• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
โครงการอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยโปรแกรม R เพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

โครงการอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยโปรแกรม R เพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

(Spatial Data Analysis with R Program for Environmental Science)

วันที่ ๒๕ – ๒๖  กรกฎาคม ๒๕๖๗

ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ GIS อาคารสารสนเทศผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

*****************************************************************************

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันงานวิจัยถูกวิเคราะห์ด้วยวิธีการที่หลากหลายมากขึ้นกว่าในอดีต ทั้งข้อมูลในเชิงพรรณา เชิงปริมาณ เชิงเวลา และที่สำคัญในยุคที่มีการนำระบบภูมิสารสนเทศเข้ามาร่วมด้วย ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Geospatial data) จึงมีบทบาทที่สำคัญในงานวิจัย ซึ่งรวมไปถึงงานทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ที่มีความผันแปรทั้งในเชิงพื้นที่และเวลา การจัดการกับข้อมูลดังกล่าวจึงต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานของข้อมูล และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นอย่างดี นอกจากนั้นหากมีการประยุกต์การวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพื้นที่ที่เป็นมาตรฐานร่วมด้วย ผลงานวิชาการนั้นๆจะมีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพเพียงพอสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งช่วยในการพัฒนาคุณภาพของนักวิจัยทั้งระดับบุคคลและระดับองค์กร ด้วยเหตุผลข้างต้นความรู้ความเข้าใจในข้อมูลเชิงพื้นที่จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการประยุกต์ใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมทั้งในปัจจุบันและอนาคต

การอบรมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยโปรแกรม R เพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เป็นโครงการอบรมระยะสั้นที่มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยโปรแกรม R เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์โครงการอบรมนี้ครอบคลุมเนื้อหาที่สำคัญดังต่อไปนี้ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ การใช้งานโปรแกรม R ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้โปรแกรม R ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โครงการอบรมนี้เหมาะสำหรับผู้สนใจในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ที่ต้องการเพิ่มทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรม R โครงการอบรมนี้จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถเข้าใจหลักการพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่โดยการใช้งานโปรแกรม R ได้อย่างคล่องแคล่ว ประยุกต์ใช้โปรแกรม R ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เนื้อหาของโครงการอบรมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้

ส่วนแรก จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ โดยจะครอบคลุมเนื้อหาดังนี้

  • พื้นฐานภูมิสารสนเทศศาสตร์ (Basic Geoinformatics)
  • ระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Coordinate Reference System (CRS) and EPSG Code )
  • ประเภทของข้อมูลเชิงพื้นที่และแหล่งที่มา (Geospatial data types and sources)
  • พื้นฐานการใช้โปรแกรม QGIS เพื่อการเตรียมข้อมูลเบื้องต้น

ส่วนที่สอง จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับโปรแกรม R โดยจะครอบคลุมเนื้อหาดังนี้

  • การติดตั้งโปรแกรม R การใช้งานพื้นฐานของโปรแกรม R
  • ฟังก์ชันและคำสั่งในโปรแกรม R ที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
  • การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่และการจัดการกับข้อมูล
  • การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในโปรแกรม R ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (กรณีศึกษา)

โครงการอบรมนี้จะมีระยะเวลาอบรม 2 วัน ในแต่ละวันจะมีระยะเวลาอบรมประมาณ 6 ชั่วโมงผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการอบรมได้โดยการลงทะเบียนออนไลน์ที่เว็บไซต์ของหน่วยงานที่จัดการอบรม ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงเปิดการฝึกอบรม หลักสูตร การพัฒนาศักยภาพการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยโประแกรม R เพื่อประยุกต์ใช้ในงานสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (Spatial Data Analysis with R Program for Environmental Science) เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงพื้นที่ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การจัดการข้อมูล การสร้างภาพเพื่อนำเสนอข้อมูล การประยุกต์ใช้สถิติเพื่องานวิจัย รวมถึงเทคนิคและวิธีเขียนผลการศึกษาเพื่อการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ด้านการวิเคราะห์งานวิจัยที่มีคุณภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่ได้มาตรฐานระดับสากล

