• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานด้วยโปรแกรม QGIS

โครงการบริการวิชาการ

หลักสูตร "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานด้วยโปรแกรม QGIS"

ระหว่างวันที่ 23 - 24 พฤษภาคม 2567

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ GIS อาคารสารสนเทศผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

***********************************************************

ลิงก์ลงทะเบียน https://forms.gle/2DuidvjYJG6eD2S8A

***********************************************************

หลักการและเหตุผล

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้นำเข้า ปรับปรุง แก้ไข วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการตัดสินใจและวิเคราะห์ปัญหาในเชิงพื้นที่ ประกอบกับปัจจุบันระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย เช่น การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ การวางผังเมือง และการจัดการสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้าและประปา เป็นต้น ดังนั้น การเข้าใจกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการนี้ งานสารสนเทศ ร่วมกับศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดโครงการบริการวิชาการ หลักสูตร "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานด้วยโปรแกรม QGIS" ระหว่างวันที่ 23 – 24 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ GIS อาคารสารสนเทศผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาทักษะเดิม (Upskill) และสร้างทักษะใหม่ (Newskill) ให้แก่นักศึกษา บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนผู้สนใจ สำหรับใช้ในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภูมิสารสนเทศ

เนื้อหาภายในหลักสูตรจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เข้าใจวิธีการสร้าง การจัดการข้อมูล เข้าใจการเชื่อมโยงระหว่างระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กับการรับรู้จากระยะไกล และระบบดาวเทียม GNSS ตลอดจนการใช้ประโยชน์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในด้านต่าง ๆ รวมทั้งฝึกปฏิบัติการใช้งานโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แบบรหัสเปิด (Open source GIS software) ที่มีความทันสมัย เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้ในระดับสูงต่อไป

สิ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับ

  1. เข้าใจหลักการพื้นฐานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  2. เข้าใจกระบวนการทำงาน วิธีการ และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  3. เข้าใจความสัมพันธ์และความเชื่อมโยง ตลอดจนประโยชน์ของเทคโนโลยีภูมิสารเทศ (GIS RS และ GNSS)
  4. สามารถใช้งานโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ QGIS เพื่อสร้าง ปรับปรุง แก้ไข จัดการ วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ผ่านแผนที่ได้

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม: สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐานได้ดี

ระยะเวลาดำเนินการ: 2 วัน ระหว่างวันที่ 23 - 24 พฤษภาคม 2567

สถานที่ดำเนินการ: ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ GIS
อาคารสารสนเทศผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อัตราค่าลงทะเบียน: 3,500 บาท /คน

 

กำหนดการ

วันที่ 23 พฤษภาคม 2567

9:00-10:30 น.

การแนะนำโปรแกรม QGIS และภูมิสารสนเทศ

-          GUI ของโปรแกรม QGIS

-          การตั้งค่าการทำงาน

-          แหล่งข้อมูลภูมิสารสนเทศ

-          การแสดงข้อมูลภูมิสารสนเทศในโปรแกรม QGIS

10:30-10:45 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

10:45-12:00 น.

การจำแนกข้อมูลสำหรับแสดงแผนที่

-          การกำหนดสัญลักษณ์ข้อมูล

-          การจำแนกข้อมูลในตารางข้อมูล

12:00-13:00 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

13:00-14:45 น.

การกรองและสืบค้นข้อมูล

-          การเชื่อมโยงตารางข้อมูล

-          การสืบค้นข้อมูลลักษณะประจำ

-          การสืบค้นข้อมูลเชิงพื้นที่

-          การกรองข้อมูลตามเงื่อนไขที่กำหนด

14:45-15:00 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

15:00-15:50น.

การนำเข้าและแก้ไขข้อมูล

-          การนำเข้าข้อมูลจากตารางข้อมูล

-          การนำเข้าข้อมูลจากการดิจิไทซ์

-          การคำนวณข้อมูลในตารางข้อมูล

15:50-16:00 น.

ตอบข้อซักถาม

 

 

วันที่ 23 พฤษภาคม 2567

9:00-10:30 น.

