หัวข้อ |
รายละเอียด |
ชื่อโครงการ MU-SDGs Case Study |
โครงการรัฐสภาสีเขียว: เส้นทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Green Parliament: A Way towards Sustainable Development with Sufficiency Economy Concept |
แหล่งทุน |
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) |
ส่วนงานหลัก |
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ |
ส่วนงานร่วม |
- |
ผู้ดำเนินการหลัก |
รองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต |
ผู้ดำเนินการร่วม |
ผศ.ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน ดร.ภาณุวัฒน์ ประเสริฐพงษ์ |
คำอธิบาย |
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานโยบาย และยุทธศาสตร์ สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ภายใน พ.ศ. 2573 โดยประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9) และเพื่อพัฒนาชุดข้อมูลพื้นฐานในการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กรสำหรับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนของรัฐสภา รวมทั้งยังสามารถช่วยประเมินผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนสำนักงานเลขาธิการเป็นสำนักงานสีเขียว เนื่องจากชุดข้อมูลดังกล่าวมีการเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว การดำเนินการโครการนี้ จะสนับสนุนให้รัฐสภาเป็นแบบอย่างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่หน่วยงานอื่นในประเทศให้ ความร่วมมือส่งเสริมการเป็นองค์กรที่ยั่งยืนเช่นเดียวกัน โดยสนับสนุนการดำเนินยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี |
เนื้อหา MU-SDGs Case Study
|
ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ 1) เพื่อพัฒนานโยบาย และยุทธศาสตร์ สู่รัฐสภาสีเขียวที่ยั่งยืน ตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ครอบคลุม มิติสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยประยุกต์ใช้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พิจารณาการดำเนินการในระยะถึง ปี 2573 2) เพื่อพัฒนาชุดข้อมูลพื้นฐาน ตัวชี้วัด รวมทั้งเป้าหมายสำหรับติดตามและประเมินผลการ ดำเนินงานสู่ความยั่งยืนของรัฐสภาไทย สอดรับกับนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ได้พัฒนาขึ้น และ การขับเคลื่อนสำนักงานเลขาธิการเป็นสำนักงานสีเขียว 3) เพื่อสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร (Intranet) อำนวยความสะดวก เจ้าหน้าที่ในการรวบรวมและประมวลผลข้อมูล ตามชุดข้อมูลพื้นฐาน ตัวชี้วัด และเป้าหมาย สู่ รัฐสภาสีเขียวที่ยั่งยืน การดำเนินการ 1) การรวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ผ่านการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และ ฐานข้อมูลการใช้ทรัพยากรที่ผ่านมา เพื่อคำนวณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก อ้างอิง IPCC 2019 2) การจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และเป้าหมายการเป็นรัฐสภาสีเขียวที่ยั่งยืน ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก และ แบบสอบถาม 2.1) การจัดทำการประเมินความสำคัญและผลกระทบจากการดำเนินนโยบาย ด้วย แบบสอบถามประเมินองค์กร 2.2) การประเมินสภาวะปัจจุบัน (Baseline) เพื่อให้ทราบถึงความพร้อม โดยนำข้อมูลจากการดำเนินงานที่ผ่านมาของ Green Office การลงพื้นที่รัฐสภา และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ประเมินเทียบกับเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับ อาทิ LEED เกณฑ์ อาคารเขียวของ TGBI และ Green office 3) การจัดทำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร (Intranet) 4) การจัดอบรมให้ความรู้ ผลการดำเนินงาน 1) การประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของรัฐสภาในระหว่างปี พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2564 มี แนวโน้มเพิ่มสูงมากขึ้นจากปี พ.ศ. 2562 เนื่องจากรัฐสภาแห่งใหม่เริ่มเปิดการใช้งานอย่างเต็มรูปแบบส่งผลให้ มีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กรเพิ่มมากขึ้น และเพิ่มขึ้นอย่างมากในแต่ละปี ทำให้เกิดความน่าเป็นห่วงถึงสถานการณ์การใช้พลังงาน ซึ่งควรมีมาตรการในการลดการใช้พลังงานอย่างเร่งด่วน 2) การประเมินเทียบกับเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับ ประกอบด้วย เกณฑ์อาคารเขียวของต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ LEED (Leadership in Energy & Environmental Design) เกณฑ์อาคารเขียวไทยของ TGBI และการประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) จากการประเมินคณะผู้วิจัยได้ระบุแนวทางการแก้ไขปัญหาและเสนอแผนการดำเนินงาน สู่รัฐสภาสีเขียวที่ยั่งยืน ในระยะ 10 ปี แบ่งเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยหากนำแผนดำเนินงาน ดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับการดำเนินการตามรายละเอียดในข้อกำหนดของ แต่ละเกณฑ์การประเมินจะสามารถขอรับรองอาคารเขียวทั้ง 3 เกณฑ์ ภายในปี 2573 ได้ 3) คณะผู้วิจัยดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูลในระบบ Intranet โดยพัฒนาขึ้นเพื่อให้บุคลากรในรัฐสภา สามารถจัดเก็บข้อมูลได้อย่างเป็นระบบและสร้างฐานข้อมูลการใช้ทรัพยากรให้มีความถูกต้องและต่อเนื่อง ตลอดจนสามารถวิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้มการใช้ทรัพยากรขององค์กร เพื่อกำหนดเป้าหมายการพัฒนา อย่างยั่งยืนขององค์กรได้ 4) การอบรมจำนวน 2 ครั้ง ใน รูปแบบออนไลน์ จากผลการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม พบว่า เมื่อผ่านการอบรมผู้เข้าร่วมอบรมมี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มมากขึ้น
