• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Awards and Honors


การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการกำเนิดไฟฟ้าเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืน

Research and development of innovation electricity generation for sustainable alternative energy

Image
แหล่งทุน
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
ส่วนงานหลัก
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ส่วนงานร่วม
ผู้ดำเนินการหลัก
อ.ดร.นรินทร์ บุญตานนท์
ผู้ดำเนินการรอง

คำอธิบาย

การพัฒนานวัตกรรมเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารูปแบบใหม่ ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น โดยปรับเปลี่ยนกลไกการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเดิม และนำเครื่องต้นแบบไปทดสอบการใช้งานจริงกับต้นกำเนิดพลังงานต่างๆ เพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนาให้ได้เครื่องที่สมบูรณ์ มีความพร้อมในการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ สามารถประยุกต์ใช้เพื่อให้การผลิตไฟฟ้า และการอนุรักษ์พลังงาน

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมใหม่ด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้แหล่งพลังงานจากพลังทดแทนเป็นหลัก และนำเครื่องต้นแบบไปทดสอบการใช้งานโดยผู้ใช้งานจริง เพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนาให้ได้เครื่องที่สมบูรณ์ และมีความพร้อมในการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์
- พัฒนาเทคโนโลยีต้นแบบด้านการผลิตไฟฟ้ารูปแบบใหม่เพื่อให้ใช้ได้กับแหล่งพลังงานอื่นๆ หรือประยุกต์ใช้เพื่อให้การผลิตไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

การดำเนินการ
- การพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องต้นแบบโดยการพัฒนาและผลิตเครื่องต้นแบบตามที่ได้ดำเนินการจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรไว้ (เลขที่คำขอ 1301004951, อนุสิทธิบัตรเลขที่ 9553, 11909, 12058)

- ดำเนินการทดสอบต้นแบบในห้องปฏิบัติติการ และภาคสนาม เพื่อให้ได้ผลที่ได้จากการทดลองใช้งานในสภาพต่างๆ
- ภายหลังจากมีการทดลองใช้และนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาเครื่องให้สมบูรณ์เพื่อเป็นต้นแบบในเชิงพาณิชย์ สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีกับผู้ประกอบการเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป

ผลการดำเนินงาน
- ได้ต้นแบบเทคโนโลยีใหม่ด้านการผลิตไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาด้านพลังงานในอนาคต
ซึ่งสามารถเป็นต้นแบบอุปกรณ์ด้านการถ่ายทอดพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประยุกต์ใช้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทต่างๆได้
- ได้มาซึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยในการอนุรักษ์พลังงานโดยนำพลังงานที่สูญเปล่ามาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ให้คุ้มค่ามากที่สุด โดยสามารถปรับและประยุกต์ใช้ได้ในหลายภาคส่วนทั้งภาคประชาชน ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร และยังเป็นหนึ่งในมาตรการส่งเสริมด้านการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน
- เป็นการลดและป้องกันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลมาจากการผลิตและใช้พลังงาน ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

การนำไปใช้ประโยชน์
1) เชิงสาธารณะ จัดแสดงในงาน Mahidol Deep Tech Demo Day ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 ณ ห้อง Royal Maneeya B Room โรงแรมเรเนซองส์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ ซึ่งภายในงานได้มีการจัดให้แต่ละผลงานได้ pitching เพื่อนำเสนอผลงานให้กับทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ รวมถึงแหล่งทุนได้รับฟังถึงข้อมูลของแต่ละผลงาน

ทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้อง
1. อนุสิทธิบัตร เลขที่ 9553 ออกให้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2556 เรื่อง ชุดผลิตพลังงานไฟฟ้าจากลมคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศ
2. อนุสิทธิบัตร เลขที่ 11909 ออกให้เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2559 เรื่อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
3. อนุสิทธิบัตร เลขที่ 12058 ออกให้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2559 เรื่อง ชุดผลิตพลังงานแบบใบพัด
4. อยู่ระหว่างการยื่นขอ สิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1301004951 เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2556 เรื่อง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมแบบใบพัดสวนทาง

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

เป็นโครงการที่ใช้แนวคิดและกระบวนการวิจัยพื้นฐานในการพัฒนาต่อยอดจนสามารถพัฒนาให้เป็นต้นแบบเทคโนโลยีใหม่ที่มีหลักการทำงานแตกต่างไปจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเดิม ทำให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น และยังมีความพร้อมในระดับอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ด้วยเช่นกัน

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

  • เป็นต้นแบบนวัตกรรมใหม่ด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อความยั่งยืน ในแง่ของการใช้ต้นกำเนิดพลังงานลดลง ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้สำหรับการเก็บเกี่ยวพลังงานเหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ ทั้งในระดับชุมชน อุตสาหกรรม และระดับประเทศ
  • เพิ่มขีดความสามารถในด้านการแข่งขันเทคโนโลยีให้ทัดเทียมประเทศอื่น

Key Message

ต้นแบบนวัตกรรมใหม่ด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งมีประสิทธิภาพด้านการผลิตไฟฟ้า และการอนุรักษ์พลังงานที่สูงขึ้น สามารถนำไปใช้งานจริง มีความสมบูรณ์พร้อมใช้ในเชิงพาณิชย์ สามารถแข่งขันได้ในธุรกิจด้านพลังงาน ตลอดจนเป็นต้นแบบเทคโนโลยีของการกำเนิดไฟฟ้าที่จะประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

Partners/Stakeholders

- นักวิจัย
- ผู้ประกอบการ

ตัวชี้วัด THE Impact Ranking

7.2.4 Plan to reduce energy consumption

Have an energy efficiency plan in place to reduce overall energy consumption

การพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมใหม่ในการผลิตไฟฟ้า ที่จะนำไปสู่การใช้งานจริง เพื่อการวางแผนลดการใช้พลังงาน และใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
ภาพประกอบ
Image
Image
Image
Image
Image

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.