การวิเคราะห์ข้อมูลเวกเตอร์

-          การสร้างแนวกันชน (Buffer)

-          การวางซ้อน (Overlay)

-          การสร้างแผนที่ความร้อน (Heatmap)

10:30-10:45 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

10:45-12:00 น.

การสร้างแบบจำลองด้วย Graphical Modeler

-          การกำหนดข้อมูลนำเข้าในแบบจำลอง

-          การกำหนดชุดคำสั่งในแบบจำลอง

12:00-13:00 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

13:00-14:45 น.

การจัดทำแผนที่

-          การตั้งค่า Layout

-          การเพิ่มและกำหนดคุณสมบัติขององค์ประกอบแผนที่

-          การส่งออกแผนที่

14:45-15:00 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

15:00-15:50 น.

การฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์และจัดทำแผนที่

15:50-16:00 น.

ตอบข้อซักถาม

หมายเหตุ: กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


ผู้ประสานงาน

ปฐมพต  ฉินสวัสดิ์พันธุ์ 

เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม

สำนักวิทยบริการด้านสิ่งแวดล้อม

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทรศัพท์ 02-441-5000 ต่อ 2226 โทรศัพท์มือถือ 098-6654331

 


ค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Power Green Camp) ปีที่ 19

มาแล้ว !!! รายละเอียดการรับสมัครเข้าร่วมค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Power Green Camp) ปีที่ 19 (เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 31 มี.ค. 67)
.
ปีนี้มาในธีมอะไร?
🌳🏡🌳 “Urban Rewilding: ป่า - เมือง - ชีวิต" 🐿️🦉🦋
.
สมัครวันไหน และจัดกรรมวันไหนบ้าง?
📍 1 – 31 มี.ค. 67: เปิดรับสมัครผ่าน www.powergreencamp.com
📍 17 เม.ย. 67: ประกาศผลรับสมัคร
📍 28 เม.ย. – 4 พ.ค 67: จัดกิจกรรมสุดมันหลากหลายรูปแบบ
.
มีกิจกรรมอะไรน่าสนใจบ้าง?
🌳 เรียนรู้ความสำคัญของป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ และสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง ป่า - เมือง – ชีวิต
🌳 รู้จักสมุนไพรไทย พืชสำคัญของป่าเมือง (Biodiversity and Herbal Walk) ณ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
🌳 สำรวจผืนป่า ศึกษาธนาคารทรัพยากรชีวภาพ (Bio Banks) ต้นกำเนิดป่าเมือง
🌳 สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพทั้งชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ และกระบวนการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน
🌳 เรียนรู้การถอดรหัสพยากรณ์จากต้นไม้
🌳 ศึกษาตัวชี้วัดคุณภาพน้ำและอากาศ ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนเมือง
🌳 กิจกรรมปลูกป่าฟื้นคืนไม้พื้นถิ่นและฟื้นคืนป่าเมือง
🌳 ทำความรู้จัก “รุกขกร” (Arborist) นักศัลยกรรมต้นไม้ที่มีบทบาทสำคัญในการออกแบบและพัฒนาป่าในเมือง
🌳 กิจกรรม ‘คบเด็กสร้างเมือง’ ชวนคนรุ่นใหม่มาร่วมออกแบบเมืองยั่งยืนในฝัน
🌳 กิจกรรมการอาบป่า (Forest Bathing) เปิดประสาทสัมผัสทั้งห้า (รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส) เชื่อมต่อกับธรรมชาติ
🌳 การประกวดโครงงานกลุ่มวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เพื่อชิงทุนการศึกษา พร้อมเกียรติบัตร โดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยมหิดลให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
.
ใครสมัครได้บ้าง?
🙋‍♀️ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ (ไม่จำกัดแผนการเรียน) และ ปวช.
.
อยากสมัคร ต้องทำอย่างไร?
👉🏻 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม พร้อมสมัครออนไลน์ผ่านลิงก์นี้ได้เลยจ้า > https://www.powergreencamp.com/index.php/register-pg19/
.
หากมีข้อสงสัย ติดต่อใครได้บ้าง?
💌 ส่งข้อความ Ib มาที่เพจ PowerGreen Camp แอดมินทุกคนเต็มใจรอพร้อมตอบทุกข้อสงสัย
📞โทรสอบถาม พี่จอห์น 0-2441-5000 ต่อ 2226 หรือ พี่ติ๊ดตี่ 099-104-4999 ผู้ประสานงานโครงการฯ
📧 ส่งอีเมลมาสอบถามได้ที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
.
ถ้าเธอเหนื่อยล้า จงสมัครมาสำรวจป่ากับเรานะ 🙂 อย่ารอช้า เปิดรับสมัครแค่ 1 เดือนเท่านั้น!


