• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

แม่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประจำปี 2559

วราภรณ์

นางวราภรณ์ ไม้สนธิ์ จังหวัดตาก

อายุ 37 ปี

อาชีพปัจจุบัน: รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลพบพระ ระดับ 7

บุตรชาย  2  คน

  1. เด็กชายกฤติธี ไม้สนธิ์ อายุ 12 ปี กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
  2. เด็กชายก้องภพ ไม้สนธิ์ อายุ 8 ปี กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

 

การทำงานด้านสิ่งแวดล้อม

  • การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า (ปลูกป่า บวชป่า ทำแนวกันไฟ)
  • การจัดการขยะ (คัดแยกขยะ ทอดผ้าป่าขยะ)
  • การขุดแหล่งกักเก็บน้ำ (ขุดสระ)
  • การสร้างความเข้าใจให้ผู้ประกอบลดใช้สารเคมีในเกษตรกรรม เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสร้างเสริมสุขภาพที่ดี
  • เป็นวิทยากรด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • สร้างเครือข่ายและจิตสำนึกให้กับผู้นำในท้องถิ่น
  • การขุดแหล่งกักเก็บน้ำ (ขุดสระ)
  • การสร้างความเข้าใจให้ผู้ประกอบลดใช้สารเคมีในเกษตรกรรม เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสร้างเสริมสุขภาพที่ดี
  • เป็นวิทยากรด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • สร้างเครือข่ายและจิตสำนึกให้กับผู้นำในท้องถิ่น

 

ผลงานที่โดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม

  • บุกเบิกกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คือ การจัดกิจกรรมขอคืนพื้นที่ป่าที่ถูกประชาชนบุกรุก เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ พ.ศ. 2554
  • รณรงค์สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลพบพระ คือ กิจกรรมคืนธรรมชาติสู่ชาวตำบลพบพระ เพื่อความปรองดองสมานฉันท์ สามัคคี โดยการปรับพื้นที่และปลูกป่า ที่ได้รับคืนมา จำนวน 30 ไร่ เพื่อเป็นป่าอนุรักษ์ เป็นระยะเวลา 2 ปี และทำต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

 

การเลี้ยงดูบุตร

  • สอนและปลูกฝังบุตรชายเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ ลดการใช้ถุงพลาสติกและกล่องโฟมโดยการใช้ถุงผ้าหรือวัสดุจากธรรมชาติ
  • การร้องเพลงหรือเปิดเพลงเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ลูกฟัง
  • สอนการประหยัดน้ำ เช่น การปิดก๊อกน้ำให้สนิท การใช้บัวรดน้ำ
  • สอนการกำจัดขยะอย่างเหมาะสม ไม่ทิ้งขยะปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลอง
  • สอนการประหยัดน้ำมันและลดมลพิษทางอากาศโดยการเดินหรือขี่จักรยานเมื่อต้องสัญจรในระยะทางใกล้ ๆ
  • สอนให้ปลูกและดูแลต้นไม้ในบ้าน และสร้างทัศนคติที่ดีต่อการปลูกต้นไม้ว่าเป็นการทดแทนอากาศที่เราใช้หายใจ
  • สอนและปลูกฝังบุตรชายเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้แก่
    • สอนทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากการหมักเศษผลไม้ เพื่อนำมาใช้รดน้ำต้นไม้ภายในบ้าน และใช้ทำความสะอาดห้องน้ำ
  • ส่งเสริมให้บุตรชายเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่
  • ปล่อยนก ปลา หรือเต่าไปขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ
  • ปลูกต้นไม้ในวันพ่อ วันแม่
ไปเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ เพื่อให้ได้สัมผัสและซึมซับคุณค่าของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
Image

นางพอทิพย์ เพชรโปรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร

อายุ 54 ปี

อาชีพเกษตรกร

บุตร 3 คน

1) พญ.สุดชีวิต กิจไกรลาศ อายุ 28 ปี ปัจจุบันเป็นแพทย์ รพ.ตากสิน

2) นายพอพัฒน์ กิจไกรลาศ อายุ 26 ปี ปัจจุบันเป็นนักดนตรี ศึกษาต่อประเทศออสเตรเลีย

3) น.ส.พัฒนทิพย์ กิจไกรลาศ อายุ 24 ปี ปัจจุบันทางานอิสระ

 

การทำงานด้านสิ่งแวดล้อม

- มีการปรับปรุงอู่รถเดิมเป็นพื้นที่สีเขียวศูนย์การเรียนรู้เกษตรในเมือง ออร์แกนิคเวย์ (Organic way) เพื่อให้คนเมืองเข้าใจวิถีเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี

- ภายในศูนย์ฯ มีการแยกขยะ การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อนามูลไส้เดือนมาทาปุ๋ยลงแปลงผัก

การเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษ การทาอาหารเพื่อสุขภาพ การรีไซเคิลโดยนาวัสดุเหลือใช้

มาทาให้เกิดประโยชน์ เช่น ขวดน้า กระเป๋าเดินทาง อ่างอาบน้า ยางรถยนต์ ฯลฯ

- ทากิจกรรมในชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานอื่นๆ อีกมากมาย

- เปิดหลักสูตรปลูกผักสาหรับคนเมืองที่มีพื้นที่จากัด และออกแบบหลักสูตรเพื่อทากิจกรรมที่

สอดคล้องกับวัยของเด็ก

- เป็นวิทยากรเพื่อพัฒนาครู และบุคคลที่สนใจ ในเรื่องของการใส่ใจสิ่งแวดล้อมผ่านแปลงผัก

จัดทาค่ายครอบครัว บอกพ่อแม่ผ่านกิจกรรมปลูกผักทาอาหาร

- เป็นแหล่งเรียนรู้ให้เด็กพิเศษได้เข้ามาฝึกทักษะการใช้ชีวิต การใช้กิจกรรมในสวน เพื่อบาบัด ผู้ที่มีอาการป่วยทางจิต

 

ผลงานที่โดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม

- ศูนย์การเรียนรู้เกษตรในเมือง ออร์แกนิคเวย์ (Organic way)

- เปิดหลักสูตรปลูกผักสาหรับคนเมืองที่มีพื้นที่จากัด

- ทากิจกรรมเพื่อให้เด็กและผู้สนใจได้เรียนรู้และใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อม

- การทากิจกรรมในสวน เพื่อบาบัดผู้ที่มีอาการป่วยทางจิต

 

การเลี้ยงดูบุตร

          การเลี้ยงดูบุตรให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยได้มีการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก พาไปเข้าร่วมกิจกรรมทำให้ลูกได้ซึมซับการทำงานไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ทำให้ลูกมีบุคลิกที่ที่ติดตัวจนถึงวัยทำงาน เช่น การแยกขยะ ถุงกระดาษ ถุงพลาสติกพับเก็บไว้ใช้ต่อ ขวดน้ำดื่มไม่ทิ้ง  ปัจจุบันนี้ลูกๆ ดูแลใส่ใจสิ่งแวดล้อมไม่ต่างจากแม่

สวิงทอง

นางสวิงทอง กุดวงค์แก้ว จังหวัดสกลนคร

อายุ 75 ปี

อาชีพปัจจุบัน : ทำานา

บุตร 6 คน ผู้หญิง 2 คน ผู้ชาย 4 คน

 

การทำงานด้านสิ่งแวดล้อม

  • ปลูกป่าครอบครัวในชุมชนบ้านค้อน้อยมานานกว่า 20 ปี แบบผสมผสานบนที่ดิน 62 ไร่ 3 งาน แบ่งเป็น ปลูกข้าวไร่ 12 ไร่ ข้าวนาลุ่ม 6 ไร่ ผลไม้อื่นๆ 8 ไร่ และขุดสระ 36 ไร่ - แนวคิดเริ่มต้นปลูกต้นไม้ใหญ่ในพื้นที่นา เพราะคิดว่าต้นไม้ใหญ่จะช่วยดูดซับน้า จึงปลูกยางนาคละไม้อื่นๆกว่า 2000 ต้น กลายเป็นการฟื้นฟูตาน้าเก่าให้กลับมา

ผลงานที่โดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม

  • ปี พ.ศ. 2525 เป็นประธานกลุ่มแม่บ้านทอผ้าไหมบ้านค้อน้อย และเป็นผู้ถ่ายทอด ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการทอผ้าให้กับศูนย์ศิลปาชีพและกลุ่มแม่บ้านในจังหวัดสกลนคร
  • ปี พ.ศ. 2538 ดาเนินการทาสวนป่าในเนื้อที่ 20 ไร่ แบบครบวงจร ณ ปัจจุบันเป็น แหล่งเรียนรู้ให้กับเยาวชน ในพื้นที่ และชุมชนใกล้เคียง โดยแม่ได้เป็นวิทยากร
  • ปี พ.ศ. 2551 ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวประเภทบุคคล
  • ปี พ.ศ 2554 ได้รับเกียรติบัตร คนดีกุดบาก สาขาผู้นาประชาชน จาก อ.กุดบาก จ.สกลนคร

 

การเลี้ยงดูบุตร

แม่สวิงทองประกอบอาชีพทานา เวลาทานาก็ต้องเลี้ยงลูกไปด้วย ลูกๆทุกคน จึงได้เรียนรู้เรื่องการปลูกข้าว และการปลูกพืชผักสวนครัว มาตั้งแต่เด็กๆ นอกจากนี้ จะสอนให้ลูกๆ นาเมล็ดพันธุ์พืชมาเพาะ ปลูก และดูแลรักษาพื้นที่ป่าให้คนรุ่นหลัง ได้เห็นต่อไป

 

สุดธนา

นางสุดธนา ปัทมวัฒน์ จังหวัดน่าน

อายุ  51  ปี

อาชีพปัจจุบัน: นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

บุตรสาว  2  คน

  1. นางสาวสุพิชญา ปัทมวัฒน์ อายุ 22 ปี กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  2. นางสาวดลพร ปัทมวัฒน์ อายุ 17 ปี กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงราย

 

การทำงานด้านสิ่งแวดล้อม

  • ร่วมกับโรงเรียนศรัทธาศิลาเพชรรังสรรค์ พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และก่อตั้งโรงเรียนชาวนาตำบลศิลาเพชร
  • เป็นเครือข่ายโครงการอาหารปลอดภัยของตำบลศิลาเพชร (การปลูกผักปลอดสารพิษ การสุ่มตัวอย่างผักเพื่อตรวจประเมินคุณภาพผักและสารเคมีปนเปื้อน)
  • เป็นเครือข่ายการโครงการสุขภาวะ สสส. ในการรณรงค์การคัดแยกขยะในพื้นที่น้ำตกศิลาเพชร
  • เป็นเครือข่ายที่ร่วมดูแลรักษาป่าของตำบลศิลาเพชร
  • เป็นวิทยากรสอนเยาวชนในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • เป็นคณะทำงานทีมสื่อสมัชชาสุขภาพน่าน

ผลงานที่โดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม

  • โรงเรียนชาวนาตำบลศิลาเพชร ที่ใช้เป็นพื้นที่เรียนรู้การทำนาข้าวอินทรีย์ เป็นระยะเวลา 5 ปี
  • ร่วมกับชุมชน ส่วนราชการ ในตำบลศิลาเพชร ดำเนินกิจกรรมผักปลอดสารพิษ
  • จัดทำสื่อหนังสั้น เรื่อง “สิ่งที่เหลืออยู่” เพื่อปลูกฝังเยาวชนและกระตุ้นชุมชนในเรื่องพิษจากการใช้สารเคมี

 

การเลี้ยงดูบุตร

สอนและปลูกฝังบุตรสาวและหลานได้เรียนรู้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การทำเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ ข้าวไรท์เบอรี่และผักปลอดสารเคมี และการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

หน่อแอริ
หน่อแอริ

นางหน่อแอริ ทุ่งเมืองทอง จังหวัดเชียงใหม่

อายุ 41 ปี

อาชีพปัจจุบัน: เกษตรกร

บุตร  2 คน 

  • บุตรสาว 1 คน กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2
    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • บุตรชาย 1 คน กำลังศึกษาต่อด้านการเกษตรที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

การทำงานด้านสิ่งแวดล้อม

2540 – ปัจจุบัน

  • รองประธานเครือข่ายสตรีชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
  • ประธานเครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง
  • คณะกรรมการโฉนดชุมชน
  • ผู้รู้ด้านทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ
  • ผู้รู้ด้านสมุนไพร อาหาร และเมล็ดพันธุ์
  • ตัวแทนขับเคลื่อนกฎหมาย 4 ฉบับสำหรับคนจน

2547 - 2549

  • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านปงตอง หมู่ 1 ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่

2551 – 2555

  • สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน

 

 

ผลงานที่โดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม

- การจัดการดูแล “ป่าแดปอทู” ที่เป็นพื้นที่สำคัญทางพิธีกรรม และเป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชน

- ผลักดัน (ร่าง) พระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย  เพื่อส่งเสริมสิทธิและสร้างสุขภาวะที่ดีกับชนเผ่าพื้นเมือง

 

การเลี้ยงดูบุตร

          คุณแม่ไม่มีเงินทองมอบให้ลูก จึงเติมเต็มด้วยองค์ความรู้ของชุมชน คุณแม่เป็นต้นแบบให้แก่ลูกๆ ในกิจกรรมสิ่งแวดล้อม  ลูกๆ เข้ามาช่วยเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.