สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 10 กุมภาพันธ์ 2568
ที่มา https://www.posttoday.com/smart-city/719354
ขยะจากแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Panel Waste) กำลังกลายเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ โดยเฉพาะเมื่อแผงโซลาร์เซลล์ถึงจุดสิ้นสุดของอายุการใช้งาน (ประมาณ 20-30 ปี) ปัญหาหลักที่เกิดจากขยะเหล่านี้ก็คือ เมื่อแผงโซลาร์เซลล์ถูกใช้งานเพิ่มขึ้นทั่วโลก ปริมาณขยะที่เกิดจากแผงโซลาร์เซลล์เก่าก็จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลปัจจุบันเริ่มมีแผงโซลาร์เซลล์ปลดระวางจากโซลาร์ฟาร์ม และภายในปี 2050 คาดว่าทั่วโลกจะมีจำนวนแผงโซลาร์เซลล์ทยอยหมดอายุเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดเป็น 78 ล้านตัน เฉพาะในประเทศไทยอาจมีมากถึง 4 แสนตัน ยิ่งกว่านั้นแผงโซลาเซลล์ยังประกอบด้วยวัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิล และประกอบด้วยวัสดุหลากหลายชนิด เช่น กระจก ซิลิกอน โลหะหนัก เช่น แคดเมียมและตะกั่ว วัสดุพลาสติก และการแยกส่วนประกอบเหล่านี้ออกจากกันเพื่อนำไปรีไซเคลล์เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและมีต้นทุนสูง
แนวโน้มการรีไซเคิลในอนาคตของไทยได้นำเทคโนโลยีขั้นสูงในการรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การใช้ใบมีดที่ร้อนจัดถึง 300 องศาเซลเซียสในการตัดแยกกระจกออกจากโซลาร์เซลล์อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลเงินบริสุทธิ์จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศไทย เทคโนโลยีนี้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
ปัจจุบันหลายประเทศ เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ได้พัฒนาโรงงานรีไซเคิลแผงโซลาร์ที่ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อลดของเสียและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร