vegetable cultivation
    Researcher(s): Ms. Ladda Saengon; Assoc.Prof.Dr. Sayam Aroonsrimorakot; Asst.Prof.Dr. Preeyaporn Koedrith; Asst.Prof.Dr. Panupong Puttarak; Asst.Prof.Dr. Ammorn Insung
    Affiliation: Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University

    Research Details (In Brief):
    This research aimed at developing Thai herbal weeds in controlling pest insect with use of bioactive natural compounds in environmentally- and consumer-friendly manner. We also wish to develop innovative pest management in agricultural area or pest control products prototype with integrative appropriate biotechnology. Herein, we assessed efficacy of crude extracts of Chromolaena odorata (Siam weed) and Vernonia cinerea (L.) (Little ironweed) using 95% EtOH soaking, EM, and organic solvents (EtOH, EtOAc, and Hexane) in controlling 2nd larvae of Spodoptera litura (Fabricius) by leaf-dipping test for 24, 48, and 72 hours. At 48 hours Siam weed crude extracts using soaking at 5% (w/w) showed maximum accumulative lethality at 100%, its extracts using EM at 3.33% exhibited maximum accumulative lethality at 85%, and its extracts using Hexane at 5 mg/ml had maximum accumulative lethality at 95% while EtOAc- and EtOH-based extracts had lower maximum accumulative lethality (70% and 60%, respectively). Interestingly, Little ironweed crude extracts using soaking at all tested concentrations (5.0, 12.5 and 25.0% w/w) displayed maximum accumulative lethality at 100%, its extracts using EtOH (at 0.01, 0.1, 1.0 and 5.0 mg/ml) showed also maximum accumulative lethality at 100%, and its extracts using EtOAc and Hexane at 5 mg/ml had slightly lower (80%) maximum accumulative lethality. Importantly, at 72 hours both of Thai weed crude extracts using soaking, EM, and all tested organic solvents at most of tested concentrations exhibited maximum accumulative lethality at 100%. Our results demonstrated that at 72 hours both of Thai weed crude extracts using soaking and EM could effectively kill 2nd larvae of common cutworm at 100% lethality, as comparable to their crude extracts using tested organic solvents. This indicated good trend with use of both Thai weed extracts for controlling the pest insect in further semi-field study, compared to commercial herbal product and chemical insecticide.

    Award Grant Related to the Project : This study was supported by research grant funded by Agricultural Research Development Agency (Public Organization) (ARDA).

    Key Contact Person: Asst.Prof.Dr. Preeyaporn Koedrith; +66(0)2441500 ext 1224; This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    ชื่อโครงการวิจัย: การพัฒนาประสิทธิภาพสารไล่แมลงจากสารสกัดจากสาบเสือ และหญ้าดอกขาว เพื่อควบคุมหนอนใยผักแบบชีววิถี ในการปลูกผักกินใบ

    ชื่อผลงานวิจัย: สารสกัดธรรมชาติไล่แมลงจากพืชสมุนไพรไทยสาบเสือ และหญ้าดอกขาว เพื่อควบคุมศัตรูในผักกินใบแบบชีววิถี

    ชื่อผู้วิจัย: นางสาวลัดดา เสียงอ่อน รศ.ดร. สยาม อรุณศรีมรกต ผศ.ดร. ปรียาพร เกิดฤทธิ์ ผศ.ดร. ภาณุพงศ์ พุทธรักษ์ ผศ.ดร. อำมร อินทร์สังข์

    ส่วนงาน: คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    รายละเอียดผลงานวิจัย (โดยย่อ):
    งานวิจัยนี้มุ่งหมายพัฒนาสมุนไพรที่หาได้ง่ายมาประยุกต์ในการควบคุมศัตรูพืช ซึ่งอาศัยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค ทั้งนี้ยังมุ่งหวังสู่การต่อยอดในเชิงนวัตกรรมการจัดการป้องกันศัตรูพืชในพื้นที่เกษตรกรรม หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ยับยั้งศัตรูพืชต้นแบบ ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมกับเทคโนโลยีชีวภาพที่เหมาะสม การศึกษาฤทธิ์และประสิทธิภาพของสารสกัดจากสมุนไพรไทย 2 ชนิด คือ สาบเสือ และหญ้าดอกขาว ที่ผ่านการสกัดด้วย 3 วิธีหลัก คือ การแช่ยุ่ยด้วย 95% แอลกอฮอล์ การหมักด้วยอีเอ็มและการสกัดด้วยสารละลายอินทรีย์ (Ethanol Ethyl Acetate และHexane) ในการควบคุมหนอนกระทู้ผัก ระยะ 2 ด้วยวิธีจุ่มใบ พบว่าที่ 48 ชั่วโมง สารสกัดสาบเสือด้วยการแช่ยุ่ย ที่ความเข้มข้น 5% (w/w) ซึ่งเป็นความเข้มข้นต่ำสุดที่ศึกษา ทำให้หนอนตามสะสมสูงสุด 100% สารสกัดสาบเสือด้วยการหมักอีเอ็ม ที่ความเข้มข้น 3.33% ทำให้หนอนตายสะสมสูงสุด 85% และสารสกัดสาบเสือด้วยสารละลาย Hexane ที่ความเข้มข้น 0.001 1.0 และ 5.0 มก./มล. ทำให้หนอนตายสะสม 75% 85% และ 95% ตามลำดับ ขณะที่สารสกัดดังกล่าวด้วยสารละลาย EtOAc ที่ความเข้มข้น 5.0 มก./มล. ทำให้หนอนตายสะสมสูงสุด 70% และสารสกัดด้วย EtOH ที่ความเข้มข้น 0.001 และ 1.0 มก./มล. ทำให้หนอนตายสะสมสูงสุด 60% สำหรับสารสกัดจากหญ้าดอกขาวด้วยการแช่ยุ่ย ที่ทุกความเข้มข้นที่ศึกษา (5.0 12.5 และ 25.0%) ทำให้หนอนตายสะสม 100% สารสกัดหญ้าดอกขาวด้วยการหมักอีเอ็ม ที่ความเข้มข้น 16.5% (w/w) ทำให้หนอนตายสะสม 65% และสารสกัดหญ้าดอกขาวด้วยสารละลาย EtOH ที่ความเข้มข้น 0.01 0.1 1.0 5.0 มก./มล. ทำให้หนอนตายสะสมสูงสุด 100% และที่ความเข้มข้น 0.001 มก./มล. ทำให้หนอนตายสะสม 75% ขณะที่สารสกัดดังกล่าวด้วยสารละลาย Hexane และ EtOAc ที่ความเข้มข้น 5.0 มก./มล. ทำให้หนอนตายสะสมสูงสุด 80% และที่ 72 ชั่วโมง พบว่า สารสกัดสมุนไพรทั้งสองชนิด ด้วยการแช่ยุ่ย การหมักด้วยอีเอ็ม และสารละลายอินทรีย์ทั้งสามชนิด ที่ความเข้มข้นที่ศึกษาส่วนใหญ่ ทำให้หนอนตายสะสมสูงสุด 100 % จากผลการทดสอบประสิทธิภาพในการฆ่าหนอนเป้าหมายในระดับห้องปฏิบัติการ สรุปได้ว่า ที่ 72 ชั่วโมง สารสกัดสมุนไพรทั้งสองชนิดด้วยวิธีการแช่ยุ่ย และการหมักด้วยอีเอ็ม ให้ผลดี ฆ่าหนอนได้ 100% เทียบเคียงกับผลของสารสกัดด้วยสารละลายอินทรีย์ทั้งสามชนิด เป็นแนวทางที่ดีที่จะนำสารสกัดสมุนไพรทั้งสองชนิดไปทดสอบเบื้องต้นประสิทธิภาพในการควบคุมหนอนศัตรูพืชในแปลงผักทดสอบกึ่งภาคสนาม เทียบกับสารสกัดสมุนไพรทางการค้าและสารเคมีกำจัดแมลง

    รางวัลที่ได้รับ : โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
    การติดต่อ: ผศ.ดร. ปรียาพร เกิดฤทธิ์ 024415000 ต่อ 1224; This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    [Module-730]

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    ระบบการจัดการทรัพยากรน้ำและประมาณการผลผลิตแบบแม่นยำสำหรับการปลูกอ้อย

    (Precision system of water resource management and yield estimation for sugarcane cultivation)

