• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

โครงการตลาดนัดสีเขียวGreen Market

Image
Image

ชื่อโครงการ

โครงการตลาดนัดสีเขียว Green Market ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ส่วนงานหลัก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการหลัก

คณะทำงานบริหารพื้นที่ตลาดนัดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
[รายชื่อคณะทำงานฯ]

ผู้ดำเนินการร่วม

MUIC/เทศบาลตำบลศาลายา/ชุมชนคลองโยง/ชุมชนจงถนอม/ชุมชนศาลาดิน/ชุมชนศาลายานิเวศน์/ชุมชนลำพยา

ที่มาและความสำคัญ

โครงการตลาดนัดสีเขียว ได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ พ.ศ.2535 เป็นตลาดที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  และพ่อค้าแม่ค้าโดยรอบมหาวิทยาลัย ได้มีสถานที่จำหน่ายสินค้าให้แก่บุคลากรในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางจำหน่ายพืช ผัก ผลไม้ปลอดสารพิษจากทั้งชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยและจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งเป็นสถานที่พักผ่อน พบปะบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และพัฒนาเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าของเกษตรกรโดยรอบมหาวิทยาลัยที่ประสบปัญหาราคาพืชผัก ผลไม้ขายไม่ได้ตามราคาตลาด รวมทั้งเป็นสถานที่ช่วยบรรเทาปัญหาเกษตรกรไม่สามารถนำผลผลิตออกจากพื้นที่เพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภคด้วยสาเหตุถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง

จากการดำเนินการตลาดนัดที่ผ่านมา พบว่าผู้ขายและผู้ซื้อใช้ถุงพลาสติกในการบรรจุสินค้า และโฟมเป็นภาชนะบรรจุอาหาร ส่งผลให้เกิดขยะที่ย่อยสลายยากเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และเป็นปัญหากับการจัดการด้านความสะอาด ผู้บริหารคณะฯ จึงมีมติให้คณาจารย์เป็นที่ปรึกษาโครงการตลาดนัดสีเขียว โดยมีคณะกรรมการสวัสดิการ รวมทั้งบุคลากรของคณะฯ เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณและสถานที่ โดยมีนักศึกษาของคณะฯ ร่วมดำเนินโครงการตลาดนัดสีเขียว เพื่อรณรงค์ เชิญชวนให้ผู้ขายของและผู้ซื้อที่ตลาดนัดคณะฯ ลดใช้ถุงพลาสติก โฟม เปลี่ยนเป็นใช้ถุงผ้า ใช้ถุงซ้ำ แยกประเภทและทิ้งขยะอย่างถูกวิธี สาธิตการนำขยะมาหมักทำปุ๋ย รวมทั้งจัดประชุมให้ความรู้ผู้ขายเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความตระหนัก เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงาน โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ คณะกรรมการสวัสดิการ นักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ รวมทั้งผู้ขายและผู้ซื้อเข้าร่วมโครงการตลาดสีเขียว

การดำเนินการ

1. ประชุม เสนอโครงการเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์เป้าหมายของโครงการ
2. สำรวจประเภทของขยะที่พบในตลาดนัด และสำรวจประเภทของบรรจุภัณฑ์ต่างๆ
3. ประชาสัมพันธ์โครงการ

ผลการดำเนินงาน

  1. มีการรณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าและบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ
  2. ผู้ประกอบการที่ใช้บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติมีจำนวนมากขึ้น
  3. ผู้บริโภคที่ใช้ถุงผ้ามีจำนวนมากขึ้น
  4. มีจำนวนถังขยะที่สามารถแยกประเภทขยะได้มากขึ้น

ผู้นำไปใช้ประโยชน์ หน่วยงาน ชุมชน ฯลฯ ผลกระทบ

  1. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำหน้าที่หลักของสถานศึกษาตามพันธกิจ โดยถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป และเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าของเกษตรกรโดยรอบมหาวิทยาลัยมหิดลที่ประสบปัญหาราคาพืชผัก ผลไม้ ขายไม่ได้ตามราคาตลาด
  2. คณาจารย์ นักศึกษา บุคลากรของคณะฯ ได้มีส่วนสำคัญในการถ่ายทอดความรู้และนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่รณรงค์ให้ผู้ขายและผู้ซื้อเข้าใจและเกิดทัศนคติในการลดการใช้ทรัพยากรและลดปริมาณขยะ รวมทั้งจัดหาถุงผ้า บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับผู้ขายและผู้ซื้อได้ใช้อย่างสะดวก
  3. ผู้ขายเข้าใจและให้ความร่วมมือในการลดใช้ถุงพลาสติกและลดขยะโดยการใช้บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติมากขึ้น
  4. ผู้ซื้อส่วนใหญ่เกิดการยอมรับให้ความร่วมมือและปฏิบัติต่อเนื่องสม่ำเสมอในการลดใช้ทรัพยากรและลดปริมาณขยะโดยซื้อสินค้าจากผู้ขายที่ใช้บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ
Image
Image
Image
Image

