• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  • วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ คุณสุกิจ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาต้นแบบโครงการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้” ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์


    กับ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) โดยมีเป้าหมายในการร่วมกันพัฒนางานวิจัย ต้นแบบการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ในพื้นที่สวนป่าเป้าหมายของ อ.อ.ป. ให้สามารถเข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) เพื่อผลักดันให้สวนป่าไม้เศรษฐกิจในประเทศไทยโดยยกระดับพัฒนาคุณภาพของสวนป่าไม้เศรษฐกิจให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้และทักษะด้านการวิจัยเพื่อบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ทันการณ์ และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อให้เกิดการนำผลงานวิจัยหรือผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือนี้ไปสู่การใช้ประโยชน์ทั้งเชิงพาณิชย์ เชิงนโยบาย และเชิงสาธารณะ ทั้งนี้โดยมี อาจารย์ ดร.บุญลือ คะเชนทร์ชาติ อาจารย์ประจำ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ คุณจอง มงคลสกุลฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาและสารสนเทศและรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักธุรกิจคาร์บอนและนวัตกรรม องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ร่วมลงนามเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว โดยพิธีลงนามฯ จัดขึ้น ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬห์ อาคารนาทตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • อาจารย์ ดร.บุญลือ คะเชนทร์ชาติ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายในหัวข้อ “การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล เส้นทางสู่เศรษฐกิจสีน้ำเงิน” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเสวนาในประเด็น “Blue Economy : for Thailand Sustainable Development”

    มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมการประชุมวิชาการประเพณี 4 สถาบัน กองทัพเรือ-ธรรมศาสตร์-เกษตรศาสตร์-มหิดล ครั้งที่ 24 หัวข้อ “Blue Economy : for Thailand Sustainable Development”
    วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์หญิงศิริวรรณ สืบนุการณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวต้อนรับในพิธีเปิดการประชุมวิชาการประเพณี 4 สถาบัน กองทัพเรือ-ธรรมศาสตร์-เกษตรศาสตร์-มหิดล ครั้งที่ 24 หัวข้อ “Blue Economy : for Thailand Sustainable Development” โดยมี พลเรือโท วสันต์ สาทรกิจ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็นประธานเปิดการประชุม ซึ่งในปีนี้กองทัพเรือได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งนี้ ณ ห้องชมวัง หอประชุมกองทัพเรือ และอาคารราชนาวิกสภา กรุงเทพมหานคร และผ่านระบบออนไลน์
    ในช่วงเช้า มีการปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Blue Economy : for Thailand Sustainable Development” โดย ศาสตราจารย์ ดร.เผดิมศักดิ์ จารยพันธุ์ ประธานอนุกรรมการที่ปรึกษาและจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ได้กล่าวถึง แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจสีน้ำเงินเพื่อความมั่นคงของทรัพยากรทางทะเลตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ข้อที่ 14 Life below water โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เช่น การทำประมง การขนส่งทางทะเล การท่องเที่ยว แหล่งพลังงาน ฯลฯ ควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการผลิต การบริโภค เพื่อผลประโยชน์และความยั่งยืนในอนาคต โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งเป็นสำคัญ
    จากนั้น มีการเสวนาในประเด็น “Blue Economy : for Thailand Sustainable Development” โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้ง 4 สถาบัน ดังนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.นิรมล สุธรรมกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรยายในหัวข้อ “Blue Economy สังคมไทย กับแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บรรยายในหัวข้อ “ความท้าทายในการพัฒนาเศรษฐกิจภาคทะเลอย่างยั่งยืนและยิ่งใหญ่” นาวาเอก ดรณ์ ทิพนันท์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ กองทัพเรือ และอาจารย์ ดร.บุญลือ คะเชนทร์ชาติ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายในหัวข้อ “การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล เส้นทางสู่เศรษฐกิจสีน้ำเงิน” บรรยายในหัวข้อ “Blue Economy Navy : บทบาทใหม่ของกองทัพเรือในศตวรรษที่ 21” ช่วงบ่าย มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง 4 สถาบัน ในมุมมองของคนรุ่นใหม่ภายใต้ชื่อกิจกรรม “ประภาคารแห่งการเรียนรู้” หัวข้อหลัก มุมมอง บทบาท หน้าที่ และความท้าทายของนักศึกษาและนิสิต ต่อ Blue Economy for Thailand Sustainable Development จากนั้น เป็นพิธีปิดการประชุมโดย พลเรือโท วสันต์ สาทรกิจ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ พร้อมทั้งมอบธง 4 สถาบันให้กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมวิชาการประเพณี 4 สถาบัน ครั้งที่ 25 ต่อไป
  • 14 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11.30 น. รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี ให้การต้อนรับ Assoc. Prof. Dr. Peter Davies, Department of Earth and Environmental Sciences, Macquarie University, เครือรัฐออสเตรเลีย ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ พร้อมหารือในเบื้องต้นถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างคณะกับ Department of Earth and Environmental Sciences, Macquarie University ที่เกี่ยวข้องกับการหาทุนสนับสนุนการวิจัยร่วมและการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงนักวิจัยในระดับคณะ รวมถึงการแต่งตั้งและแลกเปลี่ยนศาสตราจารย์วุฒิคุณและศาสตราจารย์อาคันตุกะ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมด้านการวิจัยและบริการวิชาการและความร่วมมืออื่นๆ ในระดับนานาชาติ ทั้งนี้ โดยมี รศ.ดร.นาฎสุดา ภูมิจำนงค์ ประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) รศ.ดร.นพพล อรุณรัตน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนโยบาย แผน และการจัดการความรู้ ผศ. ดร. สุกัญญา เสรีนนท์ชัย อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ คุณนิตยา โพธิ์นอก นักศึกษาในหลักสูตรฯ และ Dr. Thomas Neal Stewart ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ ร่วมให้การต้อนรับและเข้าร่วมหารือ ณ ห้องประชุม 4 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

