• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ปฎิบัติการทำฝนบรรเทา-ยับยั้งความรุนแรงของพายุลูกเห็บ

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  19 มีนาคม 2566

นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า ตามที่ขณะนี้บริเวณพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยกำลังได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมภาคเหนือและภาคกลางตอนบน ประกอบกับมีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีลูกเห็บตกบางแห่งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน รวมถึงในช่วงวันที่ 20 – 22 มีนาคม 2566 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน จึงทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง มีลูกเห็บตกและอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนจากสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามช่วยเหลือย่างใกล้ชิด กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่และสภาพอากาศเป็นประจำทุกวัน ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.เชียงใหม่ และ จ.พิษณุโลก ได้ปฏิบัติการฝนหลวงภารกิจยับยั้งความรุนแรงของพายุลูกเห็บช่วงวันที่ 16-18 มีนาคม 2566 ช่วยเหลือบริเวณพื้นที่ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ

ทั้งนี้ การปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งความรุนแรงของพายุลูกเห็บ เป็นการทำฝนหลวงในขั้นตอนที่ 5 โดยใช้เครื่องบินติดเครื่องมือยิงพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์เข้าไปสลายกลุ่มเมฆที่มีการก่อตัวในระดับสูงและหนาแน่นเป็นผลึกน้ำแข็งหรือลูกเห็บ เพื่อทำให้ผลึกน้ำแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นเม็ดน้ำละลายตกลงมาเป็นน้ำฝน ซึ่งจะช่วยบรรเทาความรุนแรงและความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้ สำหรับภารกิจด้านการช่วยบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่า สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ รวมถึงความต้องการน้ำของพื้นที่การเกษตรที่มีการร้องขอฝนหลวงเข้ามาอย่างต่อเนื่อง กรมฝนหลวงฯ ได้มีการติดตามและปฏิบัติภารกิจทุกวันอย่างไม่มีวันหยุดเช่นกัน ซึ่งผลปฏิบัติการฝนหลวงในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า ทำให้มีฝนตกช่วยบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่าบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบใน จ.ตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กาญจนบุรี ลำพูน พะเยา เชียงใหม่ แพร่ น่าน และมีฝนตกบริเวณพื้นที่การเกษตรบางส่วนของ จ.น่าน พะเยา ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และ จ.ตราด กล่าวทิ้งท้าย


ขั้นตอนปฏิบัติ

ขั้นตอนปฏิบัติ

เพื่อให้ผู้มาขอให้บริการเข้าใจขั้นตอนต่างๆ ในการขอรับบริการงานบริหารงานวิจัยจึงได้รวบรวมขั้นตอนการทำงาน (Workflow) ไว้สำหรับทุกท่าน
ดูขั้นตอนต่างๆ ในการขอรับบริการ
This image for Image Layouts addon

แบบสำรวจข้อมูล

แบบสำรวจข้อมูลเพื่อนำไปสู่การค้นหาทุนที่เหมาะสมกับความเชี่ยวชาญของนักวิจัย
เข้าสู่แบบสำรวจ
© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.