• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Communicating Adaptation and Participation for Coastal Management: A Case Study in Chumphon

Project Title: Communicating Adaptation and Participation for Coastal Management: A Case Study in Chumphon

Research Title: Fishers’ Decisions to Adopt Adaptation Strategies and Expectations for Their Children to Pursue the Same Profession in Chumphon Province, Thailand Researcher(s): Sukanya Sereenonchai and Noppol Arunrat Affiliation: Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University

 

Research Details (In Brief): Coastal communities and small-scale fisheries are highly vulnerable to climate change. In this study, we aimed to examine fishers’ decisions to adapt to climate change and their expectations for their children to pursue the same profession. Data were obtained from fisher households covering 8 districts and 22 sub-districts in the coastal area of Chumphon Province, Thailand, using participatory observation, focus group discussion, and in-person field surveys. A binary logistic regression model was used to determine factors influencing the fishers’ decisions and their expectations for their children to inherit their occupation. Results showed that the fishers are aware of the increasing trends in air temperature, sea water temperature, inland precipitation, offshore precipitation, and storms. Increased fishing experience and fishing income increased the likelihood of the fishers applying adaptations to climate change. Looking to the future, fishers with high fishing incomes expect their children to pursue the occupation, whereas increased fishing experience, non-fishing incomes, and perceptions of storms likely discourage them from expecting their children to be fishers. Of the fishers interviewed, 58.06% decided to apply adaptations in response to climate change by incorporating climate-smart agriculture, particularly by cultivating rubber, oil palm, and orchards as a second income source. The adoption of climate-smart fisheries should be considered in relation to the body of local knowledge, as well as the needs and priorities of the fisher community. To cope with the impacts of current and future climate change on coastal communities, the national focal point of adaptation should be climate change, and related governmental agencies should pay more attention to these key factors for adaptation.

Publishing: Climate
Key Contact Person: Dr. Sukanya Sereenonchai, Tel: 024415000 ext. 1324, E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ชื่อโครงการวิจัย: การสื่อสารเพื่อการปรับตัวและการมีส่วนร่วมในการจัดการชายฝั่ง กรณีศึกษา จ.ชุมพร

ชื่อผลงานวิจัย: การตัดสินใจของชาวประมงในการเปิดรับกลยุทธ์การปรับตัวและความคาดหวังให้ทายาทสืบทอดอาชีพประมงในจังหวัดชุมพร

ชื่อผู้วิจัย: สุกัญญา เสรีนนท์ชัย และ นพพล อรุณรัตน์
ส่วนงาน: คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายละเอียดผลงานวิจัย (โดยย่อ): ชุมชนชายฝั่งและชาวประมงพื้นบ้านมีความเสี่ยงสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการตัดสินใจของชาวประมงในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความคาดหวังของชาวประมงที่จะให้ทายาทสืบทอดอาชีพของตน เก็บรวบรวมข้อมูลจากชุมชนประมงใน 8 อำเภอ 22 ตำบล ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดชุมพร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม และการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ผลการศึกษาด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคทวิ เพื่ออธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจและความคาดหวังของชาวประมงที่มีต่อลูกหลานในการสืบทอดอาชีพประมง ผลการศึกษาพบว่า ชาวประมงตระหนักถึงแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในอากาศ อุณหภูมิน้ำทะเล การตกของฝนบนบก การตกของฝนในทะเล และพายุ ประสบการณ์การทำประมงที่เพิ่มขึ้นและรายได้จากการทำประมงที่เพิ่มขึ้น เพิ่มโอกาสในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของชาวประมง ในอนาคต ชาวประมงที่มีรายได้สูงจะคาดหวังให้ลูกหลานของตนสืบทอดอาชีพประมง ทว่า การเพิ่มขึ้นของประสบการณ์การทำประมง รายได้จากอาชีพอื่นนอกจากการทำประมง และการรับรู้เกี่ยวกับพายุ ส่งผลต่อการไม่สนับสนุนให้ลูกหลานของตนสืบทอดอาชีพประมง จากการสัมภาษณ์ พบว่า ชาวประมง 58.06% ตัดสินใจที่จะปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยการผสมผสานการทำเกษตรที่รู้เท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะการปลูกยาง ปาล์มน้ำมันและสวนผลไม้ เพื่อสร้างรายได้เสริม การทำประมงอย่างรู้เท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศควบคู่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของชุมชนประมง เป็นแนวทางการปรับตัวที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐที่เป็นศูนย์กลางด้านการปรับตัวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวดังกล่าว

การเผยแพร่ผลงาน: เผยแพร่ในวารสาร Climate
การติดต่อ: อ.ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย โทร. 024415000 ต่อ 1324 อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

[Module-731]


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.