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

มีการวางแผนการจัดการที่ดีในทุกด้าน ทั้งในด้านการประชาสัมพันธ์ การหาผู้ค้ามารวมกลุ่มกัน     การจัดสถานที่ในการดำเนินกิจกรรมฯ รวมไปถึงมีการสนับสนุนงบประมาณหรือปัจจัยในการผลิต เป็นต้น

ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินกิจกรรม

- สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในชุมชนและเครือข่ายผู้ค้าในชุมชน

- เสริมสร้างเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของชุมชน

- ส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีโอกาสได้บริโภคผักและอาหารที่สะอาดและปลอดภัย

Partners/Stakeholders

- ผู้บริหารคณะฯ

- คณาจารย์ผู้สอน

- คณะกรรมการสวัสดิการ

- สโมสรนักศึกษา

- บุคลากรของคณะฯ

- นักศึกษา

- เครือข่ายผู้ขาย/ผู้ซื้อ

- MUIC

- เทศบาลตำบลศาลายา

- ชุมชนคลองโยง/ชุมชนจงถนอม/ชุมชนศาลาดิน/ชุมชนศาลายานิเวศน์/ชุมชนลำพยา

ตัวชี้วัด THE Impact Ranking

  1. มีปริมาณขยะถุงพลาสติกที่ลดลง
  2. มีผู้ใช้ผลิตภัณฑ์แบบใช้ซ้ำและผลิตภัณฑ์สีเขียวที่เพิ่มขึ้น
  3. ผู้ซื้อและผู้ขายเกิดความตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

SDG 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตร กรรมที่ยั่งยืน (End hunger, achieve food security and improved nutrition and promote sustainable agriculture)

ข้อ 2.5.4 Does your university as a body prioritise purchase of products from local, sustainable sources?

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDG 12 สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Ensure sustainable consumption and production patterns)

SDG 17 เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน (Strengthen the means of implementation and revitalize the Global Partnership for Sustainable Development)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. สามารถรณรงค์และส่งเสริมให้ผู้ขายและผู้ซื้อของตลาดนัดลดการใช้ถุงพลาสติก และงดใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่ทำจากโฟม เน้นการใช้ภาชนะจากวัสดุธรรมชาติ
  2. ส่งเสริมให้ผู้ขายและผู้ซื้อทั่วไปเข้าใจและเกิดทัศนคติในการลดการใช้ทรัพยากรและลดขยะ
  3. ได้สนับสนุนการจัดการขยะโดยแยกถังอย่างถูกวิธี และนำขยะไป Recycle เพื่อลดปัญหาการฝังกลบขยะมูลฝอยและมลพิษจากการเผาขยะ
  4. มีตลาดนัดต้นแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
Image
Image
Image

การประเมินความพึงพอใจการใช้บริการตลาดนัดสีเขียว ประจำปี 2558 - 2562

ประเด็นการประเมิน

ค่าเฉลี่ย

ค่าเฉลี่ยรวม

ความพึงพอใจ

2558

2559

2560

2561

2562

1. คุณภาพของสินค้าเหมาะสมกับราคา

3.67

3.68

4.56

4.68

4.56

4.23

มาก

2. กิจกรรมการแสดงประจำสัปดาห์ส่งผลต่อการตัดสินใจมาตลาดนัด

3.36

3.39

4.55

4.53

4.46

4.05

มาก

3. ความพึงพอใจต่อการให้บริการของพ่อค้า แม่ค้าในการจำหน่ายสินค้า

3.58

3.55

4.31

4.56

4.52

4.10

มาก

4. ความสะอาดของสินค้าและสถานที่จำหน่ายสินค้าและการจัดการขยะ

3.60

3.54

4.57

4.60

4.68

4.19

มาก

5. ความพึงพอใจต่อการจัดการจราจรและสถานที่จอดรถ

3.29

3.30

4.40

4.32

4.46

3.95

มาก

6. มีการนำผลิตภัณฑ์ชุมชนและผลิตผลในท้องถิ่นมาจำหน่ายในตลาดนัด

3.45

3.56

4.60

4.58

4.66

4.17

มาก

7. ความพึงพอใจในการซื้อสินค้าตลาดนัด

3.86

3.97

4.78

4.76

4.96

4.46

มาก

สรุปความพึงพอใจโดยรวม

3.54

3.55

4.53

4.56

4.57

4.15

มาก

เกณฑ์ในการประเมินความพึงพอใจ

เกณฑ์ในการประเมินความพึงพอใจ

ค่าเฉลี่ยที่อยู่ในระดับ 0.00 -1.50 หมายถึง ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด

ค่าเฉลี่ยที่อยู่ในระดับ 1.51 -2.50 หมายถึง ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับน้อย

ค่าเฉลี่ยที่อยู่ในระดับ 2.51 -3.50 หมายถึง ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง

ค่าเฉลี่ยที่อยู่ในระดับ 3.51 -4.50 หมายถึง ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมาก

ค่าเฉลี่ยที่อยู่ในระดับ 4.51 -5.00 หมายถึง ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

This image for Image Layouts addon

ผังบริเวณร้านค้าคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

แผนผังแสดงร้านค้าบริเวณโซนต่างๆ ของตลาดฯ
ดาวโหลดผังร้านค้า
© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.