โครงการ Net Zero School

โครงการ Net Zero School

 

  1. หลักการและเหตุผล

              ปัจจุบันทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ปัจจัยหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งประเทศไทยได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะการเกิดภาวะโลกร้อน และปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน (Global Warming) เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ สาเหตุมาจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การคมนาคม เศรษฐกิจ การใช้พลังงานรูปแบบต่างๆ ที่สูงขึ้น รวมทั้งการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ สำหรับประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 21 ของโลก ในปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 354 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และคาดว่าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดเท่ากับ 368 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี พ.ศ. 2568 (องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก) และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากการใช้พลังงาน ในปี พ.ศ. 2565 พบว่าประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 247 ล้านตัน (สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน) ทั้งนี้ ผลการประเมินขององค์กร CAT (Climate Action Tracker) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือขององค์กรวิจัยนานาชาติ เพื่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ยังพบว่าประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศซึ่งทำให้อุณหภูมิโลกสูงถึง 4 องศาเซลเซียส และประเทศไทยยังถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลกที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติทางภูมิอากาศอีกด้วย

              คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมและพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมนุษย์ จึงได้จัดให้มีโครงการ Net Zero School โดยเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจผ่านกิจกรรมง่ายๆ ที่นักเรียนในโรงเรียนสามารถช่วยกันปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) หรือการไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเลย โดยคำนึงถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต ซึ่งมีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ โดยเฉพาะการฝึกฝนทักษะให้นักเรียนได้รู้จักคิดวิเคราะห์หาเหตุผล รูปแบบกิจกรรมจะเน้นการปฏิบัติ และฝึกฝนทักษะการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ให้มีการจัดกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โดยให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าว ทั้งนี้ จะมีบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมกำหนดกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในโรงเรียน หรือ Net Zero School โดยมีเป้าหมายในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และเจตคติที่ดีและถูกต้องเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตลอดจนเพื่อสร้างเครือข่ายและแกนนำของเยาวชนในการสื่อสารไปสู่ครอบครัว และชุมชนท้องถิ่นให้ร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อไป

 

 

  1. วัตถุประสงค์
    • เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในโรงเรียน
    • เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสำนึกในการร่วมกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน
    • เพื่อให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และพัฒนาโรงเรียนของตนเองผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย รวมทั้งการสร้างแกนนำในการร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน

 

  1. 3. คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ

เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6

 

  1. 4. รูปแบบการจัดการกิจกรรม

         แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม โดยดำเนินการทำกิจกรรม ดังนี้

 

          กิจกรรมที่ 1 การจัดการขยะอย่างยั่งยืน

  • รวบรวมขยะทุกประเภทภายในโรงเรียน
  • ฝึกการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ
  • เรียนรู้เรื่องการจัดการขยะตามหลัก 3Rs (Reuse, Reduce, Recycle)
  • วิธีการคำนวณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการคัดแยกขยะ
  • ฝึกคิดค้นนวัตกรรมและใช้ประโยชน์จากขยะ มุ่งสู่ Zero Waste โดยยึดหลัก Circular Economy

                   อุปกรณ์ที่ใช้ – ตาชั่ง ถุงดำ เชือก กระดาษ ดินสอ/ปากกา เครื่องย่อยขยะ

 

          กิจกรรมที่ 2 การจัดการน้ำเสีย

  • สำรวจจุดปล่อยน้ำเสียของโรงเรียน
  • การวิเคราะห์คุณสมบัติพื้นฐานของน้ำเสีย
  • การเก็บตัวอย่างน้ำเสีย
  • การวิเคราะห์คุณภาพน้ำเสียเบื้องต้น
  • วิธีการคำนวณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการน้ำเสีย
  • ร่วมกันคิดหาแนวทางการจัดการน้ำเสียในโรงเรียน

