• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

พัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วย ‘เอไอและข้อมูล’

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  31 ธันวาคม 2566

ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ในยุคนี้มีความเข้าใจและล้วนตระหนักถึงความสำคัญนี้เป็นอย่างดี เราจะเห็นได้ว่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หลายองค์กรได้มีการกำหนดนโยบายหรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมการลดการใช้พลังงานและเปลี่ยนมาใช้พลังงานทางเลือกที่ยั่งยืน รวมถึงการสร้างกิจกรรมให้ความรู้แก่บุคคลากรและประชาชนที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอดด้วยความสามารถของ “เทคโนโลยีเอไอและข้อมูล” ที่ถูกพัฒนาขึ้นและสามารถนำมาใช้งานได้ง่ายและแพร่หลายอย่างในทุกวันนี้ ทั้งความสามารถในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการเรียนรู้ที่รวดเร็ว การลดการทำงานที่ซ้ำๆ และเปลี่ยนทำงานให้อยู่ในรูปแบบอัตโนมัติที่แม่นยำ ทำให้เอไอถูกนำเข้ามาใช้งาน เสมือนเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญของทุกองค์กรในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการลดการใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็น และแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น ตัวอย่างของบทบาทของเอไอและข้อมูลที่มีส่วนช่วยด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1. การบริหารจัดการพลังงานและการใช้พลังงานหมุนเวียน อัลกอริทึ่มของเอไอช่วยให้เราสามารถจัดการและปรับการใช้พลังงานในอาคาร โรงงาน และสภาพแวดล้อมของเมืองให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านการวิเคราะห์รูปแบบการใช้งานและข้อมูลปริมาณการใช้พลังงานในช่วงอดีตที่ผ่านมา และคาดการณ์ปริมาณพลังงานที่จะใช้งานได้เหมาะสม ซึ่งจะเป็นการช่วยลดการผลิตและการใช้พลังงานที่เกินความจำเป็น นอกจากนี้ ยังช่วยให้เราเลือกใช้พลังงานหมุนเวียนจากทางเลือกอื่นๆ เช่น ลม น้ำ และแสงอาทิตย์ ซึ่งมีความผันผวนรุนแรงตามสภาพอากาศ ได้อย่างเหมาะสมและแม่นยำยิ่งขึ้น รวมไปถึงการต่อยอดในการลดปริมาณ Carbon Footprint 2. ช่วยพัฒนาความยั่งยืนทางการเกษตร ในภาคการเกษตร เอไอจะวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวกับรูปแบบสภาพอากาศ สภาพดิน คุณภาพของพืชผลที่ผ่านมา และแนะนำวิธีการและปริมาณการให้ดิน น้ำ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และสารเคมีได้อย่างเหมาะสมให้แก่เกษตรกร เพื่อปรับปรุงผลผลิตให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นรวมถึงลดการสูญเสียและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3. เพิ่มความปลอดภัยการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยธรรมชาติ เอไอสามารถเฝ้าระวังและตรวจจับสัญญาณความผิดปกติที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของภัยธรรมชาติ เช่น ไฟป่า น้ำท่วม ฝุ่น คลื่นสึนามื ผ่านอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ เช่น กล้องวงจรปิด หรือ เซ็นเซอร์ ที่ทำงานเฝ้าระวังให้เราได้ตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อเรารู้สัญญาณของภัยธรรมชาติได้เร็วขึ้น ก็ทำให้เราสามารถจัดการ แก้ไข เตรียมตัวรับมือปัญหาเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น และลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมหาศาล 4. การอนุรักษ์ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ การผสานเครื่องมือเอไอให้ทำงานร่วมกับโดรน ทำให้การสำรวจระยะไกลในพื้นที่ขนาดใหญ่และการสร้างแบบจำลองทางสถิติตามระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น จากข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ ทำให้เราสามารถตรวจสอบพื้นที่ป่าและระบบนิเวศ สร้างแผนที่ ระบุตำแหน่งที่อยู่และจำนวนประชากรของสัตว์ป่า นก และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้อย่างแม่นยำ เพื่อให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนำมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ คาดการณ์ภัยคุกคามที่จะส่งผลต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยีเอไอและข้อมูลจะช่วยลดการสูญเสียและการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น รวมถึงยังสามารถช่วยในการวางแผนและการบริหารสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ การให้ความสำคัญในการเปิดรับและการทำงานร่วมกันกับข้อมูลและเทคโนโลยีเอไอ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาและสร้างสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.