• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Geo Informatics Technology for the Assessment of Green Space in Nonthaburi

SDG13

หัวข้อ

รายละเอียด

SDG goal หลัก:

13 (Target 13.2: Indicator 13.2.2)

ชื่องานวิจัย:

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการประเมินพื้นที่สีเขียว จังหวัดนนทบุรี (Geo Informatics Technology for the Assessment of Green Space in Nonthaburi)

คณะ:

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

โดยศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร

ที่มาและความสำคัญ:

การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างรวดเร็วจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้รูปแบบการใช้ที่ดินเป็นไปอย่างไร้ทิศทาง ก่อให้เกิดปัญหาการบริหารจัดการของพื้นที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียว (Green Space) โดยบทบาทของพื้นที่สีเขียวมีความสำคัญและประโยชน์ เช่น เพื่อบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน เพื่อเป็นแหล่งนันทนาการและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชนทุกเพศทุกวัย เพื่อช่วยลดอุณหภูมิจากอากาศของเมืองที่เกิดจากการพัฒนาสิ่งก่อสร้างในเมือง เป็นต้น

เนื่องจากจังหวัดนนทบุรีได้รับอิทธิพลจากการขยายตัวของชุมชนเมือง ทำให้พื้นที่สีเขียวนั้นถูกให้ความสำคัญน้อยกว่า ดังนั้นการศึกษาเพื่อประเมินรูปแบบและการกระจายของพื้นที่สีเขียว จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ความสำคัญ ร่วมกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อการประเมินพื้นที่สีเขียว รวมไปถึงการจัดทำฐานข้อมูลที่สำคัญให้แก่หน่วยงานในการตัดสินใจและวางแผนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา:

จังหวัดนนทบุรี

วัตถุประสงค์:

เพื่อจำแนกพื้นที่สีเขียว โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ และศึกษาแนวทางหรือรูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวของจังหวัดนนทบุรี

แหล่งทุนสนับสนุน:

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.)

หน่วยงานที่ร่วมมือ:

สทอภ. และส่วนราชการจังหวัดนนทบุรี

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

สทอภ. หน่วยงานรัฐและประชาชนในจังหวัดนนทบุรี

ระดับความร่วมมือ:

ระดับภูมิภาค

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

(ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

ฐานข้อมูลพื้นที่สีเขียวและการใช้ที่ดิน ที่เป็นผลผลิตของงานวิจัย จะสามารถใช้บริหารจัดการพื้นที่สีเขียวของจังหวัดนนทบุรี ให้มีความยั่งยืนตามแนวทางเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) (1 ต.ค. 2563)

Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

http://gistmu.mahidol.ac.th/

รูปภาพประกอบ:

 

 

SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ:

11 15


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.