เช่น การทำถังกรองสำหรับดักไขมัน การกรอง/ดักเศษอาหารหรือขยะ

                   อุปกรณ์ที่ใช้ – กระดาษ ดินสอ/ปากกา กระบอกเก็บน้ำ เครื่องวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH meter) เครื่องวัดออกซิเจนในน้ำ (DO) การวิเคราะห์ค่า BOD ตะแกรง ชุดกรอง มีด/กรรไกร

          กิจกรรมที่ 3 การประหยัดพลังงาน

  • การสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าในโรงเรียน
  • มาตรการประหยัดพลังงานในโรงเรียน
  • วิธีการคำนวณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ไฟฟ้า
  • การศึกษาแนวทางการใช้พลังงานทดแทน
  • แนวคิด/นวัตกรรมในการประหยัดพลังงาน
  • ฝึกการต่อวงจรแผง Solar cell ผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เอง

                    อุปกรณ์ที่ใช้ – ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของโรงเรียน กระดาษ ดินสอ/ปากกา แผง Solar cell ขนาดเล็ก แบตเตอรี่ หลอดไฟ

 

          กิจกรรมที่ 4 การปลูกต้นไม้และการกับเก็บคาร์บอน

  • การวัดต้นไม้ทุกชนิดในโรงเรียน
  • การคำนวณการกักเก็บคาร์บอนในต้นไม้
  • การเก็บดิน และคำนวณคาร์บอนในดิน
  • การประเมินคุณสมบัติของดินเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวและผลิดอาหารปลอดภัยในโรงเรียน
  • หาพื้นที่พัฒนา pocket park ในโรงเรียน
  • วิธีการทำปุ๋ยหมัก การปลูกผักอินทรีย์ และการทำแปลงผักในโรงเรียน

อุปกรณ์ที่ใช้ – ชุดตรวจวิเคราะห์ดิน (Soil Test Kit) สายวัด/ตลับเมตร สารจุลินทรีย์หรือสารเร่ง พด. ต่างๆ เมล็ดพันธุ์ปลูกผัก อิฐบล็อก จอบ เสียบ ส้อมพรวนดิน ช้อนปลูก บัวรดน้ำ โดรน (Drone) ชุดตรวจวัดระดับฝุ่น PM2.5

         

          กิจกรรมที่ 5 การจัดตั้งธนาคารขยะ

  • แนวทางการจัดตั้งธนาคารขยะ และวิธีดำเนินการ
  • รับฟังและแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากสถานที่ที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการธนาคารขยะ เช่น หมู่บ้านเอื้ออาทร ศาลายา นครปฐม
  • บทบาทสมมติ (Role Play) กระบวนการจัดตั้งธนาคารขยะของโรงเรียน
  • จัดตั้งธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) platform ของโรงเรียน

                    อุปกรณ์ที่ใช้ – กระดานฟลิปชาร์ทพร้อมกระดาษ ปากกาเคมี

 

  1. องค์กรจัดงาน

              คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

  1. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    • นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในโรงเรียนได้
    • นักเรียนมีจิตสำนึกในการร่วมกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน
    • นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และพัฒนาโรงเรียนของตนเองผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย รวมทั้งมีแกนนำในการร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนได้

 

  1. การประเมินผลสำเร็จโครงการ
  • Pre-Post Test เพื่อประเมินความรู้และความเข้าใจของนักเรียนทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission)
  • แบบประเมินผลรายกิจกรรม (ประเมินทุกกิจกรรม)
  • แบบประเมินผลการจัดโครงการโดยภาพรวม

 


การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร


⇒ สมัครอบรมออนไลน์ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSeKTMMGS9i7XPNvnr-jd4ZY9np8YwrnLw7mcZVGlDJTq5ypQQ/viewform


โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

“การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และมาตรฐาน ISO 14064

ระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤษภาคม 2567

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล

**************************************************

  1. หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกและภาวะโลกร้อน (Global Warming) มีสาเหตุหลักจาก

กิจกรรมในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบันมีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การคมนาคมเศรษฐกิจ

การใช้พลังงานรูปแบบต่างๆ ที่สูงขึ้น รวมทั้งการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่นๆ สิ่ง

เหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เป็นปัญหาสำคัญที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างตื่นตัวที่จะดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น หลายประเทศมีการคำนวณหาปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เพื่อติดตามตรวจสอบและรายงานผลการปล่อยหรือดูดกลับก๊าซเรือนกระจกตลอดจนพยายามที่จะหาแนวทางในการบริหารจัดการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ

"คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint)" คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร หรือจากผลิตภัณฑ์ โดยคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งปัจจุบันองค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม จึงทำการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) เพื่อนำข้อมูลการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรทั้งการผลิตและการบริการขององค์กร ซึ่งนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับหน่วยงาน บริษัท โรงงาน ระดับอุตสาหกรรม และส่วนงานภาครัฐต่างๆ สำหรับประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 21 ของโลก ในปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 354 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และคาดว่าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดเท่ากับ 368 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี พ.ศ. 2568 (องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก) และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากการใช้พลังงาน ในปี พ.ศ. 2565 พบว่าประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 247 ล้านตัน (สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน)

           ในการประชุมสมัชชาประเทศว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP 26) ณ เมือง     กลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ผู้แทนกว่า 200 ประเทศได้เข้าร่วมเพื่อสร้างพันธสัญญาในการวางแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสและให้พยายามตั้งเป้าไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ประเทศไทยได้ประกาศ  เจตนารมย์ที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และ บรรลุเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions) ภายในปี ค.ศ. 2065 ซึ่งการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนนั้นอาจจะตั้งเป้าหมายระดับบุคคล องค์กร หรือประเทศ สามารถทำได้โดยการ "ลด" และ "ชดเชย" การปล่อยคาร์บอนจนเป็นกลาง โดยผ่านกลไกดังต่อไปนี้ 1) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียนแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล 2) ดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศ เช่น การปลูกป่าเพื่อเพิ่มแหล่งสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามธรรมชาติ (Carbon Sink) การใช้เทคโนโลยีในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และนำกลับมากักเก็บใต้พื้นดิน หรือใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ และ 3) ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Offset) เป็นต้น ในส่วนการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) นั้น ในเป้าหมายระดับประเทศ พยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านมาตรการต่างๆ ที่สามารถทำได้แล้ว กิจกรรมในบางประเภทก็ยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ดี เพื่อให้บรรลุเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จึงใช้มาตรการกำจัดก๊าซเรือนกระจกผ่านกิจกรรมที่สามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกออกจากชั้นบรรยากาศในระยะยาว เช่น การปลูกป่า การปลูกพืชคลุมดินเพิ่มเติมในพื้นที่เกษตรเพื่อเพิ่มการตรึงคาร์บอนในดิน หรือใช้เทคโนโลยีในการดูดคาร์บอนที่ดักจับและกักเก็บโดยตรง เป็นต้น

การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรเป็นเทคนิควิธีที่แสดงข้อมูลการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร และจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อหาแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ดำเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร” เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างระบบการประเมินและทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของหน่วยงาน เพื่อจัดเก็บข้อมูลการปล่อยและดูดกลับของก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร ตลอดจนเพื่อให้หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ได้มีแนวทางในการดำเนินการจัดทำระบบการประเมินและทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร อันเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อใช้จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ได้ต่อไป

 

  1. วัตถุประสงค์
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก นโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission)
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับหลักการพื้นฐานสำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

 

  1. เนื้อหาการฝึกอบรม

          3.1 เนื้อหาในส่วนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                     3.1.1 หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร

                     3.1.2 โมเดลสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social and

                            Governance: ESG model)

3.2 เนื้อหาในส่วนการอบรมความรู้พื้นฐานการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ประกอบด้วย

3.2.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก

3.2.2 หลักการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร

3.2.3 การกำหนดขอบเขตการจัดทำบัญชีรายการก๊าซเรือนกระจก

3.2.4 การจัดประเภทและระบุแหล่งปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก

3.2.5 การเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการประเมินก๊าซเรือนกระจก

3.2.6 การคำนวณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก

3.2.7 กิจกรรมและแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก

3.2.8 ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality)

3.2.9 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions)

