• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

แม่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประจำปี 2558

แพทย์หญิงดุสิตา ชนะชัยวิบูลวัฒน์ จังหวัดยโสธร

คุณแม่ แพทย์หญิงดุสิตา ชนะชัยวิบูลวัฒน์
จังหวัดยโสธร
อายุ : 57 ปี บุตร 2 คน
อาชีพปัจจุบัน : ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาชนะชัย
ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม : การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล (ครบวงจร)
  • ปี พ.ศ.2536 แม่ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมการเป็นข้าราชการที่ดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การ อบรมก็จะมีในส่วนของการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยใช้น้ำหมักชีวภาพ แล้วได้นำแนวคิดมาปรับใช้กับโรงพยาบาลโดยใช้เศษอาหาร ที่มีอยู่ในโรงพยาบาลนำมาทำน้ำหมักชีวภาพมาใช้ในการทำความสะอาดห้องน้ำ
  • ปี พ.ศ. 2547 ริเริ่มกิจกรรมการจัดการขยะภายในโรงพยาบาล
  • ปี พ.ศ. 2552 ดำเนินกิจกรรมโรงพยาบาลลดโลกร้อน โดยคัดแยกขยะมูลฝอยการทำน้ำหมักชีวภาพ การผลิตก๊าซชีวภาพ การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ฯลฯ และเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ผลงาน
ผลงาน
  • ปี พ.ศ. 2553 ได้รางวัลชนะเลิศส้วมระดับจังหวัด (โรงพยาบาล)
  • ปี พ.ศ. 2555 ได้รางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ โรงพยาบาลสิ่งแวดล้อมศึกษา
  • ปี พ.ศ. 2556 โรงพยาบาลได้รับการเป็นต้นแบบโรงพยาบาลลดโลกร้อนอย่างยั่งยืน
การลี้ยงดูบุตร
แม่เป็นต้นแบบ และลูกนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเอาน้ำหมักไปใช้กับห้องน้ำที่หอพักลูกให้คำแนะนำในการปรับปรุงสูตรน้ำหมักชีวภาพและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

คุณแม่ฤทธิ์ บุญประกอบ จากจังหวัดอุบลราชธานี

อายุ : 72 ปี บุตร 9 คน
อาชีพปัจจุบัน : ประธานเครือข่ายป่าชุมชนดงขุมคำ
ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม : การอนุรักษ์ป่าชุมชน
  • ปี พ.ศ. 2518 มีพวกกลุ่มนายทุนได้รับสัมปทานเข้ามาตัดต้นไม้ใหญ่ตนเอง ด้วยความรู้สึก หวงแหน และอยากปกป้อง ผืนป่าเอาไว้ โดยตนได้รวมตัวกันต่อสู้ จนนายทุนยอมหยุดการตัดต้นไม้
  • ปี พ.ศ.2529-2530 รัฐบาลให้สัมปทานแก่เอกชนเช่า มีเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจพื้นที่ในป่าดงขุมคำบริเวณที่ ไม่มีใครทำกินและเริ่มตัดไม้ทำลายป่าตนเอง กับชาวบ้านเข้าร้องเรียนจนทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยุติโครงการ ปี พ.ศ. 2518 มีพวกกลุ่มนายทุนได้รับสัมปทานเข้ามาตัดต้นไม้ใหญ่ตนเอง ด้วยความรู้สึก หวงแหน และอยากปกป้อง ผืนป่าเอาไว้ โดยตนได้รวมตัวกันต่อสู้ จนนายทุนยอมหยุดการตัดต้นไม้
  • ปี พ.ศ.2529-2530 รัฐบาลให้สัมปทานแก่เอกชนเช่า มีเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจพื้นที่ในป่าดงขุมคำบริเวณที่ ไม่มีใครทำกินและเริ่มตัดไม้ทำลายป่า ตนเอง กับชาวบ้านเข้าร้องเรียนจนทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยุติโครงการ
ผลงาน
นอกเหนือจากที่คุณแม่ทุ่มเทกับการทำงานในเรื่องของการอนุรักษ์ป่าแล้ว เมื่อได้ถูกเชิญไปเป็นวิทยากรที่ใด คุณแม่ก็ไม่ลืมที่จะขับกล่อมเสียงเพลงที่คุณแม่ได้แต่งเองเกี่ยวกับการอนุรักษ์ผืนป่าไว้อีกด้วย
การลี้ยงดูบุตร
แม่ได้ปลูกฝั่งให้ลูกรู้จักกับสิ่งแวดล้อม รู้คุณค่าของต้นไม้แต่ละต้นว่ามีคุณค่ามหาศาลเพียงใด เมื่อเวลามีกิจกรรมก็จะชวนลูกเข้าร่วมตลอด ลูกจะได้รับรู้ในเรื่องของนโยบาย การจัดการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คุณแม่วลี สวดมาลัย จังหวัดนครปฐม