สิ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับ

๑. เข้าใจพื้นฐานของข้อมูลเชิงพื้นที่ และสามารถแสดงผลเป็นแผนที่และกราฟได้

๒. สามารถประยุกต์ใช้สถิติเชิงพื้นที่เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๓. สามารถใช้โปรแกรมจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล (โปรแกรม R และ QGIS) ได้ในระดับเบื้องต้น


 

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

ผู้ที่มีพื้นฐานการจัดการข้อมูลเบื้องต้น และต้องการเรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนผู้ที่มีภารกิจรับผิดชอบในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าไม้และสัตว์ป่า รวมไปถึงผู้ที่มีความสนใจในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพื้นที่ผ่านโปรแกรม R ในระดับเบื้องต้น

วิธีการฝึกอบรม

การบรรยาย

- พื้นฐานภูมิสารสนเทศศาสตร์และการประยุกต์ใช้ในงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

- ระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์

- ประเภทของข้อมูลเชิงพื้นที่และแหล่งที่มา

- แนะนำการใช้งานโปรแกรม R เพื่องานสิ่งแวดล้อม

- พื้นฐานการจัดการข้อมูลวิจัยเชิงพื้นที่

- การแสดงผล แผนที่ และกราฟประเภทต่างๆ

การปฏิบัติ

- พื้นฐานการใช้โปรแกรม QGIS เพื่อการเตรียมข้อมูลเบื้องต้น

- การจัดการข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (การใช้งานแพ็คเกจต่างๆ)

- วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการประยุกต์สถิติเชิงพื้นที่ผ่านโปรแกรม R

- การแสดงภาพกราฟและแผนที่ในงานวิจัยเบื้องต้นผ่านโปรแกรม R

- การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในโปรแกรม R ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (กรณีศึกษา)

ซอฟแวร์ที่ใช้    Microsoft Excel, QGIS และ R Gui + R Studio

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐานได้ดี

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม

ผู้เข้ารับการฝึกอบรม   ๒๐ คน

สถานที่ดำเนินการ

ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ GIS อาคารสารสนเทศผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ระยะเวลาดำเนินการ

จำนวน ๒ วัน วันที่ ๒๕ – ๒๖  กรกฎาคม ๒๕๖๗ 

อัตราค่าลงทะเบียน

          ๓,๕๐๐ บาท / คน

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

๑.   ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร

       คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                 ห้อง ๓๓๐๒ อาคารสารสนเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน (อาคาร ๓)

                 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                 ๙๙๙ ถนนพุทธมณฑล สาย ๔  ตำบลศาลายา  อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐

                 โทรศัพท์ ๐๒-๔๔๑-๕๐๐๐ ต่อ ๓๓๔๔ โทรสาร ๐๒-๔๔๑-๙๕๑๐

                 อีเมล girenoffice@gmail.com 

๒.   ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

       ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล

                 ห้อง ๓๓๐๓ อาคารสารสนเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน (อาคาร ๓)

                 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                 ๙๙๙ ถนนพุทธมณฑล สาย ๔  ตำบลศาลายา  อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐

                 โทรศัพท์ ๐๒-๔๔๑-๕๐๐๐ ต่อ ๓๓๔๔ โทรสาร ๐๒-๔๔๑-๙๕๑๐

                 อีเมล gistmu@mahidol.ac.th

                 เว็บไซต์: http://gistmu.mahidol.ac.th

กำหนดการอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยโปรแกรม R เพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

(Spatial Data Analysis with R Program for Environmental Science)

วันที่ ๒๕ – ๒๖  กรกฎาคม ๒๕๖๗

ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ GIS อาคารสารสนเทศผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

*****************************************************************************

วันพฤหัสที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗

 

เวลา

กิจกรรม

วิทยากร

๐๘.๐๐ - ๐๘:๓๐ น.

ลงทะเบียน (ทำแบบทดสอบก่อนเรียน)

๐๘:๓๐ - ๐๙:๐๐ น.

พิธีเปิด

คณบดี

๐๙:๐๐ - ๐๙:๔๕ น.

บรรยาย: พื้นฐานภูมิสารสนเทศศาสตร์ (Basic Geoinformatics)

-          เทคโนโลยีการสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote sensing)

-          ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System)

-          ระบบนำทางด้วยดาวเทียม (Global Navigation Satellite System)

อาจารย์พิสุทธิ นาคหมื่นไวย
และคณะ

๐๙:๔๕ ๑๐:๑๕

บรรยาย: ระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Coordinate Reference System (CRS) and EPSG Code)

-          Geographic CRS

-          Projected CRS

-          CRS Data transformation

อาจารย์พิสุทธิ นาคหมื่นไวย
และคณะ

๑๐:๑๕ ๑๐.๓๐ น.

พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๓๐- ๑๑:๐๐ น.

บรรยาย: ประเภทของข้อมูลเชิงพื้นที่และแหล่งที่มา (Geospatial data types and sources)

-          แบบจำลองข้อมูลเวคเตอร์ (Vector data model)

-          แบบจำลองข้อมูลแรสเตอร์ (Raster data model)

-          แหล่งที่มาของข้อมูล

อาจารย์พิสุทธิ นาคหมื่นไวย
และคณะ

๑๑:๐๐ - ๑๒:๐๐ น.

ปฏิบัติการ: พื้นฐานการใช้โปรแกรม QGIS เพื่อการเตรียมข้อมูลเบื้องต้น

-          การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่
(Import geospatial data)

-          เทคนิคการซ้อนทับข้อมูล
(Basic spatial overlay analysis)

อาจารย์พิสุทธิ นาคหมื่นไวย
และคณะ

๑๒:๐๐ - ๑๓:๐๐ น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

  ๑๓:๐๐ - ๑๔:๐๐ น.

บรรยาย:  แนะนำการใช้งานโปรแกรม R เพื่องานสิ่งแวดล้อม และการจัดการกับข้อมูลเชิงพื้นที่

ผู้ช่วยอาจารย์อันดามัน จันทร์ขาว และคณะ

 ๑๔:๐๐ - ๑๔:๑๕ น.

พักรับประทานอาหารว่าง

๑๔:๑๕ น.- ๑๖:๐๐ น.

ปฏิบัติการ:  การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่และการจัดการกับข้อมูล ด้วยโปรแกรม R

-          การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ (Import data)

-          การจัดการกับข้อมูลเชิงพื้นที่แต่ละประเภท (point, polyline, polygon, และ raster)

-           การคำนวณข้อมูลเชิงพื้นที่ขั้นพื้นฐาน

ผู้ช่วยอาจารย์อันดามัน จันทร์ขาว และคณะ

 

วันศุกร์ที่ ๒๖  กรกฎาคม ๒๕๖๗

 

เวลา

กิจกรรม

วิทยากร

๐๙.๐๐ - ๐๙:๑๕ น.

ลงทะเบียน

๐๙:๑๕ - ๑๐:๓๐ น.

ปฏิบัติการ: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในโปรแกรม R ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

-           Spatio-temporal Particulate Matter 2.5 (PM2.5) with Inverse Distance Weighting interpolation

ผู้ช่วยอาจารย์อันดามัน จันทร์ขาว และคณะ

๑๐:๓๐ ๑๐.๔๕ น.

พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๔๕- ๑๒:๐๐ น.

ปฏิบัติการ: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในโปรแกรม R ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

-          Species Distribution Pattern with
K-function (Random, Clustered, Uniform)

ผู้ช่วยอาจารย์อันดามัน จันทร์ขาว และคณะ

๑๒:๐๐ - ๑๓:๐๐ น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

  ๑๓:๐๐ - ๑๔:๓๐ น.

ปฏิบัติการ: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในโปรแกรม R ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์:

-          Species Distribution Model with present and absent data

ผู้ช่วยอาจารย์อันดามัน จันทร์ขาว และคณะ

 ๑๔:๓๐ - ๑๔:๔๕ น.

พักรับประทานอาหารว่าง

๑๔:๔๕ น.- ๑๖:๐๐ น.

ปฏิบัติการ: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในโปรแกรม R ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

-          Forest area classification with Random Forest etc.

ผู้ช่วยอาจารย์อันดามัน จันทร์ขาว และคณะ

๑๖:๐๐ น.- ๑๖:๓๐ น.