  • On February 17, 2023, the Bachelor of Science students from the Environmental Science and Technology (ES) and Natural Resources and Environmental Management (International Program) (NM) programs at the Faculty of Environment and Resource Studies organized a campus tour for their peers from Nagasaki University's Faculty of Environmental Science. The tour aimed to present the university's faculties, landmarks, and recreational areas, including Prince Mahidol Hall and Mahidol Thai House, to help the exchange students get familiarized with the campus.

  • ภาพบรรยากาศกิจกรรมภายใต้ “โครงการอบรมพัฒนานักศึกษา ด้วยการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง” (Transformative Learning)” สัปดาห์ที่ 3 และ 4

    โดยมี อาจารย์ สัญชัย สูติพันธ์วิหาร เป็นวิทยากรบรรยายและนำกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาได้เรียนรู้ทำความรู้จักตนเอง มีการคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เรียนรู้ทำความรู้จักผู้อื่น มีทักษะการสื่อสาร (Communication) ให้นักศึกษาสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือทำงานเป็นทีม (Collaboration) ให้นักศึกษาตระหนักเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ และมีแรงบันดาลในใจการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเอง มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยมี นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • 30 มกราคม 2566 เวลา 08.30 น. บุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะกรรมการตรวจประเมินระบบมาตรฐานสากลการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015 และ ระบบมาตรฐานสากลอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001:2018 จากหน่วยงานภายนอก ณ ห้องประชุมเทพนมเมืองแมน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • 17 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00 น. รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดโครงการ “MU-NU Spring Training Program 2023” ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬห์ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 กุมภาพันธ์ - 22 มีนาคม 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีจาก Faculty of Environmental Science, Nagasaki University ประเทศญี่ปุ่น และนักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) ของคณะ ภายใต้การกำกับดูแลโดย ผศ.ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน ประธานโครงการ และอาจารย์ประจำคณะ ร่วมด้วย Prof. Dr. Hideki NAKAYAMA จาก Nagasaki University ประเทศญี่ปุ่น
    โครงการ MU-NU Spring Training Program เป็นหนึ่งในความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยมหาวิทยาลัยมหิดล และ Faculty of Environmental Science, Nagasaki University ประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นกิจกรรมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างกันในแต่ละปี จัดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ พร้อมทั้งเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ภายนอกห้องเรียน โดยใช้หลักการ Learning by Doing ทำให้เกิดการเรียนรู้ทั้งทางด้านวิชาการ การทำงานเป็นหมู่คณะ และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม

  • 16 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11.00 น. รศ.ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ Assoc. Prof. Dr. Peter Davies, Department of Earth and Environmental Sciences, Macquarie University, เครือรัฐออสเตรเลีย ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ พร้อมหารือแนวทางในการขยายขอบข่ายความร่วมมือไปสู่การพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยร่วมกันเพื่อเสาะหาแหล่งทุนสนับสนุนผ่านการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงนักวิจัยในหลากหลายสาขา ตลอดจนการสร้างนักวิจัยรุ่นที่จะมีโอกาสได้ทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่องตามศักยภาพเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะ ทั้งนี้โดยมี รศ.ดร.นพพล อรุณรัตน์ ผศ.ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย Dr. Thomas Neal Stewart คณาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคุณนิตยา โพธิ์นอก นักศึกษาในหลักสูตรฯ เข้าร่วมการหารือ ณ ห้องประชุม 530A สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