 
คุณแม่วลี สวดมาลัย
จังหวัดนครปฐม
อายุ 59 ปี บุตรชาย 2 คน
อาชีพปัจจุบัน :
  • ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลคลองโยง แปรรูปผักตบชวา
  • ที่ปรึกษาเทศบาลตำบลคลองโยง
  • ประธานเครือข่ายชุมชนบ้านวัดมะเกลือคลองนราภิรมย์
  • คณะทำงานเครือข่ายคลองอำเภอพุทธมณฑล
  • คณะทำงานสภาลุ่มน้ำท่าจีนอำเภอพุทธมณฑล

ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม : การจัดการแม่น้ำลำคลอง

เริ่มทำงานด้านสิ่งแวดล้อมประมาณปี พ.ศ. 2545 โดยเริ่มสนใจว่าลำคลองน้ำเริ่มเน่าเสีย และเห็นความเปลี่ยนแปลงจากสมัยก่อนผู้คนใช้ลำคลองเป็นหลักในการค้าขาย สัญจร จึงอยากให้สายน้ำแห่งนี้กลับมามีชีวิตชีวาเหมือนเดิม โดยเริ่มเป็นแกนนำในการรวมกลุ่มชาวบ้านสองฝั่งคลองนราภิรมย์ คิดหาวิธีในการจัดการปัญหาวัชพืช และร่วมกันหาแนวทางในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม และร่วมกับหน่วยงานราชการต่างๆ ด้วย

ผลงาน
  • ปี พ.ศ.2556 ร่วมกับศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ ม.มหิดล ศาลายา ทดลองนำผักตบชวาตากแห้งมาทำเป็น วัสดุรองนอนให้กับหนูทดลอง และนำไปสู่การพัฒนาเป็นกลุ่มประกอบการชุมชนนำร่องนวัตกรรม จากผักตบชวา สร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชนริมคลองกว่า 20 ครัวเรือน
  • ปี พ.ศ.2557 คณะทำงานหลักจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจคลองโยง กลุ่มแปรรูปผักตบชวานราภิรมย์ โดยมีการรวมสมาชิกจากภายในชุมชนและภายนอกชุมชน เพื่อพัฒนาเป็นกองทุนประกอบการที่มีความมั่นคงยิ่งขึ้น
  • ปี พ.ศ.2556 ร่วมกับศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ ม.มหิดล ศาลายา ทดลองนำผักตบชวาตากแห้งมาทำเป็น วัสดุรองนอนให้กับหนูทดลอง และนำไปสู่การพัฒนาเป็นกลุ่มประกอบการชุมชนนำร่องนวัตกรรมจากผักตบชวา สร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชนริมคลองกว่า 20 ครัวเรือน
  • ปี พ.ศ.2557 คณะทำงานหลักจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจคลองโยง กลุ่มแปรรูปผักตบชวานราภิรมย์โดยมีการรวมสมาชิกจากภายในชุมชนและภายนอกชุมชน เพื่อพัฒนาเป็นกองทุนประกอบการที่มีความมั่นคงยิ่งขึ้น
การลี้ยงดูบุตร
การเลี้ยงดูบุตรให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยได้มีการปลูกฝังด้านการทำเกษตรในครอบครัว โดยไม่ใช้สารเคมีมาตั้งแต่เด็ก เพื่อไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติรวมทั้งปลูกฝังเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.