• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
โครงการอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยโปรแกรม R เพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

โครงการอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยโปรแกรม R เพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

โครงการอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยโปรแกรม R เพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

(Spatial Data Analysis with R Program for Environmental Science)

วันที่ ๒๕ – ๒๖  กรกฎาคม ๒๕๖๗

ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ GIS อาคารสารสนเทศผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

*****************************************************************************

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันงานวิจัยถูกวิเคราะห์ด้วยวิธีการที่หลากหลายมากขึ้นกว่าในอดีต ทั้งข้อมูลในเชิงพรรณา เชิงปริมาณ เชิงเวลา และที่สำคัญในยุคที่มีการนำระบบภูมิสารสนเทศเข้ามาร่วมด้วย ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Geospatial data) จึงมีบทบาทที่สำคัญในงานวิจัย ซึ่งรวมไปถึงงานทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ที่มีความผันแปรทั้งในเชิงพื้นที่และเวลา การจัดการกับข้อมูลดังกล่าวจึงต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานของข้อมูล และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นอย่างดี นอกจากนั้นหากมีการประยุกต์การวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพื้นที่ที่เป็นมาตรฐานร่วมด้วย ผลงานวิชาการนั้นๆจะมีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพเพียงพอสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งช่วยในการพัฒนาคุณภาพของนักวิจัยทั้งระดับบุคคลและระดับองค์กร ด้วยเหตุผลข้างต้นความรู้ความเข้าใจในข้อมูลเชิงพื้นที่จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการประยุกต์ใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมทั้งในปัจจุบันและอนาคต

การอบรมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยโปรแกรม R เพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เป็นโครงการอบรมระยะสั้นที่มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยโปรแกรม R เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์โครงการอบรมนี้ครอบคลุมเนื้อหาที่สำคัญดังต่อไปนี้ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ การใช้งานโปรแกรม R ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้โปรแกรม R ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โครงการอบรมนี้เหมาะสำหรับผู้สนใจในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ที่ต้องการเพิ่มทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรม R โครงการอบรมนี้จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถเข้าใจหลักการพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่โดยการใช้งานโปรแกรม R ได้อย่างคล่องแคล่ว ประยุกต์ใช้โปรแกรม R ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เนื้อหาของโครงการอบรมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้

ส่วนแรก จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ โดยจะครอบคลุมเนื้อหาดังนี้

  • พื้นฐานภูมิสารสนเทศศาสตร์ (Basic Geoinformatics)
  • ระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Coordinate Reference System (CRS) and EPSG Code )
  • ประเภทของข้อมูลเชิงพื้นที่และแหล่งที่มา (Geospatial data types and sources)
  • พื้นฐานการใช้โปรแกรม QGIS เพื่อการเตรียมข้อมูลเบื้องต้น

ส่วนที่สอง จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับโปรแกรม R โดยจะครอบคลุมเนื้อหาดังนี้

  • การติดตั้งโปรแกรม R การใช้งานพื้นฐานของโปรแกรม R
  • ฟังก์ชันและคำสั่งในโปรแกรม R ที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
  • การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่และการจัดการกับข้อมูล
  • การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในโปรแกรม R ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (กรณีศึกษา)

โครงการอบรมนี้จะมีระยะเวลาอบรม 2 วัน ในแต่ละวันจะมีระยะเวลาอบรมประมาณ 6 ชั่วโมงผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการอบรมได้โดยการลงทะเบียนออนไลน์ที่เว็บไซต์ของหน่วยงานที่จัดการอบรม ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงเปิดการฝึกอบรม หลักสูตร การพัฒนาศักยภาพการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยโประแกรม R เพื่อประยุกต์ใช้ในงานสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (Spatial Data Analysis with R Program for Environmental Science) เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงพื้นที่ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การจัดการข้อมูล การสร้างภาพเพื่อนำเสนอข้อมูล การประยุกต์ใช้สถิติเพื่องานวิจัย รวมถึงเทคนิคและวิธีเขียนผลการศึกษาเพื่อการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ด้านการวิเคราะห์งานวิจัยที่มีคุณภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่ได้มาตรฐานระดับสากล

