• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

การพัฒนาระบบอัตโนมัติของอากาศยานไร้คนขับสำหรับพ่นสารอินทรีย์ทางใบสำหรับส่งเสริมการเจริญเติบโตของมะม่วงสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก

ชื่อโครงการวิจัย: การพัฒนาระบบอัตโนมัติของอากาศยานไร้คนขับสำหรับพ่นสารอินทรีย์ทางใบสำหรับส่งเสริมการเจริญเติบโตของมะม่วงสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก

Development of automated systems for the Unmanned Aerial Vehicle for organic leaf spray to promote the growth of mangoes for export production

ชื่อผลงานวิจัย:    อากาศยานไร้คนขับสำหรับพ่นสารอินทรีย์ทางใบสำหรับส่งเสริมการเจริญเติบโตของมะม่วงสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก

ชื่อผู้วิจัย:         อาจารย์ ดร.รัตนะ บุลประเสริฐ

ส่วนงาน: คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

รายละเอียดผลงานวิจัย (โดยย่อ):

โครงการอากาศยานไร้คนขับพ่นสารเคมีแบบมุ่งเป้าสำหรับการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกเป็นนวัตกรรมได้รับทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย ภายใต้โครงการส่งเสริมและสร้างเวทีต่อยอดงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ ประจำปี 2560 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ที่มีเป้าหมายเพื่อการลดต้นทุนโดยตรงของการผลิตพัฒนาการผลิตมะม่วงเชิงการค้าเพื่อการส่งออกโดยใช้วิธีการลดปริมาณการใช้สารเคมี ต้นทุนค่าแรงงาน และเพิ่มศักยภาพการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติที่สร้างขึ้นสำหรับพ่นสารอินทรีย์ทางใบสำหรับส่งเสริมการเจริญเติบโตของการผลิตมะม่วงสำหรับการผลิตมะม่วงที่สร้างขึ้นมีความเม่นยำสูงและปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ผลิตและลดค่าใช้จ่ายด้านสารเคมีคิดเป็นร้อยละ 4050 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด โดยพบว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันของสารเคมีที่ใช้สามารถพ่นมีการสูญเสียมากกว่า 80% นวัตกรรมนี้ได้รับการพัฒนาระบบอัตโนมัติสำหรับพ่นสารอินทรีย์สำหรับส่งเสริมการเจริญเติบโตสำหรับการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกของอากาศยานไร้คนขับพ่นสารเคมีแบบมุ่งเป้าสำหรับการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมีและต้นทุนค่าแรงงานและเพิ่มศักยภาพการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก จึงเป็นแนวทางการลดปริมาณการใช้สารเคมีและต้นทุนค่าแรงงานได้มากกว่าร้อยละ 60 ของต้นทุนที่เกษตรกรต้องสูญเสียไป 

นวัตกรรมที่สร้างครั้งนี้เป็นการออกแบบและพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เพื่อการตรวจจับ 3 ระยะหลักของการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกที่มีการใช้สารเคมีทางใบมากที่สุดด้วยระบบการเข้าถึง ค้นหาและเป้าหมายได้โดยอัตโนมัติ ที่ผลิตมาเฉพาะมะม่วงเพื่อการส่งออกที่สามารถใช้ได้ทั่วไปกับโครงสร้างเครื่องบินปีกหมุนแบบปีกเดียวขนาดอื่นๆที่มีระบบถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวแบบไม่จำกัดรุ่นและง่ายต่อผู้ใช้งาน โดยทั่วไปสามารถผลิตเองได้จากชิ้นส่วนภายในประเทศ

 รางวัลที่ได้รับ :

รางวัลระดับชาติ

ปี พ.ศ. 2561

รางวัลชนะเลิศการแข่งขันประกวดธุรกิจนวัตกรรม การแข่งขันประกวดธุรกิจนวัตกรรม ประเภทเศรษฐกิจ โครงการประกวดธุรกิจนวัตกรรม UAV Startup 2018 หัวข้อ "นวัตกรรมอากาศยานไร้นักบินสำหรับการพ่นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของไม้ผล"  จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ในฐานะหัวหน้าทีม และเจ้าของผลงานนวัตกรรม ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ปี พ.ศ. 2561

รางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมแห่งชาติประเภท UAV Startup 2018 ด้านเศรฐกิจ" ในงาน Innovation Thailand Expo 2018 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนาในงาน INNOVATION THAILAND EXPO 2018 ระหว่างวันที่ 4 - 7 ตุลาคม 2561 ที่ฮอลล์ 98 ไบเทค บางนา โดยได้ส่งผลงานเข้าประกวด ในโครงการประกวดธุรกิจนวัตกรรม UAV Startup 2018 หัวข้อ "นวัตกรรมอากาศยานไร้นักบินสำหรับการพ่นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของผลไม้เพื่อการส่งออก" ซึ่งจัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)

 

รางวัลอื่นๆ

ปี พ.ศ. 2561

ได้รับการคัดเลือกอยู่ในกลุ่มผลงานเกียรติยศ ในงานมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2561 ในผลงาน นวัตกรรมอากาศยานไร้นักบินสำหรับการพ่นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของไม้ผลในงานงานมหกรรมคุณภาพ จัดภายใต้หัวข้อ “Innovative Organization: องค์การแห่งนวัตกรรมมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน 2561 ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล

ปี พ.ศ. 2561

ได้รับการคัดเลือกอยู่ในกลุ่มผลงานเกียรติยศในงานมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2561 ในผลงาน อากาศยานไร้นักบินสำหรับผลิตกุ้งในระบบปิด โดยอาศัยหลักการทางชีวภาพ ในงานงานมหกรรมคุณภาพ จัดภายใต้หัวข้อ “Innovative Organization : องค์การแห่งนวัตกรรมมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน 2561 ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล

 


 

การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา:

อยู่ในขั้นตอนการจดอนุสิทธิบัตรจำนวน 2 ชิ้นงาน ได้แก่ อากาศยานไรันักบินสำหรับการพ่นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของผลไม้ จำนวน 2 ผลงาน

การนำไปใช้ประโยชน์:

1. ชุมชนและกลุ่มเกษตรกรทั่วไปปลูกมะม่วงและไม้ผล

2 กลุ่มเกษตรกรปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เพื่อการส่งออกอ.สากเหล็ก จ.พิจิตร พื้นที่รวม 2 หมื่นไร่ ถือเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ

การเผยแพร่ผลงาน:

 

วัน/เวลา

การเผยแพร่ผลงาน

1.

7 ตุลาคม 2561

ระดับชาติ

นำเสนอผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์

ในรายการ ห้องรับแขก โดย ดร.ปนัดดา วงศ์ผู้ดี และ พัชราภรณ์ ชมกลิ่น หัวข้อพูดคุยถึงโดรนที่ชนะการประกวดUAV Startup 2018 กับดร.รัตนะ บุลประเสริฐ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล และ ปิยะรัตน์ วิจักขณ์สังสิทธิ์ นักวิจัยชำนาญการ คณะเกษตร กำแพงแสน ม.เกษตรศาสตร์

ออกอากาศทางช่อง สถานีวิทยุ FM 96.5 คลื่นความคิด มีรายการ  ห้องรับแขกดำเนินรายการโดย ดร.ปนัดดา (บุ๋ม) วงศ์ผู้ดี และ พัชราภรณ์ ชมกลิ่น ออกอากาศประจำทุกวันอาทิตย์เวลา 19.30 21.00 น. และในวันที่ 7 ตุลาคม 2561 เวลา 19.3021.00 น.

2.

30 ตุลาคม 2561

ระดับชาติ

นำเสนอผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์

ในหัวข้อ เรื่อง นวัตกรรม โดรนเพื่อนากุ้ง

รายการข่าวโทรทัศน์ ช่อง 3 SD รายการ มองโลกมองเรา 

ออกอากาศ เวลา 8.00 น.วันที่ 30 ตุลาคม 2561

ออกอากาศทางช่อง  ช่อง 28 SD รายการ มองโลกมองเรา ใน

https://www.youtube.com/watch?v=omDk4hvSkl8

3.