3.2.10 การประเมินก๊าซเรือนกระจกขององค์กรตามมาตรฐาน ISO-14064

 

3.3 เนื้อหาในส่วนการจัด Workshop ฝึกปฏิบัติการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจก

3.3.1 การระบุแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร

3.3.2 การกำหนดขอบเขต

3.3.3 การจัดทำ Verification Sheet

3.3.4 การจัดทำรายงานการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

 

  1. ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน

ระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤษภาคม 2567 (เวลา 09:00 16:00 น. – จำนวน 2 วัน)                      

ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ (4218) ชั้น 2 อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

  1. กลุ่มเป้าหมายของผู้เข้าอบรม

          ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน พนักงาน คณาจารย์ นักวิจัย ทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 50 คน

 

  1. ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 4,000 บาท (รวมอาหารว่าง และอาหารกลางวัน)

 

  1.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก นโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ตลอดจนได้รับหลักการสำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

กำหนดการ

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และมาตรฐาน ISO 14064”

ระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 – 16:00 น.

ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ (4218) ชั้น 2 อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

เวลา

รายละเอียด

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2567

08:30-09:00 น.

ลงทะเบียนและรับเอกสาร

09:00-09:05 น.

กล่าวต้อนรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมและกล่าวเปิดโครงการฯ

โดย รองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต

     คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

09:05-12:00 น.

บรรยายหัวข้อ

-          การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development)

-          โมเดลสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social and Governance: ESG model)

-          ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก

-          ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality)

-          การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions)

-          หลักการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร

-          การกำหนดขอบเขตการจัดทำบัญชีรายการก๊าซเรือนกระจก

วิทยากร: รองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต

13.00-16:00 น.

บรรยายหัวข้อ

-          การจัดประเภทและระบุแหล่งปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก

-          การเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการประเมินก๊าซเรือนกระจก

-          การคำนวณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก

-          กิจกรรมและแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก

 

-          สรุปประเด็นการเรียนการสอน และการถาม-ตอบ

วิทยากร: รองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต

วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2567

08:30-09:00 น.

ลงทะเบียน

09:00-12:00 น.

บรรยายหัวข้อ

-          การประเมินก๊าซเรือนกระจกขององค์กรตามมาตรฐาน ISO-14064

วิทยากร:  ดร. พูนเพิ่ม วรรธนะพินทุ

             Regional Sustainability Manager - SEA  

             บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด   

13.00-16:00 น.

อบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ

-          ระบุแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก

-          กำหนดขอบเขต

-          การจัดทำ Verification Sheet

-          การคำนวณปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก

-          การจัดทำรายงานการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

-          การทวนสอบปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

-          สรุปประเด็นการเรียนการสอน และการถาม-ตอบ

วิทยากร: อ.ดร.ภาณุวัฒน์ ประเสริฐพงษ์

 

ผู้ประสานงานโครงการอบรม

น.ส. วิลินธร ชูโต (เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม)

โทร 0 2441 5000 ต่อ 2225, มือถือ 0961566999

อีเมล: vilinthorn.xut@mahidol.ac.th


ENRIC 2024: Net Zero

Join Us at ENRIC 2024: Net Zero Now! 🌿
The Faculty of Environment and Resource Studies at Mahidol University extends a warm invitation to you for the 5th Environment and Natural Resources International Conference (ENRIC 2024), happening on November 14-15, 2024.

🌟 Exclusive Opportunity! The best papers from ENRIC 2024 stand a chance to be featured in the Environment and Natural Resource Journal (EnNRJ), indexed by Scopus (CiteScore 2022=1.7; SJR 2022=0.25). EnNRJ holds a distinguished Quartile 3 rank in the sub-category of Environmental Science (miscellaneous). 📊

👩💻 How to Submit: Visit our ENRIC website at https://en.mahidol.ac.th/enric for more details.

📞 Need More Info? For further details, reach out to our conference organizing team:
📧 Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
📱 Phone: +66 2441 5000 ext. 2203

Join us in making a difference—let's pave the way for a sustainable and Net Zero future at ENRIC 2024! 🌱🌐 #ENRIC2024 #NetZeroNow #sustainablefuture


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.