• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

องคมนตรี ลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการปรับปรุงสนามบินท่าใหม่ จ.จันทบุรี พร้อมรับฟังแผนปฏิบัติการฝนหลวงประจำปี 2566

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  6 พฤศจิกายน 2565

พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ประธานกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง ลงพื้นที่ตรวจติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรี และความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการปรับปรุงสนามบินท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี พร้อมรับฟังบรรยายแผนการปฏิบัติการฝนหลวงประจำปี 2566 ซึ่ง กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้มีการวางแผนเปิดหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงในวันที่ 1 มีนาคม 2566 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยแล้งของประชาชนตั้งแต่ช่วงฤดูแล้งเป็นต้นไป

สำหรับสนามบินท่าใหม่จะเป็นที่ตั้งของหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดจันทบุรี เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรของจังหวัดในความรับผิดชอบของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก ใน8 จังหวัด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 จนถึงปัจจุบัน โดยจากเดิมมีพื้นที่รันเวย์เป็นดินลูกรังบดอัดแน่น ประกอบกับประสบปัญหาเป็นฝุ่นในฤดูแล้งและลื่นในช่วงหน้าฝน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จึงมีแผนการดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาเป็นรันเวย์ราดแอสฟัลท์ติกคอนกรีต เพิ่มระยะทางทั้งหมด จากรันเวย์ดินลูกรัง 1,500 เมตร เป็นรันเวย์คอนกรีต 1,300 เมตร และเพิ่มระยะวิ่งจาก 980 เมตร ที่รองรับได้เพียงเครื่องบินขนาดเล็กเป็นระยะ 1,200 เมตร เพื่อรองรับเครื่องบินขนาดกลางคาซ่า และเกิดความปลอดภัยในการบินขึ้น-ลง ของเครื่องบินกรมฝนหลวงและการบินเกษตร

อีกทั้งเพื่อให้มีความเป็นมาตรฐานของสนามบิน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้วยความมั่นใจ เกิดผลสัมฤทธิ์จากการปฏิบัติการฝนหลวงที่มีประสิทธิภาพ สามารถเพิ่มปริมาณน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรและแหล่งเก็บกักน้ำต่าง ๆ ได้มากขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่หว่างการดำเนินการปรับปรุงสนามบินท่าใหม่ในระยะที่ 2 คาดว่าจะแล้วเสร็จทันภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เพื่อเป็นหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงรองรับพื้นที่การเกษตรของภาคตะวันออกมีจำนวนกว่า 12 ล้านไร่ หรือร้อยละ 56 ของพื้นที่ซึ่งได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมาก มีพื้นที่การเกษตรในเขตชลประทานจำนวน 884,354 ไร่ และพื้นที่การเกษตรนอกเขตชลประทานจำนวน 12 ล้านไร่


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.