แบบทดสอบหลังอบรมและแบบประเมินความพึงพอใจ

หมายเหตุ:

*กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


  

 


ความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety and Biosecurity)

📣 ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมอบรม "ความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety and Biosecurity)"
🕙ระหว่างวันที่ 1-2 สิงหาคม 2567
ณ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรนี้ได้รับรองหลักสูตรจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เลขที่ทะเบียน สธ 0621.06/2102
➡️ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://rasen.mahidol.ac.th/

โครงการ Net Zero School

โครงการ Net Zero School

 

  1. หลักการและเหตุผล

              ปัจจุบันทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ปัจจัยหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งประเทศไทยได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะการเกิดภาวะโลกร้อน และปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน (Global Warming) เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ สาเหตุมาจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การคมนาคม เศรษฐกิจ การใช้พลังงานรูปแบบต่างๆ ที่สูงขึ้น รวมทั้งการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ สำหรับประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 21 ของโลก ในปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 354 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และคาดว่าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดเท่ากับ 368 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี พ.ศ. 2568 (องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก) และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากการใช้พลังงาน ในปี พ.ศ. 2565 พบว่าประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 247 ล้านตัน (สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน) ทั้งนี้ ผลการประเมินขององค์กร CAT (Climate Action Tracker) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือขององค์กรวิจัยนานาชาติ เพื่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ยังพบว่าประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศซึ่งทำให้อุณหภูมิโลกสูงถึง 4 องศาเซลเซียส และประเทศไทยยังถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลกที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติทางภูมิอากาศอีกด้วย

              คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมและพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมนุษย์ จึงได้จัดให้มีโครงการ Net Zero School โดยเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจผ่านกิจกรรมง่ายๆ ที่นักเรียนในโรงเรียนสามารถช่วยกันปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) หรือการไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเลย โดยคำนึงถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต ซึ่งมีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ โดยเฉพาะการฝึกฝนทักษะให้นักเรียนได้รู้จักคิดวิเคราะห์หาเหตุผล รูปแบบกิจกรรมจะเน้นการปฏิบัติ และฝึกฝนทักษะการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ให้มีการจัดกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โดยให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าว ทั้งนี้ จะมีบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมกำหนดกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในโรงเรียน หรือ Net Zero School โดยมีเป้าหมายในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และเจตคติที่ดีและถูกต้องเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตลอดจนเพื่อสร้างเครือข่ายและแกนนำของเยาวชนในการสื่อสารไปสู่ครอบครัว และชุมชนท้องถิ่นให้ร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อไป

 

 

  1. วัตถุประสงค์
    • เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในโรงเรียน
    • เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสำนึกในการร่วมกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน
    • เพื่อให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และพัฒนาโรงเรียนของตนเองผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย รวมทั้งการสร้างแกนนำในการร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน

 

  1. 3. คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ

เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6

 

  1. 4. รูปแบบการจัดการกิจกรรม

         แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม โดยดำเนินการทำกิจกรรม ดังนี้

 

          กิจกรรมที่ 1 การจัดการขยะอย่างยั่งยืน

  • รวบรวมขยะทุกประเภทภายในโรงเรียน
  • ฝึกการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ
  • เรียนรู้เรื่องการจัดการขยะตามหลัก 3Rs (Reuse, Reduce, Recycle)
  • วิธีการคำนวณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการคัดแยกขยะ
  • ฝึกคิดค้นนวัตกรรมและใช้ประโยชน์จากขยะ มุ่งสู่ Zero Waste โดยยึดหลัก Circular Economy

                   อุปกรณ์ที่ใช้ – ตาชั่ง ถุงดำ เชือก กระดาษ ดินสอ/ปากกา เครื่องย่อยขยะ

 

          กิจกรรมที่ 2 การจัดการน้ำเสีย

  • สำรวจจุดปล่อยน้ำเสียของโรงเรียน
  • การวิเคราะห์คุณสมบัติพื้นฐานของน้ำเสีย
  • การเก็บตัวอย่างน้ำเสีย
  • การวิเคราะห์คุณภาพน้ำเสียเบื้องต้น
  • วิธีการคำนวณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการน้ำเสีย
  • ร่วมกันคิดหาแนวทางการจัดการน้ำเสียในโรงเรียน

เช่น การทำถังกรองสำหรับดักไขมัน การกรอง/ดักเศษอาหารหรือขยะ

                   อุปกรณ์ที่ใช้ – กระดาษ ดินสอ/ปากกา กระบอกเก็บน้ำ เครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH meter) เครื่องวัดออกซิเจนในน้ำ (DO) การวิเคราะห์ค่า BOD ตะแกรง ชุดกรอง มีด/กรรไกร