    แหล่งทุน

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

     

    อ.ดร.บุญลือ คะเชนทร์ชาติ

    ผู้ดำเนินการร่วม

     

    1. บริษัท เกษตรไทยอินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สาขา3

    2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    3. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     

    คำอธิบาย

     

    บูรณาการองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนการเกษตร สำหรับการปลูกอ้อยเสริมแบบแม่นยำ ด้วยระบบสนับสนุนการตัดสินใจและโครงสร้างพื้นฐานอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT Infrastructure) ภายใต้แนวคิดการกำหนดความต้องการใช้น้ำของพืช ร่วมกับสามารถเสริมสร้างความทนทานต่อภาวะแห้งแล้งของอ้อยด้วยการพัฒนาวิธีการใช้ชีวภัณฑ์ระดับไร่นา และพัฒนาวิธีการผลิตชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ โดยเชื่อมโยงกับการติดตามปริมาณการผลผลิตอ้อยด้วยอากาศยานไร้คนขับ

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ปริมาณผลผลิตอ้อยมีความผันแปรกับปริมาณน้ำในดินในทิศทางบวก ในสภาพการปลูกอ้อยที่มีการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพให้พอเพียงกับการคายระเหยน้ำของอ้อยตลอดการเพาะปลูก สามารถเพิ่มผลผลิตอ้อยจาก 8-10 ตันต่อไร่ เป็น 15-17 ตันต่อไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ดังนั้นการจัดการระบบน้ำชุมชนและเกษตรสำหรับการปลูกอ้อยจึงมีความจำเป็นและสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยต่อพื้นที่และประสิทธิภาพเชิงนิเวศของทรัพยากรน้ำ (Eco-efficiency of water resource)  ชุมชนพึ่งตนเองได้ภายใต้การดำเนินการที่มีต้นทุนต่ำ ให้ผลตอบแทนสูง และสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ด้วยการบูรณาการรูปแบบและวิธีการจัดการน้ำชุมชนของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยนอกเขตชลประทานและมีต้นทุนแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดินสำหรับใช้ในชุมชนอย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการวิจัยปริมาณความต้องการใช้น้ำของอ้อยเพื่อการคายระเหยตลอดช่วงเวลาการเจริญเติบโตของพืช สำหรับการหาจุดอุตมภาคการชลประทาน ณ ช่วงเวลาและปริมาณการใช้น้ำ หรือการให้น้ำเสริม ที่จะให้ผลผลิตและความเข้มข้นของน้ำตาล (%brix) มีค่าสูงสุด แต่ใช้ทรัพยากรน้ำประหยัดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้แนวคิดสมดุลน้ำและการกำหนดความต้องการใช้น้ำของพืชจากความสัมพันธ์ระหว่าง ดิน พืช และ ภูมิอากาศ  ในการณีที่เกิดภาวะแล้งหรือเกษตรที่ไม่มีแหล่งน้ำเพียงพอ การเสริมสร้างความทนทานต่อภาวะแห้งแล้งของอ้อยด้วยแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโต เป็นวิธีการที่จะลดผลกระทบจากภัยแล้งเพื่อคงผลิตอ้อยไม่ให้ลดลงหรือลดลงน้อยที่สุด นอกจากนี้ การประยุกต์อากาศยานไร้คนขับเพื่อประมาณการผลผลิตอ้อย จะสนับสนุนการวางแผนการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายในระบบห่วงโซ่อุปทานการผลิตอ้อย

    ผลการดำเนินงาน

    1. จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล (คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์)  และ บริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด  เรื่อง การจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดการใช้ประโยชน์ระบบโครงสร้างพื้นฐาน Internet of things และระบบสนับสนุนการตัดสินใจการให้น้ำและประมาณการผลผลิตอ้อยแบบแม่นยำ

    2. การใช้ประโยชน์จากระบบโครงสร้างพื้นฐาน Internet of things และระบบสนับสนุนการตัดสินใจการให้น้ำแบบแม่นยำ ในพื้นที่นำร่องอำเภอเก้าเลี้ยวในรัศมี 10 กิโลเมตร

    3.  การใช้ IoT ดำเนินการวิจัยการให้น้ำอ้อยแบบประหยัด ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด  ซึ่งเป็นการวิจัยต่อเนื่อง

    4. การติดตามการเจริญเติบโตและผลผลิตอ้อย ในพื้นที่แปลงอ้อยตัวอย่าง ของหน่วยส่งเสริมการปลูกอ้อยของบริษัทฯ จำนวน 17 เขต ครอบคลุมจังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร และกำแพงเพชร  โดยวางแปลงอ้อยตัวอย่าง ในการปลูกอ้อยแบบน้ำราด ข้ามแล้ง อ้อยตอ และอ้อยฝน อย่างละ 3 ซ้ำ ขนาดพื้นที่ 5-50 ไร่  สุ่มติดตามการเจริญเติบโต อย่างน้อย 2 ครั้ง ต่อฤดูกาลผลิต และสุ่มประมาณการผลผลิตอ้อย 1 ครั้ง ในเดือนพฤศจิกายน ผลจากการสุ่มตัวอย่างจะนำไปอนุมาณ สุขภาพและผลผลิตอ้อยในพื้นที่การปลูกอ้อยของบริษัททั้งหมด

    5. การจัดหาครุภัณฑ์ อากาศยานไร้คนขับ (UAV) ยี่ห้อDJI จำนวน 2 ชุด ได้แก่ รุ่นPhantom 4 RTK และPhantom 4 Multispectral RTK สำหรับใช้ปฏิบัติการ

    6. การฝึกอบรม การประมาณการผลผลิตอ้อย เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2565

    7. การจัดหาการบริการ VPS server สำหรับการจัดเก็บข้อมูล การบริการข้อมูล ระบบสนับสนุนการตัดสินใจการให้น้ำและประมาณการผลผลิตอ้อยแบบแม่นยำ

    ผลกระทบที่เกิดขึ้น

    การดำเนินการปลูกอ้อยโดยการให้น้ำเสริมและแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโต มีความสอดคล้องตามความต้องการของอ้อยและปริมาณน้ำต้นทุนของเกษตรกร นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำต่อหน่วยผลผลิตที่สูงขึ้น สำหรับ องค์ความรู้ด้านการประมาณการผลผลิตด้วย UAV ได้ประยุกต์ใช้เพื่อติดตามประเมินผล คุณภาพและผลผลิต ซึ่งให้ผลที่ถูกต้องแม่นยำและสามารถทดแทนการสังเกตด้วยสายตา หรือ การประมาณการจากความชำนาญ 

    ระบบการให้น้ำอ้อยเสริมแบบแม่นยำและแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโต ใช้ประโยชน์โดยกองวิชาการดงบ้านโพธิ์ บริษัทเกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และเกษตรกรที่ปลูกอ้อย จำนวนประมาณ 500 ราย ในรัศมีรอบสถานี IoT สำหรับการประยุกต์อากาศยานไร้คนขับเพื่อประมาณการผลผลิตอ้อย มีเป้าหมายในการประมาณใช้ข้อมูลการสุ่มตัวอย่างประมาณการผลผลิตอ้อย เพื่ออนุมานปริมาณผลผลิตทั้งหมดในเขตส่งเสริมการปลูกอ้อยของบริษัทฯ รวมพื้นที่ประมาณ 100,000 ไร่ มีเกษตรกรได้รับประโยชน์ ประมาณ 2,000 ราย

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    2

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    6

    Key Message

     

    บูรณาการองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนการเกษตร สำหรับการปลูกอ้อยเสริมแบบแม่นยำด้วยระบบ IoT Infrastructure ร่วมกับเสริมสร้างความทนทานต่อภาวะแห้งแล้งของอ้อย และติดตามปริมาณการผลผลิตอ้อยด้วยอากาศยานไร้คนขับ

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    อัลบั้มภาพ

       

    Partners/Stakeholders

    1. นักวิจัยจากภาคเอกชน บริษัท เกษตรไทยอินเตอร์เนชั่นแนลฯ

    2. กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ศึกษา ในพื้นที่ศึกษาแปลงอ้อย อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ 

    3. กรมการฝนหลวงและการบินเกษตร

    4. กรมชลประทาน

    5. สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร

    6. กลุ่มวิสาหกิจเริ่มต้น (Start – Up)

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    2.5.1, 2.5.2, 6.5.1

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การพัฒนาอากาศยานไร้นักบินระบบเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย 5G

    เพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

    Unmanned Aerial Vehicle (UAV) development with 5G wireless network technology for agriculture precise and the environment

    แหล่งทุน

    ทุนสนับสนุนงานวิจัยขั้นมูลฐาน (Fundamental Fund) มหาวิทยาลัยมหิดล

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    อาจารย์ ดร. รัตนะ บุลประเสริฐ

    ผู้ดำเนินการร่วม

    ศูนย์ปฏิบัติการวิจัย และเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กําแพงแสน

    คำอธิบาย

     

    การพัฒนานวัตกรรมอากาศยานไร้นักบินระบบเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย 5G เพื่อการเกษตรแบบอัจฉริยะเป็นการพัฒนาและสร้างต้นแบบครั้งนี้ มีเป้าหมายหลักคือ การพัฒนา สร้างต้นแบบ ทดลอง และ ทดสอบประสิทธิภาพของต้นแบบในภาคสนาม สู่ผลิตภัณฑ์ทางการค้า ที่มุ่งเน้นพืชหลักที่เป็นรายได้หลักของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบด้วย ข้าว อ้อย และไม้ผล โดยดำเนินการวิจัยทดลองและทดสอบต้นแบบในภาคสนามที่มีความใกล้เคียงกับระบบที่จะใช้จริงจากการทดลอง และการทดสอบประสิทธิภาพของต้นแบบในภาคสนามของแปลงปลูก ข้าว อ้อย และไม้ผลของเกษตรกรนำร่องในพื้นที่จริง

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    เพื่อพัฒนา สร้างต้นแบบ ทดลอง และทดสอบประสิทธิภาพของต้นแบบในภาคสนามสู่ผลิตภัณฑ์ทางการค้า ที่มุ่งเน้นพืชหลักที่เป็นรายได้หลักของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบด้วย ข้าว อ้อย และไม้ผล

    การดำเนินการ

    1) การพัฒนาสร้างต้นแบบและทดสอบระบบต่าง ๆของ UAV ระบบโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ และพัฒนาให้มีหน้าที่ควบคุมการปฎิบัติงานของhardware ทางด้านการเกษตรและการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับอากาศยานไร้นักบินรองรับระบบ 5G 2) พัฒนาและสร้างต้นแบบของสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าว อ้อยและไม้ผลในราคาถูก มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีลักษณะเฉพาะสำหรับอากาศยานไร้นักบินทางการเกษตรเพื่อตอบโจทย์การผลิตทางการค้าและเพื่อการส่งออกด้วยการวิเคราะห์การกระจายตัวของของธาตุในสารส่งเสริม การเจริญสำหรับอากาศยานไร้นักบินจากระบบลำเลียงแสงmicro-XRF ด้วยแสงซินโครตรอน

    ผลการดำเนินงาน

    1) การทดสอบประสิทธิภาพของการพ่นและหว่านสารเคมีและสารอินทรีย์ สําหรับการส่งเสริมการเจริญเติบโตพืช พบว่า ประสิทธิภาพของการฉีดพ่นมีความสม่ำเสมอในแปลงสนามและยังมีความเหมาะสมกับความต้องการของเกษตรกรทําให้เกิดการเพิ่มผลผลิตและลดรายจ่ายในระดับดีมาก ต่อผลิตพืชเศรษฐกิจสําคัญของประเทศและมีประสิทธิภาพสูงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 2) การพัฒนาต้นแบบสู่ ผลิตภัณฑ์การพัฒนานวัตกรรมอากาศยานไร้นักบินภายใต้กระบวนการพัฒนาและสร้างต้นแบบที่ประกอบด้วย ทดลอง การทดสอบประสิทธิภาพของต้นแบบในภาคสนามที่มีความใกล้เคียงและการสาธิตการใช้งานให้กับเกษตรกรนําร่องในพื้นที่จริงของ 4 ผลงานต้นแบบ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการค้า การจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร จํานวน 6 ผลงาน และผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติจํานวน 4 ผลงาน ได้แก่  (1) ต้นแบบที่ 1 อากาศ ยานประเภทมัลติโรเตอร์สําหรับพ่นสารเคมีทางการเกษตร สําหรับพ่นและหว่านสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของ อ้อย และไม้ผล (2) ต้นแบบที่ 2 นวัตกรรมอากาศยานไร้นักบินระบบเทคโนโลยีเครือข่ายไร้ระบบ 5G สําหรับหว่านสารส่งเสริมการเจริญเติบโตการเพิ่มผลผลิตอ้อย และ ข้าว นวัตกรรมนี้สามารถนําไปสู่  (3) ต้นแบบที่ 3 นวัตกรรมอากาศยานไร้นักบินเพื่อการเกษตรแบบอัจฉริยะแบบบูรณาการในพื้นที่นาข้าว และ (4) ต้นแบบที่ 4 นวัตกรรมอากาศยานไร้นักบินเพื่อการจัดการเกษตรและสิ่งแวดล้อมแบบอัจฉริยะเพื่อตรวจหาโรคในแปลงอ้อย 

    ต้นแบบอากาศยานไร้นักบินของโครงการวิจัยนี้ พบว่า เป็นต้นแบบมีราคาถูกที่สามารถพัฒนาต่อยอดทางการค้าของต้นแบบผลิตภัณฑ์ทางการค้าในระดับภาคสนาม (TRL6) ที่ระดับความพร้อมทางเทคโนโลยีต้นแบบผ่านกระบวนการสาธิตให้กับเกษตรกรนําร่องในพื้นที่จริงและสามารถขยายผลสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครั้งนี้มีลักษณะเฉพาะที่เหมาะสมสําหรับอากาศยานไร้นักบินทางการเกษตรที่ระดับความพร้อมทางเทคโนโลยีอยู่ในระดับที่ผ่านการทดสอบกับเกษตรกร (TRL7) ต่อไป

     

    การนำไปใช้ประโยชน์

    ฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่มเกษตรกร กลุ่มคนที่ต้องการทักษะพิเศษ และบริษัทเอกชน ณ ตำบลทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร จำนวน 3 รุ่น รวม203 คน

     

    มีผลงานตีพิมพ์

    1) Vijuksungsith, P., Satapanajaru, T., Chokejaroenrat, C., Jarusutthirak, C., Sakulthaew, C., Kambhu, A., & Boonprasert R. Remediating oxytetracycline-contaminated aquaculture water using nano calcium peroxide (nCaO2)produced from flue gas desulfurization (FGD) gypsum. Environmental Technology & Innovation 2021;24:101861

     

    อยู่ระหว่างจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา จำนวน 6 ชิ้น

     

    Abstract

    This research project is to develop an innovative Unmanned Aerial Vehicle system (UAVs) with 5G wireless network technology (5G) for smart agriculture as a development and prototype this time. Its main goal is to develop, prototype, test and test the efficiency of prototypes in the field to commercial products focusing on the main crops that are the main income of the majority of the country, consisting of rice, sugarcane and fruit trees, by conducting research, experimentation and testing of prototypes in the field of prototypes that are close to the system that will be used in the experiment and testing the efficiency of the prototype in the field of the rice, sugarcane and fruit trees of the pilot farmers in the real area. The results were as follows: 1)The efficacy test of chemical and organic spraying and sowing for plant growth promotion showed that the efficiency of spraying was consistent in the field and was also appropriate to the needs. This allows farmers to increase yields and reduce expenditures to a great extent on producing the country's most important and highly efficient cash crops that are environmentally friendly; and 2)Development of prototypes to products, innovative development of unmanned aerial vehicles under the process of developing and creating prototypes that consist of experimenting, testing the efficiency of prototypes in the near field and demonstrating their use to pilot farmers in real-world areas. 4prototype works, able to develop commercial products 6patents or petty patents and 4international publications, namely: (1)Prototype 1:Multi-rotor type (UAVs) for spraying agricultural chemicals for spraying and sowing substances that promote the growth of sugarcane and fruit trees. (2)Prototype 2:innovative UAVs 5G for sowing growth promoters, increasing sugarcane and rice yields. (3)Prototype 3:Innovative integrated intelligent agricultural (UAVs) in the rice field; and (4)Prototype 4:An innovative UAVs for intelligent agriculture and environmental management for detecting diseases in sugar cane fields. The prototype of UAVs of this research project was found to be a low-cost prototype that could be developed for commercial development of the commercial product prototype at the field level (TRL6)at the level of technological readiness of the prototype through the demonstration process for pilot farmers in the area. This product development has characteristics suitable for agricultural (UAVs) whose technological readiness level is at the lead user test level (TRL7)