21 พฤศจิกายน 2561

ระดับชาติ

นำเสนอผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์

ในหัวข้อ เรื่อง นวัตกรรม โดรนเพื่อไม้ผล

รายการข่าวโทรทัศน์ ช่อง 3 SD รายการ มองโลกมองเรา 

ออกอากาศ เวลา 8.00 น. ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2561

https://www.youtube.com/watch?v=omDk4hvSkl8

4.

17 ธันวาคม 2561

ระดับชาติ

นำเสนอผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์

ในรายการเสวนาภาษาเกษตร ทางช่อง Five Channel นำเสนอ โดรนเทคโนโลยีเกษตร ดร.รัตนะ บุลประเสริฐ

ออกอากาศทางช่อง Five Channel HD ในวันที่ 17 ธันวาคม 2561 เวลา 07.30 - 08.30 น. ดำเนินรายการโดย เอกชนะ ชุติยานนท์

https://youtu.be/9fCNOnzQC_g

5.

2 ธันวาคม 2561

นำเสนอผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ ต่อสาธารณะ

ในการถวายรายงาน นวัตกรรมอากาศยานไรันักบินสำหรับการพ่นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของผลไม้เพื่อการส่งออกและอากาศยานไร้นักบินสำหรับผลิตกุ้งในระบบปิด โดยอาศัยหลักการทางชีวภาพ วันที่ 2 ธันวาคม 2561 เวลา 15.00 น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จพระราชดำเนินยังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ในงาน เกษตรกำแพงแสน ประจำปี 2561 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 1- 10 ธันวาคม 2561

6.

7 ธันวาคม 2561

นำเสนอผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ ต่อสาธารณะ

โดยการนำเสนอผลงานในฐานะวิทยากรการเสวนา

ในหัวข้อ นวัตกรรมอากาศยานไรันักบินสำหรับการพ่นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของผลไม้เพื่อการส่งออก ในงาน เกษตรกำแพงแสน ประจำปี 2561 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 1- 10 ธันวาคม 2561

7.

14-15 พฤษภาคม 2562

นำเสนอผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ ต่อสาธารณะ

โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนและกลุ่มเกษตรกรทั่วไปภายใต้ โครงการฝึกอบรมการพัฒนาความรู้ ทักษะ และความสามารถการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หัวข้อ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการเกษตรแบบอัจฉริยะ ระหว่างวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 8.00 น. 17.00 น ณ ศูนย์การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมฯ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง

8.

13 มิถุนายน 2562

นำเสนอผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ ต่อสาธารณะ

โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนและกลุ่มเกษตรกร โดยนำเสนอผลงานในฐานะวิทยากรถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนในโครงการยกระดับและพัฒนาทางการเกษตรสมัยใหม่ประจำปีงบประมาณ 2562 โครงการย่อยที่ 4 การประยุกต์นวัตกรรมจากงานวิจัยสู่ชุมชนเพื่อการผลิตภาคเกษตรแบบยั่งยืนภายใต้กิจกรรมที่ 2 การถ่ายทอดเทคโนโลยีอากาศยานไรันักบินสำหรับการพ่นสารส่งเสริมการเจริญเติบโตของผลไม้เพื่อการส่งออกเพื่อรองรับเทคโนโลยี 4.0 และเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ แก่กลุ่มเกษตรกรปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เพื่อการส่งออกพื้นที่รวม 2 หมื่นไร่ ถือเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2626 อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร ณ กลุ่มเกษตรกรปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เพื่อการส่งออกอ.สากเหล็ก จ.พิจิตร 

 

การติดต่อ

อาจารย์ ดร.รัตนะ บุลประเสริฐ

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล

999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4, พุทธมณฑล, ศาลายา, นครปฐม 73170

โทรศัพท์/โทรสาร    02 441-5000 ต่อ 2213  Fax: 02 441 9509-10  มือถือ 0874450909

E-mail: rattana.boo@mahodol.ac.th, enrattana@gmail.com

[Module-732]


© 2025 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.