• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

SDGs ไม่ได้มีแค่ ‘สิ่งแวดล้อม’ องค์กรจะ ‘ยั่งยืน’ ต้องเริ่มจากจุดไหน

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  18 มีนาคม 2567

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  (https://www.bangkokbiznews.com/environment/1118121)

“เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (SDGs) ของ สหประชาชาติ ซึ่งมีทั้งหมด 17 ข้อ การบรรลุเป้าหมายให้ได้ในปี 2030 ไม่ใช่แค่หน้าที่ของภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน ขณะที่ องค์กรจะยั่งยืนได้ ต้องเข้าใจคำว่า SDGs เมื่อพูดถึงความยั่งยืน มิติแรกที่หลายคนมอง อาจเป็นเรื่อง “สิ่งแวดล้อม” แต่ความจริง “ความยั่งยืน” มีหลายมิติ เห็นได้จาก “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development Goals : SDGs) ของ สหประชาชาติ ที่จะบรรลุความมุ่งหมายให้ได้ภายในปี 2030 มีทั้งหมดกว่า 17 เป้าหมาย โดยเน้นความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนเชิงพื้นที่ (SDG localization) เพื่อนำวาระการพัฒนาระดับโลก สู่ชุมชนท้องถิ่นให้บรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผล การเดินหน้าด้านความยั่งยืน ไม่ใช่แค่หน้าที่ของทางภาครัฐผู้กำหนดนโยบายเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคม รวมถึง สื่อมวลชน ที่เปรียบเสมือนกระบอกเสียง ในการสร้างความตระหนักรู้เฝ้าระวัง และสร้างพลัง ให้เกิดขึ้นในสังคม ที่ผ่านมา สหประชาชาติ มีการก่อตั้ง UN Global Compact เครือข่ายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก การรวมตัวภาคเอกชนเพื่อเดินหน้าแก้ไขปัญหา คำนึงถึงสิ่งรอบตัว ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเมื่อธันวาคม ปี 2561 สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand หรือ UNGCNT) ก็ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อธันวาคม 2561 โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 15 บริษัท นับเป็นหนึ่งในเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network) ลำดับที่ 70 เข้าใจ 17 เป้าหมาย SDGs สำหรับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) 17 ข้อ  สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ 1 ขจัดความยากจน 2 ขจัดความหิวโหย 3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี 4 การศึกษาที่เท่าเทียม 5 ความเท่าเทียมทางเพศ 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล 7 พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน 10 ลดความเหลื่อมล้ำ11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล 15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

            ดร.เนติธร ประดิษฐ์สาร เลขาธิการ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็ก แห่งประเทศไทย กล่าวในงานเวิร์กช้อป เสริมศักยภาพสื่อมวลชน การสื่อสารประเด็นความยั่งยืน โดยระบุว่า สมาคมฯ เป็นเครือข่ายท้องถิ่นของเครือข่ายระดับโลก โดยมุ่งเน้น 4 หมวด ได้แก่ การปกป้องสิ่งแวดล้อม มาตรฐานแรงงาน สิทธิมนุษยชน ต่อต้านการทุจริต “4 หมวด UNGCNT สนับสนุนในการทำธุรกิจ ให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เพราะ “ความยั่งยืน” คือ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ตั้งแต่ การจ้างงานอย่างเป็นธรรม ความเสมอภาคสตรีและความหลากหลายทางเพศ การเลือกปฏิบัติ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ส่งเสริมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เสมอภาคทางเพศ ไม่รุกล้ำป่า การลดคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นเกิน 2 องศา ตั้งแต่ ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และการตั้งเป้าความยั่งยืน”


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.