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

    มีผลสำคัญที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ (1) สิทธิบัตร/ อนุสิทธิบัตร/บทความหรือผลงานตีพิมพ์ระดับชาติหรือนานาชาติ (2) เกษตรกรที่เพาะะปลูกข้าว ชาวไร่อ้อย และ กลุ่มปลูกไม้ผล สามารถนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปใช้ในการเพิ่มผลผลิตมีพื้นที่เพาะเพื่อการค้าและการส่งออกปลูกรวมไม่น้อยกว่า 250,000 ไร่ มีผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 (3) นวัตกรรมอากาศยานไร้นักบินสำหรับพ่นและหว่านสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชสามารถทำให้เกิดการเพิ่มผลผลิตเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 (4) ลดรายจ่ายจากการลดการใช้สารเคมีของเกษตรกรได้มากกว่าร้อยละ 50 ของต้นทุนการผลิต (5) เกษตรกรที่ปลูกข้าว ชาวไร่อ้อยและกลุ่มปลูกไม้ผล ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 5 จังหวัดได้แก่ ลำปาง เชียงราย นครสวรรค์ พิจิตรและนครปฐม ไม่น้อยกว่ำ 175 รายหรือ กลุ่มเกษตร จำนวนไม่น้อยกว่า 3 กลุ่ม

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    การพัฒนาอากาศยานไร้นักบินระบบเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย B19 เพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม เป็นต้นแบบราคาถูกที่สามารถพัฒนาต่อยอดทางการค้าของต้นแบบผลิตภัณฑ์ทางการค้าในระดับภาคสนาม (TRL6) ซึ่งผ่านกระบวนการสาธิตให้กับเกษตรกรนำร่องในพื้นที่จริง สามารถขยายผลสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะที่เหมาะสมสำหรับอากาศยานไร้นักบินทางการเกษตรที่ระดับความพร้อมทางเทคโนโลยีอยู่ในระดับที่ผ่านการทดสอบกับเกษตรกร (TRL7) สามารถขยายผลสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครั้งนี้มีลักษณะเฉพาะที่เหมาะสมสำหรับอากาศยานไร้นักบินทางการเกษตรที่ระดับความพร้อมทางเทคโนโลยีอยู่ในระดับที่ผ่านการทดสอบกับเกษตรกร (TRL7) เพื่อการจัดการเกษตรและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    2

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    12

    รูปหน้าปก (ที่จะโชว์หน้าเว็บ)

    รูปหน้ารายละเอียด

    Key Message

     

    การพัฒนา สร้างต้นแบบ ทดลอง และ ทดสอบประสิทธิภาพของอากาศยานไร้นักบินระบบเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย 5G ในภาคสนาม สู่ผลิตภัณฑ์ทางการค้า ที่มุ่งเน้นพืชหลักที่เป็นรายได้หลักของคนส่วนใหญ่ของประเทศ (ข้าว อ้อย และไม้ผล)

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    - ศูนย์ปฏิบัติการวิจัย และเรือนปลูกพืชทดลอง คณะเกษตร กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    - สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

    - สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    2.5.1

  • โครงการอบรมนานาชาติ หลักสูตรFood System: the Challenge to Changing the Global Environment

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG

    1,2,6,12

    ชื่อกิจกรรม/โครงการ:

    โครงการอบรมนานาชาติ หลักสูตร Food System: the Challenge to Changing the Global Environment

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    1 – 8 กันยายน 2564

    สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อให้แนวทางวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทำองค์ความรู้เกี่ยวกับบริบทของระบบอาหารในมิติต่าง ๆ และเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับระบบอาหารตลอดจนเพื่อขจัดความหิวโหยจากมวลมนุษยชาติต่อไป

    รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ

    โครงการอบรมนานาชาติ หลักสูตร “Food System: the Challenge to Changing the Global Environment” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 – 8 กันยายน 2564 ผ่านระบบ Video Conference ด้วยโปรแกรม Zoom โดยความร่วมมือระหว่าง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แนวทางวิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทำองค์ความรู้เกี่ยวกับบริบทของระบบอาหารในมิติต่าง ๆ และเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับระบบอาหารตลอดจนเพื่อขจัดความหิวโหยจากมวลมนุษยชาติต่อไป ทั้งนี้ ได้มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 53 คน จากประเทศในภูมิภาคเอเชีย แอฟริกาใต้ และอเมริกาใต้

    กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม:

    ประเทศในภูมิภาคเอเชีย แอฟริกาใต้ และอเมริกาใต้

    จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม:

    53 คน

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม:

    ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับระบบอาหารตลอดจนเพื่อขจัดความหิวโหยจากมวลมนุษยชาต

    Web link เอกสารแนบ/รายงานข้อมูลเพิ่มเติม/

    เพื่ออ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน:

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    พฤติกรรมเชิงลึกของเกษตรกรและคนในชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนเกษตรปลอดการเผา

    Behavioral insights of farmers and surrounded people to develop a zero-burn agricultural community

    แหล่งทุน

    ทุนสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทุน Fundamental Fund ประเภทBasic Research Fund  ภายใต้แผนงานย่อย: พัฒนานักวิจัย   มหาวิทยาลัยมหิดล

    ประเภท: ทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ (สายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์)        

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    ผศ.ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย

    ผู้ดำเนินการร่วม

    -

    คำอธิบาย

     

    งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการค้นหาทางเลือกและประเมินต้นทุน-ผลตอบแทนในการใช้ประโยชน์จากฟางข้าว ประเมินการเปิดรับมลพิษทางอากาศ ประเมินความเต็มใจจ่ายเพื่อจัดการฟางข้าวโดยปลอดการเผาและความเต็มใจในการรับค่าชดเชยเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การจัดการฟางข้าวโดยปลอดการเผา  วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการตอซังฟางข้าวของเกษตรกร  สื่อสารทางเลือกและต้นทุน-ผลตอบแทนในการใช้ประโยชน์จากตอซังฟางข้าว รวมถึงสื่อสารผลการวิเคราะห์คุณสมบัติและธาตุอาหารในดินของแปลงเกษตรที่เผาและไม่เผาตอซังฟางข้าว  ตลอดจนถอดบทเรียน วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ และสังเคราะห์แนวทางการผลักดันเชิงนโยบายสำหรับการเป็นชุมชนเกษตรปลอดการเผา เพื่อให้การขับเคลื่อนชุมชนเกษตรปลอดการเผาเป็นรูปธรรมและยั่งยืนคู่วิถีเกษตรของสังคมไทย

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการเพื่อ 1) ค้นหาทางเลือกและประเมินต้นทุน-ผลตอบแทนในการใช้ประโยชน์ตอซังฟางข้าว2) ประเมินการเปิดรับมลพิษทางอากาศ3) ประเมินความเต็มใจจ่ายและความเต็มใจในการรับค่าชดเชยเพื่อจัดการฟางข้าวโดยปลอดการเผา4) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการตอซังฟางข้าว5) สื่อสารทางเลือกและต้นทุน-ผลตอบแทนในการใช้ประโยชน์จากตอซังฟางข้าว สื่อสารผลการวิเคราะห์คุณสมบัติและธาตุอาหารในดินของแปลงเกษตรที่เผาและไม่เผาตอซังฟางข้าว และ6) ถอดบทเรียน วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ และสังเคราะห์แนวทางการผลักดันสู่การเป็นชุมชนเกษตรปลอดการเผา

     

    การดำเนินการ

    - การเก็บตัวอย่างดิน กระบวนการสื่อสารผลการวิเคราะห์คุณสมบัติและธาตุอาหารในดินระหว่างพื้นที่เผาและไม่เผาตอซังฟางข้าว และการใช้ประโยชน์จากตอซังฟางข้าว

    - ถอดบทเรียน และ วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ

    - สังเคราะห์แนวทางการผลักดันเชิงนโยบาย 

    - เก็บข้อมูลจากบบสอบถาม แบบสอบถามเชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย

     

    ผลการดำเนินงาน

    - ผลการวิจัยในประเด็นทางเลือกการใช้ประโยชน์จากตอซังฟางข้าว ประกอบด้วย 8 ทางเลือกหลัก ได้แก่ 1) ใช้ฟางข้าวคลุมดิน  2) ไถกลบฟางข้าว ควบคู่กับการปลูกพืชตระกูลถั่ว ปลูกปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสด และทำปุ๋ยหมักฟางข้าว  3) ทำปุ๋ยหมักฟางข้าว  4) ใช้ฟางข้าวเป็นอาหาร/เลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงปลา เลี้ยงกวาง เลี้ยงโค/กระบือ  5) เพาะเห็ดจากฟางข้าว เช่น เห็ดฟางสด เห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก เห็ดนางรมเทาและทำวัสดุอาหารเสริมจากส่วนผสมของฟางข้าว  6) อัดฟางข้าวขาย  7) ผลิตภัณฑ์จากฟางข้าว เช่น กระถางปลูกต้นไม้ หุ่นฟางนก ฉนวนกันความร้อนจากฟางข้าว วัสดุกันกระแทกและถาดบรรจุภัณฑ์จากฟางข้าว ผลิตภัณฑของตกแต่งบ้าน  และ 8) ใช้ฟางข้าวเป็นชีวมวลเพื่อผลิตพลังงานทดแทนทางเลือก

    - เกษตรกรและคนในชุมชนไม่ได้เปิดรับมลพิษทางอากาศมากนัก

    - ส่วนใหญ่เกษตรกรไม่มีความเต็มใจจ่ายในรูปตัวเงินเพื่อจัดการตอซังฟางข้าวโดยปลอดการเผา เนื่องจากไม่มั่นใจว่า หากต้องจ่ายเงินเพื่อนำฟางข้าวไปใช้ประโยชน์แล้ว จะได้ผลตอบแทนกลับมาคุ้มทุนหรือไม่ สำหรับความเต็มใจในการรับค่าชดเชยเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การจัดการฟางข้าวโดยปลอดการเผา ส่วนใหญ่สะท้อนว่า อยากได้รับค่าชดเชยตามต้นทุนที่จะต้องมีการจ่ายไปสำหรับการนำฟางข้าวไปใช้ประโยชน์ 

    - ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการตอซังฟางข้าวของเกษตรกร ผลการศึกษาแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ได้รับอิทธิพลเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญจากเกษตรกรกลุ่มที่เลือกวิธีเผาฟางข้าวในทุกประเด็นย่อย และแตกต่างเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับวิธีการจัดการโดยไม่เผา ในขณะเดียวกัน การรับรู้ประโยชน์ของวิธีการจัดการฟางข้าวที่ใช้อยู่ ของกลุ่มเกษตรกรที่ใช้วิธีการเผาพบว่ามีความแตกต่างเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญในประเด็นด้านการประหยัดต้นทุน เมื่อเทียบกับกลุ่มเกษตรกรที่ใช้วิธีการไถกลบและวิธีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งในนาข้าว

    - การวิเคราะห์คุณสมบัติและธาตุอาหารในดินของแปลงเกษตรที่เผาและไม่เผาตอซังฟางข้าว พบว่า เถ้าหลังการเผาตอซังฟางข้าวมีค่าความเป็นด่างสูง ส่งผลให้ค่า pH และECe เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยปรับสภาพดินในนาที่ทั่วไปมีความเป็นกรดอยู่แล้ว ให้เป็นกรดลดลง การเผาไหม้อินทรีย์วัตถุ (ตอซังและฟางข้าว) ส่งผลให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชถูกปลดปล่อยออกมามากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเผาไหม้ทำให้ปริมาณอินทรีย์วัตถุ และคาร์บอนในดินลดลง

    - การสื่อสารทางเลือกและต้นทุน-ผลตอบแทนในการใช้ประโยชน์จากตอซังฟางข้าว และสื่อสารผลการวิเคราะห์คุณสมบัติและธาตุอาหารในดิน ดำเนินการด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สื่อสารผ่านแกนนำเกษตรกรและจัดทำ “คู่มือ ฟางข้าว...ทำอะไรได้บ้าง”

    - กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมวิธีการจัดการตอซังฟางข้าวแบบไม่เผาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและนิเวศวิทยา ที่จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรยั่งยืนมากขึ้น ประกอบด้วย3 ส่วนหลัก คือ ส่วนแรก การสื่อสารภายในตัวเกษตรกร หรือภายในกลุ่มเกษตรกร  ส่วนสอง การสื่อสารภายนอก เป็นการสื่อสารแบบสองทางและการสื่อสารที่มุ่งเน้นการสร้างเครือข่าย  ส่วนสาม กลไกรองรับ ได้แก่1) นโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสภาพอากาศ เทคโนโลยี และการลงทุนในการนำฟางข้าวมาใช้ประโยชน์ 2) กลยุทธ์การสื่อสาร คือ การวิเคราะห์เกษตรกร การปฏิบัติการสื่อสาร และ การติดตามตรวจสอบและการประเมิน

    - การถอดบทเรียน วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ และสังเคราะห์แนวทางการผลักดันเชิงนโยบายสำหรับการเป็นชุมชนเกษตรปลอดการเผาได้กลยุทธ์4 หลัก คือ1) กลยุทธ์เชิงรุก: ส่งเสริมเกษตรกรแนวหน้าเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) กลยุทธ์เชิงแก้ไข: ส่งเสริมความรู้และฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการวิธีการใช้ประโยชน์ฟางข้าวอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และคำนึงถึงข้อจำกัดของเกษตรกร 3) กลยุทธ์เชิงป้องกัน: ยกระดับการใช้ประโยชน์ฟางข้าวของกลุ่มเกษตรกรให้ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ  และ4) กลยุทธ์เชิงรับ: สร้างผลตอบแทนการใช้ประโยชน์ฟางข้าวให้ชัดเจนขึ้น และจัดการการเผาอย่างเป็นระบบ

     

    การนำไปใช้ประโยชน์

    - คู่มือและอินโฟกราฟิกการจัดการตอซังฟางข้าว ฉบับชาวบ้าน เพื่อเกษตรกรได้นำไปปรับใช้ในการทำการเกษตร และสื่อมวลชนใช้ในการเผยแพร่สู่สาธารณะ

    - หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ข้อมูลบทเรียนจากการดำเนินการ ปัจจัยความสำเร็จ และแนวทางการผลักดันเชิงนโยบายสำหรับการเป็นชุมชนเกษตรปลอดการเผา เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการสนับสนุนชุมชนเกษตรปลอดการเผาให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายต่อไป

     

    มีผลงานตีพิมพ์

    1. Sereenonchai, S.*; Arunrat, N. Farmers’ Perceptions, Insight Behavior and Communication Strategies for Rice Straw and Stubble Management in Thailand. Agronomy 2022, 12, 200. https://doi.org/10.3390/agronomy12010200

    2. Arunrat, N.; Sereenonchai, S.* Assessing Ecosystem Services of Rice–Fish Co-Culture and Rice Monoculture in Thailand.  Agronomy 2022, 12(5), 1241; https://doi.org/10.3390/agronomy12051241  

    3. หนังสือ สุกัญญา เสรีนนท์ชัย. คู่มือ ฟางข้าว...ทำอะไรได้บ้าง. บริษัท จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด. มีนาคม 2565.