สิ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับ

๑. เข้าใจพื้นฐานของข้อมูลเชิงพื้นที่ และสามารถแสดงผลเป็นแผนที่และกราฟได้

๒. สามารถประยุกต์ใช้สถิติเชิงพื้นที่เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๓. สามารถใช้โปรแกรมจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล (โปรแกรม R และ QGIS) ได้ในระดับเบื้องต้น


 

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

ผู้ที่มีพื้นฐานการจัดการข้อมูลเบื้องต้น และต้องการเรียนรู้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนผู้ที่มีภารกิจรับผิดชอบในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งป่าไม้และสัตว์ป่า รวมไปถึงผู้ที่มีความสนใจในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพื้นที่ผ่านโปรแกรม R ในระดับเบื้องต้น

วิธีการฝึกอบรม

การบรรยาย

- พื้นฐานภูมิสารสนเทศศาสตร์และการประยุกต์ใช้ในงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

- ระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์

- ประเภทของข้อมูลเชิงพื้นที่และแหล่งที่มา

- แนะนำการใช้งานโปรแกรม R เพื่องานสิ่งแวดล้อม

- พื้นฐานการจัดการข้อมูลวิจัยเชิงพื้นที่

- การแสดงผล แผนที่ และกราฟประเภทต่างๆ

การปฏิบัติ

- พื้นฐานการใช้โปรแกรม QGIS เพื่อการเตรียมข้อมูลเบื้องต้น

- การจัดการข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (การใช้งานแพ็คเกจต่างๆ)

- วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการประยุกต์สถิติเชิงพื้นที่ผ่านโปรแกรม R

- การแสดงภาพกราฟและแผนที่ในงานวิจัยเบื้องต้นผ่านโปรแกรม R

- การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในโปรแกรม R ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (กรณีศึกษา)

ซอฟแวร์ที่ใช้    Microsoft Excel, QGIS และ R Gui + R Studio

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐานได้ดี

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม

ผู้เข้ารับการฝึกอบรม   ๒๐ คน

สถานที่ดำเนินการ

ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ GIS อาคารสารสนเทศผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ระยะเวลาดำเนินการ

จำนวน ๒ วัน วันที่ ๒๕ – ๒๖  กรกฎาคม ๒๕๖๗ 

อัตราค่าลงทะเบียน

          ๓,๕๐๐ บาท / คน

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

๑.   ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร

       คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                 ห้อง ๓๓๐๒ อาคารสารสนเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน (อาคาร ๓)

                 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                 ๙๙๙ ถนนพุทธมณฑล สาย ๔  ตำบลศาลายา  อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐

                 โทรศัพท์ ๐๒-๔๔๑-๕๐๐๐ ต่อ ๓๓๔๔ โทรสาร ๐๒-๔๔๑-๙๕๑๐

                 อีเมล girenoffice@gmail.com 

๒.   ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

       ภาคกลางและภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยมหิดล

                 ห้อง ๓๓๐๓ อาคารสารสนเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน (อาคาร ๓)

                 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                 ๙๙๙ ถนนพุทธมณฑล สาย ๔  ตำบลศาลายา  อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐

                 โทรศัพท์ ๐๒-๔๔๑-๕๐๐๐ ต่อ ๓๓๔๔ โทรสาร ๐๒-๔๔๑-๙๕๑๐

                 อีเมล gistmu@mahidol.ac.th

                 เว็บไซต์: http://gistmu.mahidol.ac.th

กำหนดการอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ด้วยโปรแกรม R เพื่อประยุกต์ใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

(Spatial Data Analysis with R Program for Environmental Science)

วันที่ ๒๕ – ๒๖  กรกฎาคม ๒๕๖๗

ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ GIS อาคารสารสนเทศผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร อ้วนอ่อน

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

*****************************************************************************

วันพฤหัสที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗

 

เวลา

กิจกรรม

วิทยากร

๐๘.๐๐ - ๐๘:๓๐ น.

ลงทะเบียน (ทำแบบทดสอบก่อนเรียน)

๐๘:๓๐ - ๐๙:๐๐ น.

พิธีเปิด

คณบดี

๐๙:๐๐ - ๐๙:๔๕ น.

