• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

แม่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประจำปี 2553

นางกานตาภร ไชยปากดี

นางกานตาภร ไชยปากดี อายุ 40 ปี อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย
อาชีพเกษตรกร วิทยากรชุมชนเรื่องเกษตรอินทรีย์
ปัจจุบัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบึงโขงหลง

ประวัติการทำงาน
- วิทยากรชุมชนด้านการประกอบอาชีพ / การใช้ปุ๋ยชีวภาพ
- วิทยากรการเพาะเห็ดแบบครบวงจร
- วิทยากรแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเองภาคอีสาน
- วิทยากรการจัดสวัสดิการชุมชนต้นแบบ (คปอ.จว.)
- ประธานสตรีตำบลบึงโขงหลง
- ผู้ประสานงานและส่งเสริมสนับสนุนการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำโลกอำเภอบึงโขงหลง และคณะทำงานจังหวัดหนองคาย
- ผู้ประสานงานสตรีจังหวัดหนองคายและภาคอีสาน ฯลฯ

ด้านการอนุรักษ์ต่อลูกและครอบครัว - นำลูกทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น เล่นกับธรรมชาติ, ปลูกต้นไม้ , ทำปุ๋ยใช้เอง
- สอนให้ลูกเป็นวิทยากรตั้งแต่เด็กเพราะทำกิจกรรมเพาะเห็ด (ให้ความรู้กับเพื่อนนักเรียน)
- ส่งเสริมให้ลูกรู้จักในการเก็บขยะในบ้านโดยวิธีการแยกขยะ นำไปทำปุ๋ยชีวภาพในส่วนที่ย่อยสลายได้

ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่อชุมชนและสังคม
- ทำตัวเองให้เป็นแบบอย่างเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมโดยทำปุ๋ยใช้เอง ,ส่งเสริมผู้ที่สนใจ,ให้ความรู้ (ปราชณ์ชาวบ้าน)
- ส่งเสริมและขยายกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เรื่องเกษตรอินทรีย์ เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ เช่น การจัดตั้งกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพระดับตำบล , การจัดตั้งเครือข่ายองค์กรการเงินระดับตำบล, ตำบลต้นแบบในการบริหารจัดการที่ดินภาคอีสาน , การจัดสวัสดิการชุมชนระดับตำบลได้รับตำบลช้างเผือกของจังหวัดหนองคาย
- สร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำโลกบึงโขงหลง เช่น การออก
ข้อบัญญัติตำบลการดูแลหาดคำสมบูรณ์ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของบึงโขงหลง นำเขตหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (นสล.) ห้ามบุกรุกพื้นที่ชุ่มน้ำโลก

- ผลงานเด่นชัด เป็นคณะกรรมการ คปอ. จังหวัดหนองคายและเป็นคณะทำงานอนุรักษ์ พื้นที่ชุ่มน้ำโลก การยกแพขึ้นจากน้ำ โดยมีกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนตนบึงโขงหลง ออกข้อบังคับห้ามจับปลาทุกฤดูในเขตห้ามล่าสัตว์น้ำบึงโขงหลง 380 ไร่
- เป็นคณะกรรมการประเมินนายอำเภอ เขต 6 จังหวัด
- ผลงานเด่น การจัดสวัสดิการชุมชนตำบลบึงโขงหลงต้นแบบของจังหวัดหนองคาย
- นายกองค์การบริหารส่วนตำบลด้านดูแลสิ่งแวดล้อม จังหวัดหนองคาย พื้นที่ชุ่มน้ำโลก

นางคำ หลงลืม

นางคำ หลงลืม อายุ 42 ปี
อาชีพเกษตรกรรม อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง

ด้านการอนุรักษ์ต่อลูกและครอบครัว
- แม่ปลูกฝังทางด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่อายุ 11 ปี
- ลูกเป็นแกนนำเยาวชนในการทำฝายแม้วเพื่อกักเก็บน้ำ ใน “โครงการปันรักให้ป่า สร้างฝายให้น้ำ สืบสานวิถีป่าชุมชน”
- ลูกมีโครงการปลูกป่า ณ วัดสบลืน
- ในระดับอำเภอ เป็นสภาเด็กและเยาวชน อำเภอวังเหนือ /ทำยุววิจัยประวัติศาสตร์ ร่วมกับวัดสบลืม ร่วมสร่างฝายปลูกป่า
- ในระดับจังหวัด ไปรวมกลุ่มกับทางภาคเหนือเพื่อทำงานทางด้านสิ่งแวดล้อม เป็นผลงานต่อเนื่อง


ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่อชุมชนและสังคม
- ทำหน้าที่เป็นหมอดินอาสา ไม่ต่ำ 9 ปี เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับป่าและปัญหาของดินในหมู่บ้าน การเร่งแก้ปัญหาของดิน เพื่อส่งผลให้พืชผลต่างๆ เจริญงอกงาม ทำให้ดินดีเพิ่มปริมาณผลผลิตให้กับหมู่บ้าน
- ได้รับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการของหมู่บ้านฝ่ายอนุรักษ์ สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม
- จัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ของหมู่บ้าน ออมเงินวันละ 1 บาท
- เข้าร่วมศึกษาโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำความรู้กลับมาพัฒนาหมู่บ้านได้สอนให้ ชาวบ้านทำปุ๋ยหมัก น้ำชีวภาพ / การปลูกหญ้าแฝก
- จัดทำโครงการปลูกป่าทดแทน /โครงการไทยเข้มแข็ง โครงการปลูกหญ้าแฝก ฯลฯ
- มีการเลี้ยงหมูหลุม รณรงค์ภายในหมู่บ้านให้ใช้น้ำหมักในการดับกลิ่น
- มีขั้นตอนการทำกันอย่างมีระบบ มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายผลผลิต ภายในหมู่บ้านเป็นต้นแบบให้กับหมู่บ้านอื่นๆ