          กิจกรรมที่ 3 การประหยัดพลังงาน

  • การสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าในโรงเรียน
  • มาตรการประหยัดพลังงานในโรงเรียน
  • วิธีการคำนวณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ไฟฟ้า
  • การศึกษาแนวทางการใช้พลังงานทดแทน
  • แนวคิด/นวัตกรรมในการประหยัดพลังงาน
  • ฝึกการต่อวงจรแผง Solar cell ผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เอง

                    อุปกรณ์ที่ใช้ – ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของโรงเรียน กระดาษ ดินสอ/ปากกา แผง Solar cell ขนาดเล็ก แบตเตอรี่ หลอดไฟ

 

          กิจกรรมที่ 4 การปลูกต้นไม้และการกับเก็บคาร์บอน

  • การวัดต้นไม้ทุกชนิดในโรงเรียน
  • การคำนวณการกักเก็บคาร์บอนในต้นไม้
  • การเก็บดิน และคำนวณคาร์บอนในดิน
  • การประเมินคุณสมบัติของดินเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวและผลิดอาหารปลอดภัยในโรงเรียน
  • หาพื้นที่พัฒนา pocket park ในโรงเรียน
  • วิธีการทำปุ๋ยหมัก การปลูกผักอินทรีย์ และการทำแปลงผักในโรงเรียน

อุปกรณ์ที่ใช้ – ชุดตรวจวิเคราะห์ดิน (Soil Test Kit) สายวัด/ตลับเมตร สารจุลินทรีย์หรือสารเร่ง พด. ต่างๆ เมล็ดพันธุ์ปลูกผัก อิฐบล็อก จอบ เสียบ ส้อมพรวนดิน ช้อนปลูก บัวรดน้ำ โดรน (Drone) ชุดตรวจวัดระดับฝุ่น PM2.5

         

          กิจกรรมที่ 5 การจัดตั้งธนาคารขยะ

  • แนวทางการจัดตั้งธนาคารขยะ และวิธีดำเนินการ
  • รับฟังและแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากสถานที่ที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการธนาคารขยะ เช่น หมู่บ้านเอื้ออาทร ศาลายา นครปฐม
  • บทบาทสมมติ (Role Play) กระบวนการจัดตั้งธนาคารขยะของโรงเรียน
  • จัดตั้งธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) platform ของโรงเรียน

                    อุปกรณ์ที่ใช้ – กระดานฟลิปชาร์ทพร้อมกระดาษ ปากกาเคมี

 

  1. องค์กรจัดงาน

              คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

  1. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    • นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในโรงเรียนได้
    • นักเรียนมีจิตสำนึกในการร่วมกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน
    • นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และพัฒนาโรงเรียนของตนเองผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย รวมทั้งมีแกนนำในการร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนได้

 

  1. การประเมินผลสำเร็จโครงการ
  • Pre-Post Test เพื่อประเมินความรู้และความเข้าใจของนักเรียนทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission)
  • แบบประเมินผลรายกิจกรรม (ประเมินทุกกิจกรรม)
  • แบบประเมินผลการจัดโครงการโดยภาพรวม

 


ENRIC 2024: Net Zero

Join Us at ENRIC 2024: Net Zero Now! 🌿
The Faculty of Environment and Resource Studies at Mahidol University extends a warm invitation to you for the 5th Environment and Natural Resources International Conference (ENRIC 2024), happening on November 14-15, 2024.

🌟 Exclusive Opportunity! The best papers from ENRIC 2024 stand a chance to be featured in the Environment and Natural Resource Journal (EnNRJ), indexed by Scopus (CiteScore 2022=1.7; SJR 2022=0.25). EnNRJ holds a distinguished Quartile 3 rank in the sub-category of Environmental Science (miscellaneous). 📊

👩💻 How to Submit: Visit our ENRIC website at https://en.mahidol.ac.th/enric for more details.

📞 Need More Info? For further details, reach out to our conference organizing team:
📧 Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
📱 Phone: +66 2441 5000 ext. 2203

Join us in making a difference—let's pave the way for a sustainable and Net Zero future at ENRIC 2024! 🌱🌐 #ENRIC2024 #NetZeroNow #sustainablefuture


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.