• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ขั้นตอนการส่งบทความในวารสารผ่านระบบสากล Editorial Manager และการสืบค้นดัชนีวัดคุณภาพวารสาร (Journal Metric) ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ

การบรรยายด้านการวิจัย (Research Talk) เรื่อง “ขั้นตอนการส่งบทความในวารสารผ่านระบบสากล Editorial Manager และการสืบค้นดัชนีวัดคุณภาพวารสาร (Journal Metric) ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานบริหารการวิจัยได้จัดกิจกรรมบรรยายด้านการวิจัย (Research Talk) ในหัวข้อเรื่อง “ขั้นตอนการส่งบทความในวารสารผ่านระบบสากล Editorial Manager และการสืบค้นดัชนีวัดคุณภาพวารสาร (Journal Metric) ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ” ในวันพุธที่ 18 สิงหาคม 2564 เวลา 13.20 – 15.00 น. แบบออนไลน์ ผ่านทาง Cisco Webex และ Facebook live

โดยมี นางสาวอิสรีย์ อภิญญา Journal manager วารสาร EnNRJ เป็นผู้บรรยาย

สรุปเนื้อหาสำคัญแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

1. ระบบ Editorial Manager

- ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับระบบวารสารออนไลน์ Editorial Manager เป็นระบบสำหรับการส่งบทความทางวิชาการออนไลน์ของ Aries Systems และใช้สำหรับบริหารจัดการงานวารสารทางวิชาการ ที่ใช้กันโดยแพร่หลายในระดับสากล ซึ่งระบบนี้จะช่วยให้การจัดการงานวารสารง่าย สะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งมีการดำเนินงานที่การเชื่อมโยงระหว่าง ผู้ส่งบทความ บรรณาธิการ และผู้ตรวจประเมินบทความ ระบบยังมีระบบการติดตามและการแจ้งเตือนอัตโนมัติจึงทำให้การทำงานของวารสารเป็นไปได้อย่างเรียบร้อย

- ขั้นตอนการส่งบทความในวารสารผ่านระบบ Editorial Manager ผู้ใช้งาน จะต้องสมัครเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ของวารสารที่ผู้เขียนสนใจ ตัวอย่างเช่น วารสาร Environment and Natural Resources Journal (EnNRJ) โดยไปที่ เว็บไซต์ https://www.editorialmanager.com/ennrj/default.aspx โดยผู้เขียนต้อง Register (สำหรับผู้ใช้งานครั้งแรก) และ Login เพื่อส่งบทความเข้าระบบตามขั้นตอน

- ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนการส่งบทความตั้งแต่การระบุประเภทของบทความ การแนบไฟล์ตามที่วารสารต้องการ การใส่ข้อมูลเบื้องต้นของผู้เขียน รวมทั้งการระบุหมวดหมู่ของบทความ ซึ่งมีความเป็นที่จะต้องระบุให้ถูกต้องและสอดคล้องกับบทความมากที่สุด เนื่องจากหมวดหมู่นี้จะถูกเชื่อมโยงเพื่อให้เหมาะสมกับความเชี่ยวชาญของผู้เชี่ยวชาญที่จะเป็นผู้ตรวจประเมินบทความในขั้นตอนต่อไป และขั้นตอนที่สำคัญของการส่งบทความอีกอย่างหนึ่งคือ ข้อมูลรายละเอียดของบทความ มีความจำเป็นจะต้องกรอกข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วนทั้งหมด ก่อนที่จะทำการส่งบทความ

- สำหรับอาจารย์ยังมีอีกหน้าที่ที่อาจจะได้ใช้งานระบบ EM คือ ท่านได้รับเชิญให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจประเมินบทความ (Reviewer) โดยระบบจะมีอีเมลส่งเชิญไปยังผู้เชี่ยวชาญ ท่านสามารถตอบรับหรือปฏิเสธที่จะอ่านบทความได้ หากตอบรับตรวจประเมิน ลิงก์จะเชื่อมต่อไปยังระบบ EM ในส่วนการประเมินบทความให้ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการประเมินบทความได้อย่างสะดวก - ระบบ EM จะมีการอัพเดทสถานะของบทความอย่างเป็นปัจจุบัน ซึ่งผู้แต่งสามารถเข้าไปเช็คการอัพเดทได้ตลอดเวลา


 

2. ประกาศมหาวิทยาลัยและส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนค่าตอบแทนผลงานตีพิมพ์ และดัชนีวัดคุณภาพวารสาร (Journal Metrics) เบื้องต้นและที่เกี่ยวข้องกับประกาศ

- ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประกาศของมหาวิทยาลัย (3 ประกาศ) และส่วนงาน (1 ประกาศ) ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนค่าตอบแทนผลงานตีพิมพ์ หลักเกณฑ์ ข้อกำหนดต่างๆ ที่ควรรู้

- ความหมายของดัชนีวัดคุณภาพวารสารที่สำคัญของฐานข้อมูลหลัก 2 ฐานข้อมูล ได้แก่ Scopus และ Web of Science

- การแปลความหมายของดัชนีวัดคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล Scopus ที่สำคัญและจำเป็น ได้แก่ CiteScore, Scimago Journal & Country Rank (SJR) และ Quartile ของ SJR

- การแปลความหมายดัชนีวัดคุณภาพวารสาร (Journal Metric) ในฐานข้อมูล Web of Science ที่สำคัญและจำเป็น ได้แก่ Journal Impact Factor (JIF) และ Quartile ของ JIF

- สาธิตขั้นตอนและวิธีการสืบค้นข้อมูลดัชนีวัดคุณภาพวารสาร ได้แก่ 1) การสืบค้นค่า Top10% ในฐานข้อมูล 2) การสืบค้นข้อมูลวารสารในฐานข้อมูล Scopus และข้อมูลของดัชนีวัดคุณภาพวารสารที่ควรรู้ 3) การสืบค้นข้อมูลวารสารในฐานข้อมูล Web of Science และข้อมูลของดัชนีวัดคุณภาพวารสารที่ควรรู้

โดยการบรรยายนี้ผู้เข้าร่วมชมจำนวน 57 คน

รับชมย้อนหลัง | เอกสารประกอบการบรรยาย EM | Journal Metric


© 2025 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.