• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Awards and Honors

Evaluation and comparison of environmental and economic aspects between individual and large scale farmers to alternative mitigation options

การประเมินและเปรียบเทียบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และการจัดการของเกษตรกรรายย่อยและการรวมกลุ่มของเกษตรกรทำนาแปลงใหญ่ สู่ทางเลือกเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

(Evaluation and comparison of environmental and economic aspects between individual and large scale farmers to alternative mitigation options)

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ

MU-SDGs Case Study

การประเมินและเปรียบเทียบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และการจัดการของเกษตรกรรายย่อยและการรวมกลุ่มเกษตรกรทำนาแปลงใหญ่ สู่ทางเลือกเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

Evaluation and comparison of environmental, economic and management aspects between individual and large scale farmers to alternative mitigation options

แหล่งทุน

-

ส่วนงานหลัก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ส่วนงานร่วม

 

ผู้ดำเนินการหลัก

รศ.ดร.นพพล อรุณรัตน์ 

ผู้ดำเนินการร่วม

ผศ.ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย

รศ.ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์ 

คำอธิบาย

การรวมกลุ่มทำนาแปลงใหญ่มีข้อดี 3 ด้าน 1) ดีต่อสิ่งแวดล้อม คือ ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยลดการปล่อยน้ำเสียสู่สิ่งแวดล้อม 2) ดีต่อรายได้ คือ ช่วยเพิ่มกำไรสุทธิให้กับเกษตรกร และ 3) ดีต่อสังคม คือ ช่วยสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม เห็นศักยภาพของสมาชิกในกลุ่ม เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชน

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม กว่าครึ่งหนึ่งของประชากรคนไทยอยู่ในภาคการเกษตร ในขณะเดียวกัน เกษตรกรรมปัจจุบันนับว่ามีผลต่อการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เนื่องจากเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การปล่อยก๊าซมีเทน ไนตรัสออกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์จากนาข้าว และเป็นแหล่งสะสมคาร์บอนในนาข้าว ดังนั้น การลดก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรกรรมจึงเป็นแนวทางที่ประชาคมโลกกำลังให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นแนวทางที่มีศักยภาพเชิงต้นทุน (คุ้มค่าในการลงทุน) อย่างมาก ด้วยเหตุนี้ วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย  คือ 1. เพื่อประเมินและเปรียบเทียบด้านสิ่งแวดล้อม (คาร์บอนฟุตพริ้นท์ วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ การใช้พลังงาน การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก) และด้านเศรษฐกิจ (ต้นทุนและผลตอบแทน) ของเกษตรกรรายย่อย และการรวมกลุ่มเกษตรกรทำนาแปลงใหญ่ 2. เพื่อประเมินทางเลือกในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของระบบผลิตข้าว ตลอดห่วงโซ่การผลิต และ 3. เพื่อศึกษาบทบาทของการสื่อสาร การมีส่วนร่วม และการจัดการของเกษตรกรรายย่อยและกลุ่มเกษตรกรทำนาแปลงใหญ่

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์

จุดเด่นของผลดำเนินงานโครงการสำหรับงานวิจัยครั้งนี้ คือ องค์ความรู้เกี่ยวกับประสิทธิภาพของการทำนาแปลงใหญ่ และประโยชน์ของการรวมกลุ่มของเกษตรกร และทำให้เกษตรกรในชุมชนเห็นว่า การทำนาแปลงใหญ่ ดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตข้าว (ช่วยลดโลกร้อน) ช่วยลดการปลดปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม ประกอบกับ การทำ “นาแปลงใหญ่” ดีต่อรายได้ ช่วยเพิ่มกำไรสุทธิให้กับเกษตรกร และการทำ “นาแปลงใหญ่” ยังดีต่อสังคมช่วยสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม เห็นศักยภาพของสมาชิกในกลุ่ม เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชน

 

นอกจากนี้ยังทำให้เกิดกระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารภายในชุมชนเพื่อเชิญชวนเกษตรกรเข้าร่วมกลุ่มนาแปลงใหญ่ แกนนำกลุ่มมักเริ่มต้นจากการพูดให้เกษตรกรเข้าใจและยอมรับปัญหาของตนเอง เช่น ปัญหาหนี้สิน การทำนาแล้วขาดทุน ขาดองค์ความรู้เรื่องข้าว พร้อมกับเน้นให้เกษตรกรติดตามรับฟังนโยบายของรัฐบาลที่สื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ  สำหรับการสื่อสารภายนอกกลุ่ม หรือ การสื่อสารระหว่างกลุ่ม มักสื่อสารผ่านการฝึกอบรม และแปลงเรียนรู้ จนนำไปสู่ความสำเร็จที่สามารถนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ผ่านงานวิจัยนี้

ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้จากงานวิจัยในชุมชน ท้องถิ่น จำนวน 2 ชุมชน คือ 1.กลุ่มเกษตรกรพอเพียงตำบลรังนก และ 2.กลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านบึงประดู่ เมื่อเกษตรกรนำกระบวนทำนาแบบแปลงใหญ่ไปปฏิบัติ ซึ่งได้เห็นผลจากงานวิจัยนี้ที่บ่งชี้ว่าช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยเพิ่มกำไรสุทธิ และที่สำคัญช่วยสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม และได้ใช้ประโยชน์  ได้ความรู้จากโครงการวิจัยนี้ ในการอบรมสมาชิกใหม่ เกษตรกรอื่น ๆ ที่เข้ามาอบรมและดูงานในพื้นที่  นับได้ว่าเป็นผลกระทบเชิงบวกจากงานวิจัย หรือ การต่อยอดงานวิจัยเกษตรรายย่อย และการรวมกลุ่มเกษตรกรทำนาแปลงใหญ่สู่ทางเลือกเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

SDG 13

 

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

 

SDG 2

รูปภาพประกอบ

รูปหน้าปก

 

รูปหน้ารายละเอียด

 

Key Message

 

การรวมกลุ่มทำนาแปลงใหญ่ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มกำไรสุทธิให้กับเกษตรกร และสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรในชุมชน

Links ข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

อัลบั้มภาพ

 

Partners/Stakeholders

-

ตัวชี้วัด THE Impact Ranking

-


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.