บรรยาย: พื้นฐานภูมิสารสนเทศศาสตร์ (Basic Geoinformatics)

-          เทคโนโลยีการสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote sensing)

-          ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System)

-          ระบบนำทางด้วยดาวเทียม (Global Navigation Satellite System)

อาจารย์พิสุทธิ นาคหมื่นไวย
และคณะ

๐๙:๔๕ ๑๐:๑๕

บรรยาย: ระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Coordinate Reference System (CRS) and EPSG Code)

-          Geographic CRS

-          Projected CRS

-          CRS Data transformation

อาจารย์พิสุทธิ นาคหมื่นไวย
และคณะ

๑๐:๑๕ ๑๐.๓๐ น.

พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๓๐- ๑๑:๐๐ น.

บรรยาย: ประเภทของข้อมูลเชิงพื้นที่และแหล่งที่มา (Geospatial data types and sources)

-          แบบจำลองข้อมูลเวคเตอร์ (Vector data model)

-          แบบจำลองข้อมูลแรสเตอร์ (Raster data model)

-          แหล่งที่มาของข้อมูล

อาจารย์พิสุทธิ นาคหมื่นไวย
และคณะ

๑๑:๐๐ - ๑๒:๐๐ น.

ปฏิบัติการ: พื้นฐานการใช้โปรแกรม QGIS เพื่อการเตรียมข้อมูลเบื้องต้น

-          การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่
(Import geospatial data)

-          เทคนิคการซ้อนทับข้อมูล
(Basic spatial overlay analysis)

อาจารย์พิสุทธิ นาคหมื่นไวย
และคณะ

๑๒:๐๐ - ๑๓:๐๐ น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

  ๑๓:๐๐ - ๑๔:๐๐ น.

บรรยาย:  แนะนำการใช้งานโปรแกรม R เพื่องานสิ่งแวดล้อม และการจัดการกับข้อมูลเชิงพื้นที่

ผู้ช่วยอาจารย์อันดามัน จันทร์ขาว และคณะ

 ๑๔:๐๐ - ๑๔:๑๕ น.

พักรับประทานอาหารว่าง

๑๔:๑๕ น.- ๑๖:๐๐ น.

ปฏิบัติการ:  การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่และการจัดการกับข้อมูล ด้วยโปรแกรม R

-          การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ (Import data)

-          การจัดการกับข้อมูลเชิงพื้นที่แต่ละประเภท (point, polyline, polygon, และ raster)

-           การคำนวณข้อมูลเชิงพื้นที่ขั้นพื้นฐาน

ผู้ช่วยอาจารย์อันดามัน จันทร์ขาว และคณะ

 

วันศุกร์ที่ ๒๖  กรกฎาคม ๒๕๖๗

 

เวลา

กิจกรรม

วิทยากร

๐๙.๐๐ - ๐๙:๑๕ น.

ลงทะเบียน

๐๙:๑๕ - ๑๐:๓๐ น.

ปฏิบัติการ: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในโปรแกรม R ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

-           Spatio-temporal Particulate Matter 2.5 (PM2.5) with Inverse Distance Weighting interpolation

ผู้ช่วยอาจารย์อันดามัน จันทร์ขาว และคณะ

๑๐:๓๐ ๑๐.๔๕ น.

พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๔๕- ๑๒:๐๐ น.

ปฏิบัติการ: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในโปรแกรม R ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

-          Species Distribution Pattern with
K-function (Random, Clustered, Uniform)

ผู้ช่วยอาจารย์อันดามัน จันทร์ขาว และคณะ

๑๒:๐๐ - ๑๓:๐๐ น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

  ๑๓:๐๐ - ๑๔:๓๐ น.

ปฏิบัติการ: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในโปรแกรม R ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์:

-          Species Distribution Model with present and absent data

ผู้ช่วยอาจารย์อันดามัน จันทร์ขาว และคณะ

 ๑๔:๓๐ - ๑๔:๔๕ น.

พักรับประทานอาหารว่าง

๑๔:๔๕ น.- ๑๖:๐๐ น.

ปฏิบัติการ: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ในโปรแกรม R ในงานด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

-          Forest area classification with Random Forest etc.

ผู้ช่วยอาจารย์อันดามัน จันทร์ขาว และคณะ

๑๖:๐๐ น.- ๑๖:๓๐ น.

แบบทดสอบหลังอบรมและแบบประเมินความพึงพอใจ

หมายเหตุ:

*กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


  

 


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.