Wildlife and Plant Research center & Nature History Museum

Home | About us | Research | Book | Contact Us

 
  " มุ่งเน้นงานวิจัย
  คงไว้ความหลากหลายทางชีวภาพ
  ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่มวลชน "
   
 

 

WildRec

   
 

 

NHM

   
   
  รายงานผลการปฎิบัติงานของศูนย์
  Year 2015
  Year 2014
  Year 2013
   
   
 

ศูนย์วิจัยสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


 
วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นศูนย์วิจัยทางด้านสัตว์ป่า พันธุ์พืช และธรรมชาติวิทยา ที่มุ่งผลิต
ผลงานวิจัยทางด้านสัตว์ป่า พันธุ์พืช และธรรมชาติวิทยาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมตัวอย่างพืช และสัตว์ป่า เพื่อใช้ในการศึกษา วิจัย จัดแสดงและให้ความรู้เกี่ยวกับตัวอย่างพืชและสัตว์ป่าอย่างต่อเนื่อง

เพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดฝึกอบรมทางด้านสัตว์ป่า พันธุ์พืช และธรรมชาติวิทยาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

ด้านการวิจัยและบริการวิชาการ
ทำการวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับนิเวศวิทยาของสัตว์ป่า และพันธุ์พืชที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ การจัดการถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผลกระทบจากกิจกรรมมนุษย์ต่อประชากรสัตว์ป่า และพันธุ์พืช เทคนิคในการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเพื่อการอนุรักษ์ การฟื้นฟูทรัพยากรพันธุ์พืช และสัตว์ป่า และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น
 
ด้านการจัดแสดงนิทรรศการ
ทำการรวบรวมตัวอย่างพืชและสัตว์ป่า มาจัดแสดงในรูปของนิทรรศการกึ่งถาวร
จัดแสดงให้ผู้เข้าชมสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับชนิด การกระจาย นิเวศวิทยา การสืบพันธุ์ การใช้ประโยชน์ของพืชและสัตว์ป่า
จัดแสดงให้ผู้เข้าชมได้รับความเพลิดเพลินในการเข้าชมนิทรรศการที่ได้จัดเตรียมไว้
ให้ความรู้และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของสัตว์ป่าและพืชพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย อันนำไปสู่ความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรเหล่านี้ไว้ให้ยั่งยืน
 
  ผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่
 
วารุณี เถียรถาวร รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์ และสคาร ทีจันทึก. 2553. ผลผลิตกาแฟอาราบิก้าในระบบวนเกษตรในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย. วารสารพฤกษศาสตร์ไทย 2(ฉบับพิเศษ):123-133.
   
  สุภัทร ประสพศิลป์ นริศ ภูมิภาคพันธ์ รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์. 2556. ความหลากหลายของพืชอาหารและการเลือกกินของกระทิง (Bos gaurus laosiensisบริเวณคลองปลากั้ง อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวนศาสตร์ 32(2):1-13.
   
 

Meeinkuirt, W., Pokethitiyook, P., Kruatrachue, M., Tanhan, P. and Chaiyarat, R. 2012. Phytostabilization of a Pb-contaminated mine tailing by various tree species in pot and field trial experiments. International Journal of Phytoremediation 14:925-938.

 
  Chaiyarat, R., Kongprom, U., Manathamkamon, D., Wanpradab, S., Sangarang, S. 2012. Captive breeding and reintroduction of the Oriental pied hornbill (Anthracoceros albirostris) in Khao Kheow Open Zoo, Thailand. Zoo Biology 31(6):683-693.
   
 

Chaiyarat, R., Ngoendee, M., Kruatrachue, M. 2013. Accumulations of Cd, Cu, Pb, and Zn in waters, sediments, and mangrove crabs (Sesarma mederi) in the Upper Gulf of Thailand. ScienceAsia 39:376-383.

   

 
   
  หนังสือ
 
รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์ คำรณ เลียดประถม กอขวัญ เติมประยูร อรวรรณ์ สังขตระกูล น้ำผึ้ง ยังโป้ย วารุณี เถียรถาวร. 2553. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลานในพื้นที่โครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา) ตำบลตกพรม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. โรงพิมพ์ โปรออฟเซท, จันทบุรี.
 
รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์. 2554. การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ. บริษัท มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ปรัเทศไทย) จำกัด, กรุงเทพฯ.
   

ศูนย์วิจัยสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โทร 0-2441-5000 ต่อ 2307 โทรสาร 0-2441-9509 e-mail : scrcy@mahidol.ac.th