     

    Abstract

    Behavioral insights of farmers and surrounded people to develop a zero-burn agricultural community consisted of 6 key results following the objectives: 1.According to documentary research and surveys in the study area, there were 8 methods of rice straw and stubble utilization namely: 1)mulching, 2)plowing along with growing legumes and jute crops, 3)composting, 4)using as animal feed, 5)mushroom growing, 6)compacting 7)rice straw products and 8)biomass to produce renewable energy. 2.According to the questionnaire surveys and in-depth interviews with farmers/local people, most of them were not exposed to high levels of air pollution because the time of burning rice straw and stubble was not a long time, burning occurred around the rice planting cycle. Moreover, people had a way to protect themselves from the burning smog. Most farmers were reluctant to pay in cash to manage rice straw and stubble without burning. For their willingness to accept compensation to manage the straw without burning, most of them would like to be compensated based on the costs they would have to pay for rice straw and stubble utilization. 3.The 3 theories of Theory of Planned Behavior, the Value-Belief-Norm and the Health Belief Model were integrated to analyze psychological factors influencing farmers’ adoption of rice straw and stubble management. A statistical analysis by cross-tab, stepwise multiple linear regression, one-way ANOVA and descriptive content analysis using QDA lite miner software were employed. The key results clearly showed that farmers adopting the burning method tended to have the lowest perception of PPN, PCU, PBC, PSB, PAR and PBU. In contrast, cost-saving together with rapid management seemed to be the key points for motivating farmers to retain their burning practice. Furthermore, farmers employing mixed methods significantly positively influenced on obtaining education on rice straw utilization from local authorities, income generation from their current options, income increasing from rice straw utilization, and the appropriateness for the available resources. This group of farmers should be supported as key change agents to convey their hands-on experience to motivate burning farmers to open their minds to other non-burning methods. 4.Based on soil data collection before and after the burning of rice straw and stubble, the overall results could be interpreted that ash helped to reduce the acidic of the soil. The combustion of organic matter resulted in the release of more nutrients that are beneficial to the plants. 5.Communicating alternatives, cost-returns in the rice straw and stubble utilization and the results of soil analysis under the participatory action research process through farmers' leaders and created a "Handbook of Rice Straw...What Can You Do", as a guideline for farmers' choice of rice straw utilization. 6.Communication strategy to promote rice straw utilization for achieving sustainable agriculture, key messages should highlight the clear steps of rice straw utilization, as well as the costs and benefits of each option in terms of economic, health, environmental and social perspectives. Moreover, messages designed to promote action knowledge and self-efficacy at the group level, to promote perceived responsibility via self-awareness and self-commitment, and convenient channels of communication to the farmers can help to achieve more effective non-burning rice straw and stubble management. 7.Development towards a zero-burn agricultural community consists of four strategies: 1)proactive: promote front-line farmers to be change agents; 2)corrective: promote knowledge and continuous training on systematic utilization of rice straw and concerning the limitations of farmers; 3)preventive: enhance rice straw utilization by farmers to be standardized and accepted; and 4)passive: create clearer returns on rice straw utilization and manage the incineration systematically.

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

     

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    ระดับชุมชน – เพื่อเป็นต้นแบบชุมชนเกษตรปลอดการเผาในระดับชุมชน เช่นในพื้นที่ศึกษา ตำบลตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท

    ระดับประเทศ – เพื่อผลักดันเชิงนโยบายสำหรับการเป็นชุมชนเกษตรปลอดการเผา ที่สามารถนำไปปรับใช้กับเกษตรกรทั้งประเทศต่อไป

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    2

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    11

    รูปหน้าปก 

    รูปหน้ารายละเอียด

    ตามไฟล์แนบ

    Key Message

    (ระบุประโยคสรุปเรื่องหรือใจความสำคัญของโครงการ/กิจกรรม ความยาว 3 บรรทัด เช่น “การแก้ปัญหาความแตกแยกร้าวลึกในสังคม ด้วยการสร้างพื้นที่ปลอดภัย สร้างความไว้วางใจ ชำระสิ่งค้างคาใจ และสร้างข้อตกลงใหม่ในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล”)

    เป็นโครงการเพื่อผลักดันเชิงนโยบายสำหรับการเป็นชุมชนเกษตรปลอดการเผา เพื่อให้การขับเคลื่อนชุมชนเกษตรปลอดการเผาเป็นรูปธรรมและยั่งยืนคู่วิถีเกษตรของสังคมไทย

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

    https://drive.google.com/drive/folders/1VCBppHpkOl0b806U7mLr51allWrmYGpD

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    เกษตรกร

    ภาคสื่อมวลชน

    หน่วยงานรัฐ ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอสรรพยา เทศบาลตำบลตลุก ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขต5 สถานีพัฒนาที่ดินชัยนาท ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอำเภอสรรพยา ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลตลุก กรมส่งเสริมการเกษตร กรมควบคุมมลพิษ 

    ภาควิชาการ

    องค์กรอิสระที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนชุมชนเกษตรปลอดการเผา

    ภาคธุรกิจที่รับอัดและจำหน่ายฟางอัดก้อน 

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    2.5.1, 2.5.2

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การประเมินความมั่นคงทางอาหารภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง

    Food security assessment based on land cover and land use change situation in Mae Chang watershed, Lampang province

    แหล่งทุน

    สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ

    ผู้ดำเนินการร่วม

    นางสาวดวงใจ สุริยาอรุณโรจน์ ที่ปรึกษาโครงการ

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ผู้ช่วยอาจารย์ศิรสิทธิ์ วงศ์วาสนา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    นายธีรวุฒิ ชิยานนท์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ดร.วารินทร์ บุญเรียม  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ดร.พิสุทธิ นาคหมื่นไวย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    คำอธิบาย

     

    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศวิเคราะห์สถานการณ์การใช้ที่ดินและผลผลิตทางการเกษตรของพืชเกษตรหลัก 3 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง เพื่อประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินที่มีต่อความมั่นคงทางอาหารในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    ลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำวัง มีสถานการณ์การขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรมและการลดลงของพื้นที่ป่าไม้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งลักษณะดังกล่าวอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำ ซึ่งอาจรวมถึงประเด็นของความมั่นคงทางอาหาร การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต การประเมินความถี่ของการเพาะปลูกรวมถึงผลผลิตทางการเกษตรของพืชเกษตรหลัก 3 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง การประเมินปริมาณน้ำท่า การชะล้างพังทลายของดิน การพัดพาตะกอนลงสู่ลำน้ำ และการสูญเสียธาตุอาหารหลัก การประเมินความเหมาะสมของการใช้ที่ดินของพืชเกษตรหลัก อันจะนำไปสู่การประเมินความมั่นคงทางอาหารภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินได้ต่อไป

    การดำเนินการ

    การวิจัย ประกอบด้วยขั้นตอนทั้งสิ้น 8 ขั้นตอน ดังนี้

    1) การประเมินสถานการณ์การใช้ที่ดินในปี พ.ศ. 2544, 2549, 2554, 2559 และ 2564 โดยใช้ข้อมูลดาวเทียม

    2) การประเมินรูปแบบการทำเกษตรกรรมของพืชเกษตรหลัก 3 ชนิด ในปี พ.ศ. 2544, 2549, 2554, 2559 และ 2564 ด้วยGoogle Earth Engine

    3) การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในอนาคต พ.ศ. 2569 และ 2574 ด้วยแบบจำลอง Land Change Modeler (LCM)

    4) การประเมินปริมาณน้ำท่ารายปีตามรูปแบบการใช้ที่ดินในปี พ.ศ. 2544, 2549, 2554, 2559 และ พ.ศ. 2564 และการใช้ที่ดินในอนาคต พ.ศ. 2569 และ 2574

    5) การประเมินการชะล้างพังทลายของดินด้วย USLE การพัดพาตะกอนลงสู่ลำน้ำ และการสูญเสียธาตุอาหารหลัก ด้วยInVEST

    6) การประเมินพื้นที่เหมาะสมของการใช้ที่ดินทางการเกษตรของพืชเกษตรหลัก 3 ชนิด ด้วย GIS

    7) การประเมินความมั่นคงทางอาหารภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเกษตรกรรมและผลผลิตของพืชเกษตรหลัก 3 ชนิด โดยใช้การสัมภาษณ์/สอบถามข้อมูลจากผู้กำหนดนโยบายในพื้นที่ศึกษา (Planners) ผู้มีประสบการณ์ทำงานในพื้นที่ศึกษา (Experienced professional) ผู้นำชุมชน (Community leader) และตัวแทนเกษตรกร (Farmer) ในพื้นที่ลุ่มน้ำ ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง

     

    ผลการดำเนินงาน

    1) ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำแม่จางจากปี พ.ศ. 2544 2549 2554 2559 และ 2564 พบว่าพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เหมืองแร่ และพื้นที่ชุมชนสิ่งปลูกสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันพื้นที่ป่าผลัดใบลดลง

    2) ความเข้มของการเพาะปลูกพืชพบว่าข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ส่วนใหญ่ปลูก 1 รอบต่อปี

    3) การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ปี พ.ศ. 2569 และ 2574 พบว่าการลดลงของพื้นที่ป่าผลัดใบและการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรมยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะไม้ยืนต้น

