• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ถ้ำเลสเตโกดอน

การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์​โดยชุมชนในอุทยานโลกสตูล

แหล่งทุน​: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ​

นักวิจัย

  • ผศ.ดร.ปรมิตา พันธ์วงศ์
  • รศ.ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์

วิวัฒนาการโลก โลกมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี

ในทางธรณีประวัติ มหายุคพรีแคมเบรียน (Precambrian Era) เป็นมหายุคเริ่มแรกสุดของโลกครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่โลกเกิดขึ้น (4,600 ล้านปี) จนถึง 545 ล้านปี ซึ่งทั้งเทียบอายุของโลกนับตั้งแต่เกิดขึ้นมาช่วงเวลาของมหายุคพรีแคมเบรียนคิดเป็น 87% ของอายุทั้งหมดของโลกเนื่องจากเป็นยุคแรกเริ่มของโลกกระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก การจัดระบบระเบียบของแร่ภายในเนื้อโลกและการปรับแต่งพื้นโลกเป็นส่วนใหญ่ทำให้มหายุคพรีแคมเบียนจึงเป็นยุคที่ไม่ค่อยมีสิ่งมีชีวิตโดดเด่น

กำเนิดโลก

กำเนิดโลก

อุทยานธรณีสตูล

“อุทยานธรณีสตูล” (Satun Geopark) ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ครอบคลุม 4 อำเภอของจังหวัดสตูล คือ ทุ่งหว้า มะนัง ละงู และอำเภอเมือง ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาหินปูน มีเกาะน้อยใหญ่ และชายหาดที่สวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสกับธรรมชาติอันบริสุทธิ์ ความหลากหลายทางประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตผู้คนที่ผูกพันกับพื้นที่แห่งนี้ ผืนดินแห่งนี้ได้บันทึกหลักฐานของโลกใต้ทะเลเมื่อ 500 ล้านปีก่อน ที่อุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตยุคเก่าเกิดเป็นแหล่งสร้างออกซิเจนให้กับโลกในช่วงเวลานั้นต่อมามีการยกตัวของเปลือกโลกก่อเกิดเป็นเทือกเขา และถ้ำ ซึ่งได้กลายเป็นบ้านหลังแรกของมนุษย์โบราณ ปัจจุบันผู้คนก็ยังดำรงชีวิตโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของแผ่นดินนี้อยู่ และก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่มีเอกลักษณ์ วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2561 UNESCO ได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้พื้นที่แหล่งธรณีวิทยาของจังหวัดสตูลเป็นอุทยานธรณีโลก อุทยานธรณีสตูลเกิดขึ้นจากความต้องการของคนในพื้นที่จังหวัดสตูลที่มีแหล่งมรดกทางธรณีวิทยาที่ทรงคุณค่าและมีความสำคัญหลายแห่ง เช่น ถ้ำเลสเตโกดอน ถ้ำภูผาเพชร ถ้ำเจ็ดคต น้ำตกวังสายทอง ปราสาทหินพันยอด ฯลฯ โดยการสนับสนุนทางวิชาการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี จังหวัดสตูล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งชุมชนและองค์กรท้องถิ่นที่มีแหล่งมรดกทางธรณีเหล่านี้ได้รวมตัวกันพัฒนาเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์แหล่ง มีการพัฒนาการบริหารจัดการการศึกษาและการสื่อความหมายแหล่งการท่องเที่ยวและการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน  

วิวัฒนาการถ้ำและหลุมยุบ

ถ้ำและหลุมยุบ

ถ้ำและหลุบยุบ

ประวัติ ถ้ำเลสเตโกดอน เป็นถ้ำหินปูนที่เกิดจากการละลาย และอิทธิพลจากระดับน้ำทะเลขึ้น-ลง มีปากทางเข้าถ้ำ 2 ทาง ทางที่ 1 เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา ตั้งอยู่ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ทางเข้าที่ 2 ตั้งอยู่ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรังและปากถ้ำทางออกเชื่อมต่อกับบริเวณป่าชายเลน ที่ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียนอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า ถ้ำเลสเตโกดอนมีเส้นทางแนวโถงหลัก 1 โถง และโถงย่อย 2 โถง โดยแนวโถงหลักเป็นเส้นทางท่องเที่ยว และโถงย่อยเป็นเส้นทางศึกษาวิจัย มีทั้งโถงบกและโถงน้ำรวมระยะทางทั้งสิ้น 3,389.01 เมตร โดยระยะทางแบ่งได้ดังนี้ เส้นทางท่องเที่ยวมีระยะทางรวม 2,569.62 เมตร เส้นทางเก็บไว้เพื่อการวิจัย เส้นทางศึกษาโถงถ้ำน้ำมีระยะทาง 706.66 เมตรเส้นทางศึกษาโถงถ้ำบกมีระยะทาง 112.73 เมตร