  • เมื่อวันที่ 18 - 20 มกราคม 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดโครงการค่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม (โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา)
    โดยได้ให้ความรู้และจัดกิจกรรมห้องเรียนธรรมชาติ ให้กับ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 - 6 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี และ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี

  • 17 มกราคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.จำลอง อรุณเลิศอารีย์ รองคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้แทนคณบดีกล่าวต้อนรับ ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญหา บรรณาธิการวารสาร Tropical Natural History วารสารทางการของพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รองศาสตราจารย์ ดร.ดุษณี ธนะบริพัฒน์ บรรณาธิการวารสาร Current Applied Science and Technology จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในโอกาสเป็นวิทยากรผู้ร่วมเสวนาด้านการวิจัย เรื่อง “Tips and Tricks with Two Editors: What an editor wants” ทั้งนี้โดยมี อาจารย์ ดร.วิชญา รงค์สยามานนท์ รองบรรณาธิการวารสาร Environment and Natural Resources Journal คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ
    การเสวนาดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้ความรู้ แนะนำเทคนิค วิธีการ รวมถึงสาระสำคัญสำหรับการเตรียมบทความทางวิชาการให้ได้รับการตีพิมพ์ โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์ของบรรณาธิการวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐาน Scopus โดยมีผู้สนใจจากทั้งภายในและภายนอกส่วนงานเข้าร่วมรับฟังการเสวนา ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องศาสตรเมธี ดร.พงศ์พิศน์ ปิยะพงศ์ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และในรูปแบบออนไลน์ผ่านทาง Cisco Webex และ Facebook Live จำนวน 40 คน

  • 11 มกราคม 2566 เวลา 13.00 - 16.30 น. นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมกิจกรรมภายใต้ “โครงการอบรมพัฒนานักศึกษา ด้วยการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง” (Transformative Learning)” โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ สัญชัย สูติพันธ์วิหาร เป็นวิทยากรบรรยายและนำกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยได้เรียนรู้ทำความรู้จักตนเอง มีการคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เรียนรู้ทำความรู้จักผู้อื่น มีทักษะการสื่อสาร (Communication) ให้นักศึกษาสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือทำงานเป็นทีม (Collaboration) ให้นักศึกษาตระหนักเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ และมีแรงบันดาลในใจการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเอง มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อทักษะที่จำเป็นในอนาคต 21st century โดยกิจกรรมจัดขึ้น ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • 17 กุมภาพันธ์ 2566 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) จัดการบรรยายพิเศษ หัวข้อ "Urban water Management: land and water Nexus" ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  บรรยายโดย Prof. Dr. Peter Davies จาก Department of Earth and Environmental Sciences, Macquarie University ประเทศออสเตรเลีย โดยจัดขึ้นในรูปแบบปกติ ณ ห้องประชุมนาท ตัณฑวิรุฬห์ และผ่านระบบ Zoom เวลา 13.00 - 15.00 น.

  • 18 มกราคม 2566 ภาพบรรยากาศกิจกรรมภายใต้ “โครงการอบรมพัฒนานักศึกษา ด้วยการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง” (Transformative Learning)” สัปดาห์ที่ 2 โดยมี อาจารย์ สัญชัย สูติพันธ์วิหาร เป็นวิทยากรบรรยายและนำกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาได้เรียนรู้ทำความรู้จักตนเอง มีการคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เรียนรู้ทำความรู้จักผู้อื่น มีทักษะการสื่อสาร (Communication) ให้นักศึกษาสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือทำงานเป็นทีม (Collaboration) ให้นักศึกษาตระหนักเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ และมีแรงบันดาลในใจการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเอง มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อทักษะที่จำเป็นในอนาคต 21st century โดยมี นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • ๒ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๐๐ น. อาจารย์ ดร.วีรฉัตร์ ฉัตรปัญญาเจริญ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและกายภาพ เป็นผู้แทนคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระรูปสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ณ หอประชุมมหิดลสิทธาคาร เนื่องในโอกาสครบรอบ ๕๔ ปี วันพระราชทานนาม และ ๑๓๕ ปี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • 30 มกราคม 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น. บุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมฟังการบรรยาย หัวข้อ "เทคนิคการให้คำปรึกษา และการดูแลสุขภาพจิตตนเองหลังให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา" โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์ เสรี ประธานหลักสูตรจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัวโครงการร่วมสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กศ.ด.(การศึกษาพิเศษ) เป็นวิทยากรบรรยาย ณ ห้องประชุมนาท ตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom

    ท่านสามารถเรียกดูเอกสารประกอบการบรรยาย ได้ที่
    https://drive.google.com/file/d/17RjLnbfoywCl1vs40WKVqRoc0GwpNX3j/view?usp=sharing

  • วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 10.30-11.30 น. รศ. ดร.จำลอง อรุณเลิศอารีย์ รองคณบดี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ พร้อมด้วย ผศ. ดร.จงดี โตอิ้ม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีแสดงมุทิตาจิตผู้อาวุโส แด่ รศ. ดร.ชาลี นาวานุเคราะห์  เนื่องในโอกาสครบรอบ 54 ปีวันพระราชทานนาม และ 135 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล ณ บริเวณโถงมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล

  • 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11.30 น. บุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรม “EN พบปะสร้างสรรค์ (EN Creative Party)” จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีสำหรับการสื่อสารข้อมูลข่าวสารใน รวมถึงเหตุการณ์ปัจจุบันและการดำเนินกิจกรรมด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรของคณะ โดยกิจกรรมในครั้งได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร.กฤตณะ พฤกษากร เป็นวิทยากรบรรยายในรูปแบบออนไลน์ในหัวข้อ "มาตรการในการจัดการมลพิษอากาศของเกาหลีใต้" พร้อมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬห์ และจากศูนย์วิจัยและบริการวิชาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดลำปาง ผ่านโปรแกรม Cisco Webex Meetings

  • The MU-NU Spring Training Program 2023 committee would like to express its sincere gratitude to Associate Professor Dr. Kampanad Bhaktikul, the Director of the Center for Regional Studies on Technology, Innovation, and Cultural Environment, and the faculty's former dean, for his enlightening talk in the program on the topic "Holistic Approach for Environmental Transdisciplinary Approach." In this talk, he shared his extensive knowledge and expertise on the subject, providing valuable insights into the importance of adopting a comprehensive approach towards environmental challenges. His talk was engaging and thought-provoking, inspiring our attendees to consider new approaches to sustainable development.

  • 28 กุมภาพันธ์ 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ กรมพัฒนาที่ดิน Nanjing Agricultural University สาธารณรัฐประชาชนจีนและ Michigan State University ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “An Asia Hub Workshop on Collaborative Research Progress and Future Plans” โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี พร้อมด้วย Dr. Titus Awokuse, Associate Dean for Research and Strategies, International Studies and Programs (ISP), Michigan State University กล่าวเปิดการประชุมและต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม และ Prof. Dr. Jiaguo Qi, Director, Asia Hub, Michigan State, University กล่าวถึงความเป็นมาและเป้าหมายในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ
    ซึ่งจัดขึ้น โดยมี รศ.ดร.ชาลี นาวานุเคราะห์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชีย (Center of Excellence on Soil Research in Asia : CESRA) กรมพัฒนาที่ดิน และที่ปรึกษาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้รับผิดชอบหลัก เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันต่างๆ ในเอเชีย ในการพัฒนาองค์ความรู้และเสาะหาแนวทางในการที่จะรับมือกับความท้าทายใหม่ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) รวมถึงความเชื่อมโยงระหว่างความท้าทายดังกล่าวกับหลักสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) และการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ในทวีปเอเชีย ตลอดจนเพื่อการศึกษาและระบุรายละเอียดของความท้าทายช่องว่างทางความรู้ และการดำเนินการเพื่อช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในระดับชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นทีเกี่ยวข้องกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งหารือเกี่ยวกับแผนการในอนาคตสำหรับการดำเนินกิจกรรมทางวิชาการในลักษณะอื่นๆ ร่วมกัน อาทิ การฝึกอบรมนักศึกษา การเสริมสร้างศักยภาพและการแลกเปลี่ยนทางวิชาการในประเด็นดังกล่าว
    ทั้งนี้โดยมีผู้แทนจากมหาวิทยาลัยและองค์กรสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือ Asia Hub เข้าร่วมการประชุมและนำเสนอมุมมองและแนวคิดงานวิจัยเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของ Asia Hub ณ ห้องประชุมนาท ตัณฑวิรุฬห์ อาคารนาทตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผ่านระบบการประชุมออนไลน์

  • 2 มีนาคม 2566 รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี พร้อมด้วย รศ.ดร.จำลอง อรุณเลิศอารีย์ รองคณบดี ผศ.ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายงานสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ และ ดร.ชิษณุพงศ์ ประทุม นักวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ คุณสุคนธา เศรษฐ์วรกิจ ผู้อำนวยการกลุ่มงานพิจารณาผู้มีสิทธิทำรายงาน กองพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะทำงานในโอกาสเข้าตรวจสถานที่ตั้งและความพร้อมขององค์กร และรับฟังการนำเสนอข้อมูลของมหาวิทยาลัย รวมถึงความพร้อมด้านเครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการขอรับใบอนุญาติเป็นผู้จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ห้องประชุมนาท ตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

© 2023 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.