• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

"วราวุธ" เดินหน้ายุทธศาสตร์การผลักดันสังคมคาร์บอนต่ำของประเทศไทย 6 ด้าน เพื่อเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของไทยสำเร็จ

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  20 กันยายน 2565

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินหน้ายุทธศาสตร์การผลักดันสังคมคาร์บอนต่ำของประเทศไทย 6 ด้าน เพื่อเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทยสำเร็จ

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงยุทธศาสตร์การผลักดันสังคมคาร์บอนต่ำของประเทศไทยว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยต่อเนื่อง เพื่อบรรลุสู่เป้าความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2593 และเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero GHG Emission) ในปี 2608 ด้วยการสนับสนุนทางด้านการเงินและเทคโนโลยีอย่างเต็มที่และเท่าเทียม รวมถึง การเสริมสร้างขีดความสามารถจากความร่วมมือระหว่างประเทศ หากทุกประเทศทำได้ จะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกช่วงสิ้นศตวรรษที่ 21 เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ขณะที่แนวทางการผลักดันการลดก๊าซเรือนกระจก 6 ด้านของกระทรวงทรัพย์ฯ ประกอบด้วย ด้านนโยบาย การบูรณาการด้านยุทธศาสตร์และนโยบายระดับชาติสู่เป้าหมาย Net Zero // ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี // ด้านการลงทุน ร่วมกับ BOI สนับสนุนการลงทุนสีเขียวมากขึ้น // ด้านพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิต สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกันจัดทำแนวทางและกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยจะมีการเปิดตัวแพลตฟอร์มการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตครั้งแรกในประเทศไทยวันพรุ่งนี้ (21 ก.ย. 65) เพื่อตอกประเทศไทยเป็น 1 ในผู้นำการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ // ด้านการเพิ่มแหล่งกักเก็บและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมการปลูกป่าธรรมชาติและป่าเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมการปลูกป่า และสุดท้าย ด้านกฎหมาย อยู่ระหว่างการผลักดัน (ร่าง) พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ....


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.