• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

นิเวศวิทยาของชะนีมือขาว ชะนีมงกุฎ และชะนีลูกผสม ในพื้นที่ซ้อนทับ (The ecology of the white-handed gibbon, pileated gibbon and their hybrids in a contact zone)

นิเวศวิทยาของชะนีมือขาว ชะนีมงกุฎ และชะนีลูกผสม ในพื้นที่ซ้อนทับ
The ecology of the white-handed gibbon, pileated gibbon and their hybrids in a contact zone

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นเพียงแห่งเดียวในโลกที่มีการพบชะนีมือขาว และชะนีมงกุฏอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน และสิ่งที่น่าสนใจคือ พบการจับคู่สร้างครอบครัวของชะนีต่างชนิด และมีชะนีลูกผสมเกิดขึ้น การมีพื้นที่ซ้อนทับระหว่างชนิดพันธุ์นับเป็นโอกาสอันดีในการศึกษากระบวนการเกิดสปีชีส์ใหม่ หรือศึกษากลไกที่ป้องกันการผสมข้ามสายพันธุ์ จากการเก็บข้อมูลภาคสนามกว่า 34 เดือน พบชะนีมือขาว 18 กลุ่ม ชะนีมงกุฎ 12 กลุ่ม ชะนีต่างชนิดจับคู่กัน 3 กลุ่ม และชะนีลูกผสม 2 กลุ่ม ในพื้นที่ซ้อนทับ โดยขนาดพื้นที่อาศัยของกลุ่ม การกินอาหารและถิ่นที่อยู่อาศัยของชะนีแต่ละชนิด ไม่มีความแตกต่างกัน แสดงให้เห็นความต้องการทรัพยากรเดียวกัน และมีการป้องกันอาณาเขตกันระหว่างชะนีต่างสปีชีส์ การพบชะนีลูกผสมเพียงไม่กี่ตัว ในพื้นที่ที่มีชะนีต่างชนิดอาศัยอยู่หลายตัวเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นว่ามีกลไกการแบ่งแยกทางการสืบพันธุ์เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ชะนีลูกผสมที่พบ สามารถสืบพันธุ์และมีลูกได้ จึงไม่สามารถตัดความเป็นไปได้ที่ว่า กระบวนการเกิดลูกผสมอาจเป็นหนึ่งในการปรับตัวทางวิวัฒนาการของสัตว์ในกลุ่มชะนีก็เป็นได้


Khao Yai National Park is the only site in the world having the white-handed gibbon and the pileated gibbon coexisted in the zone of contact. Interestingly, some mixed adult pairs and hybrid animals have been observed. The existence of natural contact zones between species provides an exciting opportunity to investigate how speciation works and what prevents species from interbreeding. After 34 months of fieldwork, we located 18 groups of lar gibbons, 12 groups of pileated gibbons, 3 groups of mixed, and 2 hybrid groups. Home range sizes, diet and habitat preferences did not vary significantly between species affecting the existence of interspecific territoriality. The low numbers of hybrid individuals found despite the abundance of the two species in the area reflects the existence of reproductive isolation. However, since we observed that hybrids with offspring we cannot discard the possibility of hybridization leading to adaptive evolution of gibbons.


ที่มา: โครงการวิจัย การศึกษาพื้นที่อาศัย รูปแบบเส้นทางการใช้พื้นที่ และอาหารของชะนี (ชะนีมือขาว และชะนีมงกุฎ) โดย ดร.นอร์เบอร์โต อะเซนซิโอ


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.