การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการกำเนิดไฟฟ้าเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืน
Research and development of innovation electricity generation for sustainable alternative energy
แหล่งทุน
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
ส่วนงานหลัก
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ส่วนงานร่วม
ผู้ดำเนินการหลัก
อ.ดร.นรินทร์ บุญตานนท์
ผู้ดำเนินการรอง
คำอธิบาย
การพัฒนานวัตกรรมเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารูปแบบใหม่ ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น โดยปรับเปลี่ยนกลไกการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเดิม และนำเครื่องต้นแบบไปทดสอบการใช้งานจริงกับต้นกำเนิดพลังงานต่างๆ เพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนาให้ได้เครื่องที่สมบูรณ์ มีความพร้อมในการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ สามารถประยุกต์ใช้เพื่อให้การผลิตไฟฟ้า และการอนุรักษ์พลังงาน
เนื้อหา MU-SDGs Case Study
ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมใหม่ด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้แหล่งพลังงานจากพลังทดแทนเป็นหลัก และนำเครื่องต้นแบบไปทดสอบการใช้งานโดยผู้ใช้งานจริง เพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนาให้ได้เครื่องที่สมบูรณ์ และมีความพร้อมในการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์
- พัฒนาเทคโนโลยีต้นแบบด้านการผลิตไฟฟ้ารูปแบบใหม่เพื่อให้ใช้ได้กับแหล่งพลังงานอื่นๆ หรือประยุกต์ใช้เพื่อให้การผลิตไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
การดำเนินการ
- การพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องต้นแบบโดยการพัฒนาและผลิตเครื่องต้นแบบตามที่ได้ดำเนินการจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรไว้ (เลขที่คำขอ 1301004951, อนุสิทธิบัตรเลขที่ 9553, 11909, 12058)
- ดำเนินการทดสอบต้นแบบในห้องปฏิบัติติการ และภาคสนาม เพื่อให้ได้ผลที่ได้จากการทดลองใช้งานในสภาพต่างๆ
- ภายหลังจากมีการทดลองใช้และนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาเครื่องให้สมบูรณ์เพื่อเป็นต้นแบบในเชิงพาณิชย์ สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีกับผู้ประกอบการเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป
ผลการดำเนินงาน
- ได้ต้นแบบเทคโนโลยีใหม่ด้านการผลิตไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาด้านพลังงานในอนาคต
ซึ่งสามารถเป็นต้นแบบอุปกรณ์ด้านการถ่ายทอดพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประยุกต์ใช้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทต่างๆได้
- ได้มาซึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยในการอนุรักษ์พลังงานโดยนำพลังงานที่สูญเปล่ามาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ให้คุ้มค่ามากที่สุด โดยสามารถปรับและประยุกต์ใช้ได้ในหลายภาคส่วนทั้งภาคประชาชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร และยังเป็นหนึ่งในมาตรการส่งเสริมด้านการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน
- เป็นการลดและป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลมาจากการผลิตและใช้พลังงาน ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
การนำไปใช้ประโยชน์
1) เชิงสาธารณะ จัดแสดงในงาน Mahidol Deep Tech Demo Day ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 ณ ห้อง Royal Maneeya B Room โรงแรมเรเนซองส์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ ซึ่งภายในงานได้มีการจัดให้แต่ละผลงานได้ pitching เพื่อนำเสนอผลงานให้กับทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ รวมถึงแหล่งทุนได้รับฟังถึงข้อมูลของแต่ละผลงาน
ทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้อง
1. อนุสิทธิบัตร เลขที่ 9553 ออกให้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2556 เรื่อง ชุดผลิตพลังงานไฟฟ้าจากลมคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศ
2. อนุสิทธิบัตร เลขที่ 11909 ออกให้เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2559 เรื่อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
3. อนุสิทธิบัตร เลขที่ 12058 ออกให้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2559 เรื่อง ชุดผลิตพลังงานแบบใบพัด
4. อยู่ระหว่างการยื่นขอ สิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1301004951 เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2556 เรื่อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมแบบใบพัดสวนทาง
- เพื่อพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมใหม่ด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้แหล่งพลังงานจากพลังทดแทนเป็นหลัก และนำเครื่องต้นแบบไปทดสอบการใช้งานโดยผู้ใช้งานจริง เพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนาให้ได้เครื่องที่สมบูรณ์ และมีความพร้อมในการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์