การนำไปใช้ประโยชน์
มีผลงานตีพิมพ์
Abstract Thai parliament is a national legislative body with duty of law enactment for country administration. When the body can be a good example as a successfully sustainable body, it can encourage other organizations to follow the success via adoption of sustainable development concept. The objective of this research is to develop policy and strategy for Thai parliament in enhancement to achieve United Nations’ Sustainable Development Goals (SDGs) by 2030. The development was based on sufficiency economy philosophy and to establish intranet system to facilitate collection of any information or activity contributing to sustainable development of the Thai parliament. In this research, in-depth interview and questionnaire survey were conducted to gather perception on sustainable development and knowledge of 20 executives and 443 parliament’s personnel, respectively. In addition, a comparative study on current baseline, Leadership in Energy & Environmental Design (LEED), Thai's Rating of Energy and Environmental Sustainability (TGBI) and Thai’s Green Office were performed in order to provide suggestion on how to satisfy the standards to be a green building by establish a 10-year plan to achieve green parliament goal in 2030 which could be applied in annual action plan together with implementation in requirements of each standard. Moreover, Intranet system has been established in order to gather data and evaluate performance to achieve a sustainable green parliament goal. According to the 2019 Intergovernmental Panel on Climate Change method, it was found that the greenhouse gas has emission of Thai parliament tended to increase across 2019, 2020 and 2021 with magnitude of 5,112 tonCO2-eq, 9,843 tonCO2-eq and 14,018 tonCO2-eq, respectively, based on consumption of water, power and paper. |
ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น |
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานโยบาย และ ยุทธศาสตร์ สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ภายใน พ.ศ. 2573 โดยประยุกต์ใช้ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9” และเพื่อพัฒนาชุดข้อมูลพื้นฐานในการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กรสำหรับติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนของรัฐสภา |
ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก |
ระดับชุมชน ควรพิจารณามีการร่วมมือกับชุมชนโดยรอบ เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็น ตลอดจนการเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเข้มแข็งของชุมชนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ดับหลังจากการดำเนินงานของ หน่วยงานภายในสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว ระดับประเทศ เป็นแบบอย่างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่หน่วยงานอื่นในประเทศให้ ความร่วมมือส่งเสริมการเป็นองค์กรที่ยั่งยืนเช่นเดียวกัน โดยสนับสนุนการดำเนินยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ระดับโลก เสริมสร้างสัตยาบันในระดับนานาชาติ สามารถนำเสนอผลความสำเร็จการริเริ่มการเป็นรัฐสภาสีเขียวที่ ยั่งยืนสู่เวที และนานาชาติได้ในอนาคต |
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม |
13 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง |
12 |
รูปหน้าปก |
|
รูปหน้ารายละเอียด |
ตามไฟล์แนบ |
Key Message |
การส่งเสริมรัฐสภาไทยให้เป็นองค์กรต้นแบบ สร้างความตระหนัก ความสำคัญ และ ส่งเสริมการพัฒนาสังคมที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืนตามหลักการขององค์การสหประชาชาติ (DGs) ภายใน พ.ศ. 2573 โดยประยุกต์ใช้ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9” |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม |
https://mahidol.ac.th/th/2023/mahidol-parliament-meeting/ |
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย |
ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation |
Partners/Stakeholders |
สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร |
ตัวชี้วัด THE Impact Ranking |
13.3.3 |