• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานด้วยโปรแกรม QGIS

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานด้วยโปรแกรม QGIS

โครงการบริการวิชาการ

หลักสูตร "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานด้วยโปรแกรม QGIS"

ระหว่างวันที่ 23 - 24 พฤษภาคม 2567

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ GIS อาคารสารสนเทศผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

***********************************************************

ลิงก์ลงทะเบียน https://forms.gle/2DuidvjYJG6eD2S8A

***********************************************************

หลักการและเหตุผล

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้นำเข้า ปรับปรุง แก้ไข วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการตัดสินใจและวิเคราะห์ปัญหาในเชิงพื้นที่ ประกอบกับปัจจุบันระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย เช่น การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ การวางผังเมือง และการจัดการสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้าและประปา เป็นต้น ดังนั้น การเข้าใจกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการนี้ งานสารสนเทศ ร่วมกับศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดโครงการบริการวิชาการ หลักสูตร "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานด้วยโปรแกรม QGIS" ระหว่างวันที่ 23 – 24 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ GIS อาคารสารสนเทศผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาทักษะเดิม (Upskill) และสร้างทักษะใหม่ (Newskill) ให้แก่นักศึกษา บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนผู้สนใจ สำหรับใช้ในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภูมิสารสนเทศ

เนื้อหาภายในหลักสูตรจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เข้าใจวิธีการสร้าง การจัดการข้อมูล เข้าใจการเชื่อมโยงระหว่างระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กับการรับรู้จากระยะไกล และระบบดาวเทียม GNSS ตลอดจนการใช้ประโยชน์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในด้านต่าง ๆ รวมทั้งฝึกปฏิบัติการใช้งานโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แบบรหัสเปิด (Open source GIS software) ที่มีความทันสมัย เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้ในระดับสูงต่อไป

สิ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับ

  1. เข้าใจหลักการพื้นฐานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  2. เข้าใจกระบวนการทำงาน วิธีการ และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  3. เข้าใจความสัมพันธ์และความเชื่อมโยง ตลอดจนประโยชน์ของเทคโนโลยีภูมิสารเทศ (GIS RS และ GNSS)
  4. สามารถใช้งานโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ QGIS เพื่อสร้าง ปรับปรุง แก้ไข จัดการ วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ผ่านแผนที่ได้

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม: สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐานได้ดี

ระยะเวลาดำเนินการ: 2 วัน ระหว่างวันที่ 23 - 24 พฤษภาคม 2567

สถานที่ดำเนินการ: ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ GIS
อาคารสารสนเทศผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อัตราค่าลงทะเบียน: 3,500 บาท /คน

 

กำหนดการ

วันที่ 23 พฤษภาคม 2567

9:00-10:30 น.

การแนะนำโปรแกรม QGIS และภูมิสารสนเทศ

-          GUI ของโปรแกรม QGIS

-          การตั้งค่าการทำงาน

-          แหล่งข้อมูลภูมิสารสนเทศ

-          การแสดงข้อมูลภูมิสารสนเทศในโปรแกรม QGIS

10:30-10:45 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

10:45-12:00 น.

การจำแนกข้อมูลสำหรับแสดงแผนที่

-          การกำหนดสัญลักษณ์ข้อมูล

-          การจำแนกข้อมูลในตารางข้อมูล

12:00-13:00 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

13:00-14:45 น.

การกรองและสืบค้นข้อมูล

-          การเชื่อมโยงตารางข้อมูล

-          การสืบค้นข้อมูลลักษณะประจำ

-          การสืบค้นข้อมูลเชิงพื้นที่

-          การกรองข้อมูลตามเงื่อนไขที่กำหนด

14:45-15:00 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

15:00-15:50น.

การนำเข้าและแก้ไขข้อมูล

-          การนำเข้าข้อมูลจากตารางข้อมูล

-          การนำเข้าข้อมูลจากการดิจิไทซ์

-          การคำนวณข้อมูลในตารางข้อมูล

15:50-16:00 น.

ตอบข้อซักถาม

 

 

วันที่ 23 พฤษภาคม 2567

9:00-10:30 น.

การวิเคราะห์ข้อมูลเวกเตอร์

-          การสร้างแนวกันชน (Buffer)

-          การวางซ้อน (Overlay)

-          การสร้างแผนที่ความร้อน (Heatmap)

10:30-10:45 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

10:45-12:00 น.

การสร้างแบบจำลองด้วย Graphical Modeler

-          การกำหนดข้อมูลนำเข้าในแบบจำลอง

-          การกำหนดชุดคำสั่งในแบบจำลอง

12:00-13:00 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

13:00-14:45 น.

การจัดทำแผนที่

-          การตั้งค่า Layout

-          การเพิ่มและกำหนดคุณสมบัติขององค์ประกอบแผนที่

-          การส่งออกแผนที่

14:45-15:00 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

15:00-15:50 น.

การฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์และจัดทำแผนที่

15:50-16:00 น.

ตอบข้อซักถาม

หมายเหตุ: กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


ผู้ประสานงาน

ปฐมพต  ฉินสวัสดิ์พันธุ์ 

เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม

สำนักวิทยบริการด้านสิ่งแวดล้อม

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทรศัพท์ 02-441-5000 ต่อ 2226 โทรศัพท์มือถือ 098-6654331

 


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.