- พัฒนาเทคโนโลยีต้นแบบด้านการผลิตไฟฟ้ารูปแบบใหม่เพื่อให้ใช้ได้กับแหล่งพลังงานอื่นๆ หรือประยุกต์ใช้เพื่อให้การผลิตไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
การดำเนินการ
- การพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องต้นแบบโดยการพัฒนาและผลิตเครื่องต้นแบบตามที่ได้ดำเนินการจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรไว้ (เลขที่คำขอ 1301004951, อนุสิทธิบัตรเลขที่ 9553, 11909, 12058)
- ดำเนินการทดสอบต้นแบบในห้องปฏิบัติติการ และภาคสนาม เพื่อให้ได้ผลที่ได้จากการทดลองใช้งานในสภาพต่างๆ
- ภายหลังจากมีการทดลองใช้และนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาเครื่องให้สมบูรณ์เพื่อเป็นต้นแบบในเชิงพาณิชย์ สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีกับผู้ประกอบการเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป
ผลการดำเนินงาน
- ได้ต้นแบบเทคโนโลยีใหม่ด้านการผลิตไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาด้านพลังงานในอนาคต
ซึ่งสามารถเป็นต้นแบบอุปกรณ์ด้านการถ่ายทอดพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประยุกต์ใช้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทต่างๆได้
- ได้มาซึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยในการอนุรักษ์พลังงานโดยนำพลังงานที่สูญเปล่ามาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ให้คุ้มค่ามากที่สุด โดยสามารถปรับและประยุกต์ใช้ได้ในหลายภาคส่วนทั้งภาคประชาชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร และยังเป็นหนึ่งในมาตรการส่งเสริมด้านการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน
- เป็นการลดและป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลมาจากการผลิตและใช้พลังงาน ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
การนำไปใช้ประโยชน์
1) เชิงสาธารณะ จัดแสดงในงาน Mahidol Deep Tech Demo Day ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 ณ ห้อง Royal Maneeya B Room โรงแรมเรเนซองส์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ ซึ่งภายในงานได้มีการจัดให้แต่ละผลงานได้ pitching เพื่อนำเสนอผลงานให้กับทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ รวมถึงแหล่งทุนได้รับฟังถึงข้อมูลของแต่ละผลงาน
ทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้อง
1. อนุสิทธิบัตร เลขที่ 9553 ออกให้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2556 เรื่อง ชุดผลิตพลังงานไฟฟ้าจากลมคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศ
2. อนุสิทธิบัตร เลขที่ 11909 ออกให้เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2559 เรื่อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
3. อนุสิทธิบัตร เลขที่ 12058 ออกให้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2559 เรื่อง ชุดผลิตพลังงานแบบใบพัด
4. อยู่ระหว่างการยื่นขอ สิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1301004951 เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2556 เรื่อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมแบบใบพัดสวนทาง
ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น
เป็นโครงการที่ใช้แนวคิดและกระบวนการวิจัยพื้นฐานในการพัฒนาต่อยอดจนสามารถพัฒนาให้เป็นต้นแบบเทคโนโลยีใหม่ที่มีหลักการทำงานแตกต่างไปจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเดิม ทำให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น และยังมีความพร้อมในระดับอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ด้วยเช่นกัน
ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น
- เป็นต้นแบบนวัตกรรมใหม่ด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อความยั่งยืน ในแง่ของการใช้ต้นกำเนิดพลังงานลดลง ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้สำหรับการเก็บเกี่ยวพลังงานเหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ ทั้งในระดับชุมชน อุตสาหกรรม และระดับประเทศ
- เพิ่มขีดความสามารถในด้านการแข่งขันเทคโนโลยีให้ทัดเทียมประเทศอื่น
Key Message
ต้นแบบนวัตกรรมใหม่ด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีประสิทธิภาพด้านการผลิตไฟฟ้า และการอนุรักษ์พลังงานที่สูงขึ้น สามารถนำไปใช้งานจริง มีความสมบูรณ์พร้อมใช้ในเชิงพาณิชย์ สามารถแข่งขันได้ในธุรกิจด้านพลังงาน ตลอดจนเป็นต้นแบบเทคโนโลยีของการกำเนิดไฟฟ้าที่จะประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation
Partners/Stakeholders
- นักวิจัย
- ผู้ประกอบการ
- ผู้ประกอบการ
ตัวชี้วัด THE Impact Ranking
7.2.4 Plan to reduce energy consumption
Have an energy efficiency plan in place to reduce overall energy consumption
การพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมใหม่ในการผลิตไฟฟ้า ที่จะนำไปสู่การใช้งานจริง เพื่อการวางแผนลดการใช้พลังงาน และใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