• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

แผนนโยบายขับเคลื่อนการบริหารจัดการเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนบนฐานระบบวนเกษตรชุมชน

Image
Image
แหล่งทุน
โครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปีงบประมาณ 2566
ส่วนงานหลัก
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ส่วนงานร่วม

ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดลำปาง

ผู้ดำเนินการหลัก
รศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย
ผู้ดำเนินการรอง

คำอธิบาย

จัดอบรมและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับแนวทางในการสร้างระบบการประเมินการกักเก็บคาร์บอน และการพัฒนาโครงการ T-VER ตลอดจนให้องค์กรต่างๆ มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง รวม 12 ชม.

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

ความสำคัญ
"โครงการ T-VER" คือ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) หรือ T-VER โครงการนี้มีเป้าหมายส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ โดยเฉพาะผู้ผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียน ภาคอุตสาหกรรมที่มีกิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน การจัดการของเสีย การจัดการในภาคขนส่ง รวมถึงการปลูกต้นไม้และการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่า ซึ่งนอกจากจะช่วยกักเก็บก๊าซเรือนกระจกแล้ว ยังสามารถรักษาสมดุลของความหลากหลายทางชีวภาพได้อีกด้วย
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เล็งเห็นความสำคัญของโครงการดังกล่าว จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "การประเมินการกักเก็บคาร์บอน และการพัฒนาโครงการ T-VER ภาคการปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า" ขึ้น

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการประเมินการกักเก็บคาร์บอน และการพัฒนาโครงการ T-VER
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างระบบการประเมินการกักเก็บคาร์บอน และมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง

การดำเนินการ
จัดอบรมให้กับผู้สนใจจากทั้งองค์กรภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอิสระ เมื่อวันที่ 27 – 28 ส.ค.67 ผ่านการเรียนรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เกี่ยวกับภาพรวมของโครงการ T-VER ภาคการปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า การพัฒนาเอกสารข้อเสนอโครงการ (Project Design Document: PDD)

ผลการดำเนินงาน
ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการประเมินการกักเก็บคาร์บอน และการพัฒนาโครงการ T-VER ตลอดจนผู้เข้าอบรมสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างระบบการเมินการกักเก็บคาร์บอน และมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างต่อเนื่อง

การนำไปใช้ประโยชน์
ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปวางแผนดำเนินการจัดทำโครงการปลูกป่าในอนาคต รวมทั้งได้เพิ่มพูนความรู้ และนำไปประยุกต์ใช้ในงานวิจัยได้ถึงร้อยละ 89.74

ผลงานตีพิมพ์
ไม่มี

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

เป็นแนวทางในการสร้างระบบการประเมินการกักเก็บคาร์บอน และการพัฒนาโครงการ T-VER ตลอดจนให้องค์กรต่างๆ มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

องค์กรมีความตื่นตัวในการประเมินการกักเก็บคาร์บอน รวมทั้งโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) หรือ T-VER ตลอดจนการเตรียมพร้อมสำหรับพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

Key Message

การสร้างระบบการประเมินการกักเก็บคาร์บอน และการพัฒนาโครงการ T-VER ภาคการปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 3 “Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals”

ภาพประกอบ
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.