ที่มาของชื่อถ้ำ “สเตโกดอน” “Stegodon” คือช้างโบราณ อายุ 1.8 ล้านปี ได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว ในเดือนเมษายน 2551 ชาวบ้านได้เข้าไปที่ถ้ำวังกล้วย เพื่อจับกุ้งก้ามกรามขณะดำน้ำจับกุ้งอยู่นั้น ได้พบซากดึกดำบรรพ์ (ฟอสซิล) ลักษณะเป็นหินสีน้ำตาลไหม้ น้ำหนักประมาณ 5.3 กิโลกรัมยาวประมาณ 44 เซนติเมตร สูงประมาณ 16 เซนติเมตร ห่างจากปากทางเข้าถ้ำด้านหมู่บ้านคีรีวงประมาณ 1.6 กิโลเมตรจึงเก็บซากนั้นไว้ นักวิชาการด้านธรณีวิทยาได้มาศึกษาพบว่า ฟอสซิลดังกล่าว เป็นซากกระดูกขากรรไกรพร้อมฟันกราม ซี่ที่ 2 และ 3 ด้านล่างขวาของช้างดึกดำบรรพ์สกุลสเตโกดอน อายุประมาณ 1.8 -0.01 ล้านปีมาแล้ว อยู่ในยุคไพลสโตซีนในมหายุคซีโนโซอิก (ร่วมสมัยกับมนุษย์ยุคหิน) ช้างเอลลิฟาส 1.1 ล้านปี เขี้ยวและฟันกรามแรดโบราณสกุลคิโลธิเรียม และเกนดาธิเรียมฯลฯ นักธรณีวิทยาได้สันนิษฐานว่า ฟอสซิลช้างโบราณที่พบอาจถูกกระแสน้ำทะเลพัดพาเข้ามาในถ้ำ นับเป็นการค้นพบฟอสซิลสัตว์งวงแห่งแรกของภาคใต้ ถ้ำวังกล้วยเป็นถ้ำริมทะเลมีน้ำขึ้นน้ำลง ช่วงน้ำขึ้นจะอยู่ในระดับ 2 เมตร จากพื้นถ้ำภายในฟอสซิลกว่า 200 ชิ้น ที่สำคัญๆ คือฟันช้างสเตโกดอน ฟันช้างเอลลิฟาส เขี้ยวและฟันแรดคิโลธิเรียม เแรดเกนดาธิเรียม เขากวาง ซี่โครงกวาง เป็นต้น (www.dmr.go.th)

ถ้ำเลสเตโกดอน

ถ้ำเลสเตโกดอน

1. หินย้อยนางฟ้า

2. ห้องประติมากรรมฝาผนัง (จุดพักผ่อนลงเดินยืดเส้นยืดสาย ให้ดูผนังถ้ำ สอดแทรกความรู้ โล่หิน หินน้ำไหล ในช่วงหน้าฝนคล้ายน้ำตก เต่าหินโบราณ)

3. ลานหยาดพิรุณ (จุดที่มีหินย้อยหลอดกาแฟ จินตนาการเป็นก้อนเมฆ การเกิดหินย้อยที่แตกต่างกัน อธิบายถึงการกำเนิดหินย้อย)

4. สามแยกรูปตัว Y ทางขวามือทางแยกสามารถเชื่อมโยงไปยังถนน ตรัง-สตูล เส้นทางนี้ไม่ใช้เพื่อการท่องเที่ยว เป็นบริเวณที่พบฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์) แยกซ้ายออกสู่ทะเลซึ่งเป็นเส้นทางที่ใช้ในการท่องเที่ยว

 5. หัวใจช้าง (จิตนาการว่าลอดท้องช้างและเจอหัวใจช้าง แนะนำให้นักท่องเที่ยวกำหนดอายุของหินย้อย แวะถ่ายรูป เจอปอดช้าง มีลักษณะใหญ่กว่าหัวใจช้าง)

 6. ท้องพระโรง เล่าความเชื่อของชาวบ้านเป็นบริเวณที่เพดานถ้ำสูงที่สุดและธรรมชาติสร้างอักษรโบราณรูปทรงเหมือนเสาโรมัน แนะนำให้นักท่องเที่ยวเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์

7. ตามหัวใจที่ปลายอุโมงค์ จุดสุดท้าย ภายในตัวถ้ำ และจะให้นักท่องเที่ยวตามหาฟอสซิล


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.