นางนันทวัน เขียวงานดี

นางนันทวัน เขียวงานดี อายุ 57 ปี จ.สมุทรสาคร
เริ่มทำงานด้านสิ่งแวดล้อม (แม่น้ำท่าจีน) ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2543 ถึงปัจจุบัน รวมเวลา 10 ปี ในตำแหน่ง เลขานุการชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร และจะทำต่อไปจนแม่น้ำท่าจีน และคลองสาขาจะสดใสมีกุ้งกรามและปลาเสือตอ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดของแม่น้ำท่าจีน กลับมาสู่ท่าจีน

1. กิจกรรมที่ทำมา 10 ปี
- ชักชวน ชุมชน เยาวชน อบต. เทศบาล รณรงค์คูคลองสาขาและคลองซอย โดยการเก็บวัชพืช ขึ้นจากคลองและใช้น้ำหมักชีวภาพปรับสภาพน้ำในคลอง
- ชักชวนเกษตรกร ให้ใช้น้ำหมักชีวภาพแทนสารเคมี เพื่อใช้ในการเกษตร เป็นการลดต้นทุนของเกษตรกร
- จัดกิจกรรมโครงการธนาคารขยะ ในโรงเรียน โดยเชิญวิทยากรไปให้ความรู้ให้นักเรียนในโรงเรียนและใช้หลัก 3 R (วิทยากรจาก สสภ. 5 )
- จัดโครงการนักสืบสายน้ำจำนวน 8 รุ่น โดยนำนักเรียนในโรงเรียนริมแม่น้ำท่าจีนไปฝึกตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยใช้ชุดทดสอบสารภาคสนามของมหาวิทยาลัยมหิดลค่า Do และ PH พร้อมส่งคุณภาพน้ำไปยังหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง เช่น ท.ส.จ.,ส.ส.ภ 5
- จัดทำโครงการปลูกป่าชายเลนและศึกษาระบบนิเวศป่าชายเลนปีละ 3 รุ่น เป็นการสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ กลุ่มเป้าหมายนักเรียนในโรงเรียนริมแม่น้ำท่าจีน และบริเวณป่าชายเลน เป็นการปลูกป่าทดแทนป่าชายเลนที่หายไป

2. ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่อลูกและครอบครัว
2.1 การปลูกฝังให้ให้ลูกรู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและมีการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม

- การสอนให้ลูกรู้จักการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ต้องดื่มน้ำให้หมดแก้ว
- การอาบน้ำจากฝักบัว และไม่ควรอาบน้ำเกิน 5 นาที
- หลีกเลี่ยงการซักผ้าด้วยเครื่อง ปิดก๊อกให้สนิทเมื่อเลิกใช้น้ำ


2.1.2 อบรมสั่งสอนและเลี้ยงดูลูกด้วยการใช้ชีวิตแบบใกล้ชิดธรรมชาติ

- ชักชวนให้ลูกได้ช่วยกันดูแลแหล่งน้ำ คือ แม่น้ำท่าจีนเพราะบ้านอยู่ใกล้แม่น้ำท่าจีน
- ชักชวนให้ลูกปลูกต้นไม้เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน

2.1.3 การส่งเสริมหรือสนับสนุนลูกเข้าร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

- ชักชวนให้ลูกเข้าร่วมการปลูกป่าชายเลนในวันสำคัญ เช่น วันเฉลิมพระชมพรรษา วันที่ 5 ธันวาคม วันสิ่งแวดล้อมโลก และวันสิ่งแวดล้อมไทย

2.1.4 เป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิตที่ดีแก่ลูกและครอบครัวในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

- สอนให้ลูกยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
2.2 การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่อชุมชนและสังคม

2.2.1 มีความคิดริเริ่มและบุกเบิกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่อชุมชนและสังคม
- สาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมีให้กับชุมชนและเกษตรกร เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตของเกษตรกรและเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม
2.2.2 มีการดำเนินกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมมาอย่างต่อเนื่อง
- สร้างเครือข่ายเยาวชนในโรงเรียนริมแม่น้ำท่าจีน และคลองสาขาให้มีความรู้ในการเฝ้าติดตาม ตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำท่าจีน และคลองสาขาตั้งแต่รุ่นที่ 1-6 และรุ่นต่อๆ ไปเรียกว่า “โครงการนักสืบสายน้ำ”
- เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่เยาวชนในโรงเรียนริมแม่น้ำท่าจีนเกี่ยวกับการรู้และรักแม่น้ำท่าจีน ตลอดจนมลพิษที่ลงสู่แม่น้ำท่าจีน
2.2.3 มีความเป็นผู้นำมุ่งมั่นสร้างสรรค์ มุ่งมั่นพัฒนางานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมอย่างสูงสุด
- นำคณะครูและนักเรียนไปร่วมปลูกป่าชายเลนปีละ 8 ครั้ง เพื่อถวายเป็นพระราชเสาวนีย์แด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
- เพิ่มป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลของสัตว์น้ำ และเป็นการเพิ่มเศรษฐกิจของชุมชนชายฝั่งทะเล
2.2.4 มีผลงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ปรากฏส่งผลอย่างเด่นชัดต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือทัศนคติของคนในชุมชนสังคม ที่จะร่วมมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- ชุมชน เกษตรกรหันมาใช้น้ำหมักชีวภาพแทนการใช้สารเคมี เป็นการลดต้นทุนของเกษตรกรในการผลิต
- สุขภาพอนามัยของชุมชนดีขึ้น
- น้ำที่ใช้ในการเกษตรและไหลลงสู่แหล่งน้ำไม่ปนเปื้อนสารเคมี

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.