• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ขอความร่วมมือ เตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยใน ปี 2567

สำนักข่าว เอ็นบีที คอนเนค  18 กรกฎาคม 2567

นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะผู้อำนวยการกลาง เผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ขอความร่วมมือหน่วยงานทั้งในส่วนกลาง ในระดับพื้นที่ รวมถึงกรุงเทพมหานคร ดำเนินการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยใน ปี 2567 ร่วมกันให้เกิดความเป็นเอกภาพ เป็นไปตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี และกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ดังนี้

การเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ ให้ใช้กลไกทั้งท้องถิ่นและท้องที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชุม ตลอดจนอาสาสมัครภาคประชาชน ในการเฝ้าระวัง ติดตามแนวโน้มสถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดสถานการณ์อุทกภัย พร้อมทั้งแจ้งเตือนประชาชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ทุกช่องทางการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ โดยการ “ทำที่ให้น้ำอยู่ ทำทางให้ไป” ให้จัดเตรียมพื้นที่รองรับน้ำ พื้นที่ทุ่งรับน้ำ แหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ รวมทั้งเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ขุดลอกคูคลองสาธารณะ ท่อระบายน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงที่เกิดอุทกภัยเป็นประจำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำให้เต็มศักยภาพการดูแลสถานที่สำคัญ ให้เตรียมการป้องกันพื้นที่ โดยการจัดทำแนว/คันกั้นน้ำ วางแผนติดตั้งเครื่องจักรกลสาธารณภัยไว้ในพื้นที่เสี่ยงเป็นการล่วงหน้า เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ โดยเฉพาะในสถานที่สำคัญ อาทิ สถานพยาบาล โรงเรียน พื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ โบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ฯลฯการสร้างการรับรู้สู่ประชาชน ให้ใช้ช่องทางที่สามารถส่งข่าวสารไปถึงประชาชนในพื้นที่เสี่ยงได้โดยตรง อาทิ หอกระจายข่าว เครือข่ายภาคประชาชน ฯลฯ เพื่อให้ประชาชนทราบสถานการณ์และทราบถึงสิทธิการได้รับความช่วยเหลือและหลักเกณฑ์ในการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐ รวมถึงให้มีการเตรียมความพร้อมหากจำเป็นต้องอพยพได้อย่างทันท่วงทีการเตรียมพร้อมรองรับการอพยพ ให้จัดเตรียมศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับเป็นที่พักอาศัยของผู้ประสบภัยในกรณีสถานการณ์มีความรุนแรงจนต้องอพยพกลุ่มเปาะบาง ประชาชนออกจากบ้านเรือนที่อาศัยอยู่เป็นประจำ โดยต้องพิจารณาสถานที่ที่มีความมั่นคง ปลอดภัย และไม่อยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยง กรณีเกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ ให้จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ในทุกระดับ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการระดมสรรพกำลังและทรัพยากรจากหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งประสานการเผชิญเหตุระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งฝ่ายทหาร ตำรวจ พลเรือน องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิ และอาสาสมัครในพื้นที่ได้อย่างมีเอกภาพ7. การให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย ให้ความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือ ด้านความปลอดภัยในชีวิตและการดำรงชีพก่อนเป็นอันดับแรก อาทิ การจัดหาอาหาร ยารักษาโรค การรักษาความปลอดภัยให้ประชาชน การจัดหน่วยแพทย์คอยดูแลสภาพร่างกายและสภาพจิตใจผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งเร่งเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้โดยเร็ว ตลอดจนขอให้กำชับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องถือปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัดการขอรับการสนับสนุนทรัพยากร ขอให้ประสานการปฏิบัติการกับกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ผ่านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานในพื้นพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต หรือผ่านสายด่วน 1784 หรือLINE @1784DDPM โดยพร้อมออกปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.