    4) ปริมาณน้ำท่ารายปีใน พ.ศ. 2544 2549 2554 2559 และ 2564 พบว่ามีปริมาณน้ำท่ารายปีเท่ากับ 542.98 1163.43 1632.46 168.98 และ 159.93 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี สำหรับปี พ.ศ 2569 และปี พ.ศ. 2574 มีปริมาณน้ำท่ารายปีเท่ากับ 442.46 และ 223.62 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

    5) การประเมินการชะล้างพังทลายของดิน การพัดพาตะกอนลงสู่ลำน้ำ และการสูญเสียธาตุอาหารหลัก

    5.1) การชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่เกิดการชะล้างพังทลายของดินในระดับน้อยมาก (very slight) มีพื้นที่เท่ากับ 930.96 ตารางกิโลเมตรหรือคิดเป็นร้อยละ 56.88 รองลงมาอยู่ในระดับน้อย (slight) มีพื้นที่เท่ากับ 300.65 ตารางกิโลเมตรหรือคิดเป็นร้อยละ 18.37 และระดับรุนแรง (severe) มีพื้นที่เท่ากับ 126.16 ตารางกิโลเมตรหรือคิดเป็นร้อยละ 7.71 ส่วนใหญ่พบในพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ที่มีความลาดชันมาก

    5.2) การวิเคราะห์หาผลผลิตตะกอนในปี พ.ศ. 2544 พบว่า มีปริมาณตะกอนเท่ากับ 153261.17 ตันต่อปี ปี พ.ศ. 2549 พบว่ามีปริมาณตะกอนเท่ากับ 211,734.36 ตันต่อปี ปี พ.ศ. 2554 พบว่ามีปริมาณตะกอนเท่ากับ 332,825.42 ตันต่อปี ปี พ.ศ. 2559 พบว่า มีปริมาณตะกอนเท่ากับ 186,739.15 ตันต่อปี และปี พ.ศ. 2564 พบว่า มีปริมาณตะกอนเท่ากับ 184,525.41 ตันต่อปี

    5.3) การพัดพาธาตุอาหารลงสู่ลำน้ำ พบว่า ลุ่มน้ำแม่จางมีการพัดพาไนโตรเจนโดยเฉลี่ย 54.22 ตัน/ปี และฟอสฟอรัสโดยเฉลี่ย 4.51 ตัน/ปี ลักษณะของการพัดพาจะสอดคล้องกับปัจจัยของการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรมมากกว่าปริมาณน้ำฝน

    6) การประเมินความเหมาะสมของการใช้ที่ดินทางการเกษตร พบว่า พื้นที่มีความเหมาะสมสำหรับปลูกพืชเกษตรกรรมที่เป็นพืชไร่ ข้าวโพด ไร่มันสำปะหลัง มากกว่าการปลูกนาข้าว

    7) ผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรส่วนใหญ่เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่สามารถเลี้ยงชีพและครอบครัวได้ ทำให้แนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลงไปทำเกษตรชนิดอื่น ทั้งนี้ ปัจจัยทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง และอาจจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วย ปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำท่าที่ลดลง ทำให้ควรมีการส่งเสริมให้สร้างแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร รวมถึงสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน ที่ควรมีการจัดการอย่างเหมาะสมเพื่อบรรเทาปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ป่าไม้

     

    การนำไปใช้ประโยชน์

    1) องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง 2) สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดลำปาง 3) สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 4) ตัวแทนผู้ใหญ่บ้าน (ในตำบลแม่เมาะ ตำบลแม่ทะ ตำบลน้ำโจ้) 5) วิสาหกิจชุมชน (วิสาหกิจชุมชนไทยวิจัยสิ่งแวดล้อม) 6) เกษตรกรในพื้นที่ มีแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่การเกษตรภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง อันนำไปสู่การผลิตอาหารอย่างมีเป้าหมาย และส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ในลุ่มน้ำแม่จางอย่างยั่งยืนต่อไป

     

    Abstract

    Mae Chang watershed located in Lampang Province is a subwatershed of the Wang watershed which mostly consists of forest areas and agricultural areas. According to the current land use status in Mae Chang watershed, agricultural areas has been expanded, but forest areas has been reduced continually. These situations may affect changes in the quality of the environment and the quality of life of the people in the watershed area, including food security. Therefore, the research objectives were to achieve assessment of the situation of land use change and forecasting future land use changes; assessment of cropping frequency as well as the crop yield of three major agricultural crops: rice, maize and cassava; assessment of annual water yield; assessment of soil erosion, sediment export, and nutrient export into the river; assessment of land use suitability of major agricultural crops; and assessment of food security under land use change situations. Land use changes in Mae Chang watershed from 2001, 2006, 2011, 2016 and 2021 found that agricultural areas, mining area, and urban and built-up areas expanded. At the same time, deciduous forest areas decreased. As for the land use change forecast for 2026 and 2031, it was found that the decline in deciduous forest areas and the expansion of agricultural areas continued to occur, especially perennial crops. Regarding the intensity of cropping, it was found that rice, maize, and cassava were cultivated one time per year. Annual water yield under land use in 2001, 2006, 2011, 2016 and 2021 found that the annual runoff was equal to 542.98 1163.43 1632.46 168.98 and 159.93 million cubic meters per year, respectively. As for the forecast of future land use changes in the year 2026 and the year 2031, the annual yield was 442.46 and 223.62 million cubic meters per year, respectively. As for the assessment of soil erosion in the Mae Chang watershed, it was found that most of the areas had very slight soil erosion with an area of 930.96 square kilometers or 56.88%, followed by slight level has an area of 300.65 square kilometers or 18.37% and severe level has an area of 126.16 square kilometers or 7.71%, mostly found in agricultural areas and areas with very steep slopes. As for the assessment of the agriculture land suitability, there are areas which are suitable for cultivating maize and cassava more than paddy fields. Most farmers' agricultural produce is sufficient for household consumption. This allows most farmers to earn a living and their families. Causing a tendency to not willing change their cropping. Physical factors can affect food security, including decreased rainfall and runoff, therefore, there should be encouragement to build water storage for use in agriculture. Moreover, economic and social effects also influence on food security, such as the right to own land, so there should be appropriate management to mitigate the problem of forest encroachment.

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ประเมินการใช้ที่ดินในอดีตถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2544, 2549, 2554, 2559 และ2564 และคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินอนาคต พ.ศ. 2569 และ 2574 เพื่อประเมินความมั่นคงทางอาหารและกำหนดแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่การเกษตรภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    หน่วยงานรัฐมีข้อมูลสถานการณ์และแนวโน้มการใช้ที่ดิน และมีแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่การเกษตรภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง อันนำไปสู่การผลิตอาหารอย่างมีเป้าหมาย และส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ในลุ่มน้ำแม่จางอย่างยั่งยืนต่อไป

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    2

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

     

    รูปหน้าปก (ที่จะโชว์หน้าเว็บ)

    รูปหน้ารายละเอียด

     

     

     

     

    Key Message

     

    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ประเมินและคาดการณ์แนวโน้มการใช้ที่ดิน โดยเฉพาะพืชเกษตรหลัก 3 ชนิด คือ ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ในช่วง พ.ศ. 2544 - 2574 ทำให้หน่วยงานรัฐมีข้อมูลและแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่การเกษตรภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในลุ่มน้ำแม่จาง จังหวัดลำปาง อันนำไปสู่การผลิตอาหารอย่างมีเป้าหมาย และส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ในลุ่มน้ำแม่จางอย่างยั่งยืนต่อไป

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    1) องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง

    2) สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดลำปาง

    3) สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

    4) ตัวแทนผู้ใหญ่บ้าน (ในตำบลแม่เมาะ ตำบลแม่ทะ ตำบลน้ำโจ้)

    5) วิสาหกิจชุมชน (วิสาหกิจชุมชนไทยวิจัยสิ่งแวดล้อม)

    6) เกษตรกรในพื้นที่

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    2.5.1

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การประเมินทางเลือกการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรณีศึกษา จังหวัดพิจิตร

    Alternative evaluation on land use management to cope with climate change: a case study in Phichit Province

    แหล่งทุน

    เงินรายได้มหาวิทยาลัยมหิดล

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รองศาสตราจารย์ ดร. นพพล อรุณรัตน์

    ผู้ดำเนินการร่วม

    -

    คำอธิบาย

    งานวิจัยนี้มุ่งเน้นค้นหารูปแบบการจัดการ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ค้นหาระบบการปลูกพืชที่มีประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ รวมถึงกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างขีดดวามสามารถในการปรับตัวและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    1) เพื่อค้นหารูปแบบระบบการปลูกพืชในพื้นที่ที่ไม่เหมะสมสำหรับปลูกข้าว

    2) เพื่อประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นต์ และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของระบบการปลูกพืช

    3) เพื่อประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อแนวทางการปรับตัวของเกษตรกร

    4) เพื่อเสนอแนะแนวทำงกำรปรับตัวที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน

    การดำเนินการ

    1) การค้นหารูปแบบระบบการปลูกพืชในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว โดย

    ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ 2) ประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นต์ และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของระบบการปลูกพืช โดยใช้หลักการของ Life cycle assessment of greenhouse gas emission (LCA-GHG) แบบCradle to gate เพื่อ

    ประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลตอบแทนของเกษตรกร เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 3) ประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อแนวทางการปรับตัวของเกษตรกร โดยใช้

    แบบจำลอง Environmental Policy Integrated Climate (EPIC) version 0810 เพื่อประเมินผลผลิตพืช และ ใช้โปรแกรมCROPWAT 8.0 เพื่อคำนวณวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ และ 4) เสนอแนะแนวทางการปรับตัวที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในจังหวัดพิจิตร

    ผลการดำเนินงาน

    การศึกษานี้แนะนำรูปแบบการปลูกข้าว 3 รอบ ในเขตพื้นที่ชลประทาน ใน

    ขณะเดียวกัน ในพื้นที่นอกเขตชลประทาน แนะนำให้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง หรือถั่วเขียวหลังจากการปลูกข้าวรอบที่หนึ่ง (ข้าวนาปี)

    อีกทางเลือกหนึ่ง คือ การเปลี่ยนจากการปลูกข้าวเป็นการปลูกมันสำปะหลัง หรือการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีละสองครั้ง เป็นทางเลือกที่ดีสาหรับเขตพื้นที่นอกเขตชลประทานเช่นกัน

    การนำไปใช้ประโยชน์

     

    มีผลงานตีพิมพ์

    1) Arunrat, N., Sereenonchai, S., Chaowiwat, W., Wang, C., Hatano, R. 2022.Carbon, Nitrogen and Water Footprints of Organic Rice and Conventional Rice Production over 4Years of Cultivation: A Case Study in the Lower North of Thailand. Agronomy, 12(2), 380.doi:10.3390/agronomy12020380

    2) Arunrat, N., Sereenonchai, S., Chaowiwat, W., Wang, C. 2022.Climate change impact on major crop yield and water footprint under CMIP6climate projections in repeated drought and flood areas in Thailand. Science of the Total Environment. 807, 150741.doi: 10.1016/j.scitotenv.2021.150741

    3) ผลิตนักศึกษาในโครงการ น.ส.ณฏวรรณ หวันวิเศษ (6337852 ENAT/M)

    ระดับปริญญา: วท.ม. (เทคโนโลยีที่เหมาะสม และ นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม)

    หัวข้อวิทยานิพนธ์: ASSESSMENT OF CARBON FOOTPRINT, WATER FOOTPRINT, COST AND RETURN OF ORGANIC RICE BASED ON CIRCULAR ECONOMY AND ORIGINAL ORGANIC RICE

     

    Abstract

    The objectives of this study are: 1)explore the suitable cropping system for unsuitable areas for rice cultivation using survey research; 2)evaluate carbon footprint, and cost and benefit of each cropping system using life cycle assessment of greenhouse gas emission (LCA-GHG) (Cradle to gate method); 3)assess the impact of climate change on farmers' adaptation approaches using a model Environmental Policy Integrated Climate (EPIC) version 0810 for estimating crop yields, and CROPWAT 8.0 for calculating water footprint; and 4)to propose the effective adaptation approaches to support decision-making in Phichit Province.

     

    Based on the field survey, there are 7 cropping systems that can cope with climate change: 1)planting rice three times per year (RRR); 2)planting rice two times per year (RR); 3)planting rice once a year and planting maize (RM); 4)planting rice once a year and planting soybeans (RS); 5)planting rice once a year and planting mung beans (RB); 6)Planting maize twice a year (MM) ;and 7)Planting cassava (CS). The carbon footprint intensity of organic rice was 0.34 kg CO2eq per kg of rice yield, which is less than conventional rice cultivation (carbon footprint intensity = 0.57 kg CO2eq per kg of rice yield). The total water footprint of conventional rice cultivation was 1,470.1 m3/ton, which was higher than organic rice (1,216.3 m3/ton). Under climate change scenarios, rice yields of RRR in irrigated area were expected to increase gradually in 3periods under SSP245, whereas they were predicted to slightly increase under SSP585.On the other hand, RR system was expected to decline in first rice (6.0-14.4 %)and second rice (7.4-17.7 %)under SSP585.Concerning planting maize, soybean and mung bean instead of the second rice, yields were predicted to have less impact under future climate change, especially mung bean. It was predicted that mung bean yield will increase slightly at all period under both the SSP245 and SSP585 scenarios. Moreover, switching from planting rice to be planting maize twice a year and cassava were expected that yields may not decline under future climate change. This study recommends an RRR cropping system in irrigated areas, while growing maize, soybean, or mung bean after the first rice crop is recommended for the rain-fed area. Alternatively, switching from growing rice to cassava or growing maize twice per year is a good option for the rain-fed area

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

    การค้นหาแนวทางในการทำการเกษตรที่ยั่งยืน ด้วยการประเมินประสิทธิภาพของ

    รูปแบบการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดิน ค้นหาระบบการปลูกพืชที่มีประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ รวมถึงกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการปรับตัวและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตจึงเป็นประเด็นที่จำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อสนับสนุนการลดพื้นที่การปลูกข้าวในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม และการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีการปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และมีผลตอบแทนที่เพียงพอจะทำให้เกษตรกรสามารถดำรงชีวิต

    และประกอบอาชีพการเกษตร สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน และมีความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ (ภัยแล้ง และน้ำท่วม)

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    ระดับชุมชน

    - ประโยชน์จากการค้นพบรูปแบบการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ จะช่วยลดพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสม และแนวทางในการส่งเสริมรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่

    - ประโยชน์จากการค้นพบแนวทางการปรับตัวในการลดผลกระทบต่อน้ำท่วมและภัยแล้ง จะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจและจูงใจเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภำพมำกยิ่งขึ้น

    ระดับประเทศ

    - ประโยชน์จากการค้นพบระบบการปลูกพืชที่มีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นต์น้อย และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจสูง เป็นการสร้างความสมดุลระหว่างการเพิ่มผลกำไรให้กับเกษตรกรและการรักษาระบบนิเวศโดย

    การลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน และผลจากประมาณการณ์ประสิทธิภาพของระบบการปลูกพืชทางเลือกในอนาคต ช่วยในการกำหนดวางแผนในอนาคต เช่น แนวทางลดการใช้ทรัพยากรหรือวัตถุดิบ ลดกำรใช้พลังงานในการผลิต ลดการปลดปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม และพัฒนำกลไกกำรผลิตที่สะอาด เป็นต้น

    - เป็นต้นแบบการเรียนรู้การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น และการพัฒนากลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการปรับตัวและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตสู่พื้นที่อื่นๆ

     

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    13

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    2, 15

    รูปหน้าปก

    รูปหน้ารายละเอียด

     

    Key Message

    การค้นหาแนวทางการทำการเกษตรที่ยั่งยืน และสนับสนุนการลดพื้นที่การปลูกข้าวในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมด้วยการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจการเกษตรและรักษาสิ่งแวดล้อม

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

    -

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    กรมพัฒนาที่ดิน

    กรมส่งเสริมการเกษตร

    กลุ่มเกษตรกร อ.สามง่าม อ.ตะพานหิน อ.วังทรายพูน อ.โพธิ์ประทับช้าง อ.บึงนาราง อ.ดงเจริญ และ อ.ทับคล้อ

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    13.3.3, 2.5.1, 2.5.2

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.