• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

โครงการขับเคลื่อน Climate Change and Net Zero (CN) Platform


โครงการขับเคลื่อน Climate Change and Net Zero (CN) Platform

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม: SDG 13

 

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

ในการประชุมสมัชชารัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ประเทศไทยได้ประกาศแสดงเจตจำนงความมุ่งมั่นที่มีความท้าทายต่อการยกระดับการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปีค.ศ.2050  (Carbon Neutrality 2050) และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปีค.ศ.2065 (Net Zero Emissions 2065)  รวมถึงยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 ได้บรรจุเป้าหมายในการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข

การขับเคลื่อนการสร้าง platform เครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรและนักวิจัยที่มีเป้าประสงค์ในการมุ่งเน้นงานวิจัยด้าน Climate Change and Net Zero โดยการสร้างโอกาสให้กลุ่มนักวิจัยที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาให้มีโอกาสพบปะ ปรึกษาหารือ สร้างบรรยากาศการวิจัย และการอภิปรายระดมสมอง (Brainstorming) ของนักวิจัยจากหลากหลายส่วนงาน ทั้งยังเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้เกิดการพัฒนางานวิจัยแบบสหสาขาที่มีคุณค่า และสร้างสรรองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีศักยภาพสูงในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในระดับประเทศ

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ จึงได้จัดโครงการขับเคลื่อน Climate Change and Net Zero (CN) Platform เพื่อเป็นเวทีในการสร้างเครือข่ายและผนึกกำลังนักวิจัยเพื่อพัฒนางานวิจัยด้าน Climate Change and Net Zero

 

การดำเนินการ

1) จัดการบรรยายพิเศษและอภิปรายแลกเปลี่ยนโดยการระดมสมองเพื่อพัฒนางานวิจัยด้าน Climate Change and Net Zero ระหว่างส่วนงานต่างๆ

2) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) โครงการขับเคลื่อน Climate Change and Net Zero (CN) Platform (ครั้งที่ 2)

3) ประเมินให้ข้อคิดเห็นร่างข้อเสนอโครงการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และประชุมปรับปรุงแก้ไขร่างโครงการวิจัย CN Proposal ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ

 

ผลการดำเนินงาน

1) 30 พฤศจิกายน 2566 เวลา 8.30-12.00 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยกรศาสตร์ จัดโครงการขับเคลื่อน Climate Change and Net Zero (CN) Platform โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯ และ รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กล่าวรายงานการดำเนินโครงการฯ โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการบรรยายในหัวข้อ “มุ่งสู่ Net Zero Emission ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงด้านสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เป็นวิทยากรบรรยาย โดยมีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับบทบาทของแหล่งทุนวิจัยกับการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก่อนเข้าสู่กิจกรรมการอภิปรายระดมสมองร่วมกับผู้แทนจากส่วนงานต่างๆจำนวน 83 ท่าน เพื่อการพัฒนางานวิจัยด้าน Climate Change and Net Zero โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเครือข่ายนักวิจัยและการบูรณาการงานวิจัยข้ามศาสตร์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างผลงานวิจัยคุณภาพสูง และเป็นที่ยอมรับในระดับสากลต่อไป    

 

โครงการฯ จัดขึ้น ณ ห้องศาสตรเมธี ดร.พงศ์พิศน์ ปิยะพงศ์ (4228) ชั้น 2 อาคาร 4 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย งานบริหารการวิจัย ร่วมกับสำนักงานวิทยบริการด้านสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  มีผู้เข้าร่วมฟังการบรรยายจากส่วนงานในมหาวิทยาลัยมหิดล หน่วยงานภายนอก และบุคคลผู้สนใจทั่วไป รวม 18 หน่วยงาน จำนวน 65 คน และผู้เข้าร่วมประชุมจาก Facebook Live 17 คน รวมจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 82 คน

 

โดยท่านสามารถรับชมการบรรยายในหัวข้อ “มุ่งสู่ Net Zero Emission ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม” >> ชมย้อนหลัง <<

>> เรียกดูเอกสารประกอบการบรรยาย <<


ขั้นตอนปฏิบัติ

ขั้นตอนปฏิบัติ

เพื่อให้ผู้มาขอให้บริการเข้าใจขั้นตอนต่างๆ ในการขอรับบริการงานบริหารงานวิจัยจึงได้รวบรวมขั้นตอนการทำงาน (Workflow) ไว้สำหรับทุกท่าน
ดูขั้นตอนต่างๆ ในการขอรับบริการ
This image for Image Layouts addon

แบบสำรวจข้อมูล

แบบสำรวจข้อมูลเพื่อนำไปสู่การค้นหาทุนที่เหมาะสมกับความเชี่ยวชาญของนักวิจัย
เข้าสู่แบบสำรวจ
© 2025 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.