• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

หลักการและเหตุผล


Image

หลักการและเหตุผล

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตระหนักถึงความสำคัญด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ จึงส่งเสริมและสนับสนุนให้มีมาตรฐานและแนวปฏิบัติต่าง ๆ ควบคู่กับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน การปกป้องสิ่งแวดล้อมและชุมชน รวมไปถึงการพัฒนางานวิจัยให้ได้คุณภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งนี้ วช. ได้สนับสนุนการดำเนินงานโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (Enhancement of Safety Practice of Research Laboratory in Thailand; ESPReL) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาให้เกิดเป็นมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมีในระดับประเทศ

          ในปี 2563 วช. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำโครงการตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการในรูปแบบ Peer Evaluation: Phase 1 เพื่อมุ่งเน้นการสร้างระบบตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการปลอดภัยในรูปแบบ Peer Evaluation ควบคู่กับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านความปลอดภัยของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ซึ่งผลสำเร็จของโครงการนี้คือ ได้คู่มือการตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการ มีห้องปฏิบัติการที่ดำเนินงานด้านความปลอดภัยเพื่อการยอมรับร่วมทั้งหมด 221 ห้องปฏิบัติการ และมีผู้ตรวจประเมินที่ผ่านการฝึกอบรมและขึ้นทะเบียน จำนวน 35 คน และในปี 2566 วช. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำโครงการตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการในรูปแบบ Peer Evaluation: Phase 2 โดยดำเนินการต่อยอดจากโครงการ Peer Evaluation: Phase 1 โดยการพัฒนาหน่วยบริหารการจัดการความตกลงร่วม การตรวจประเมินและสร้างผู้ตรวจประเมินห้องปฏิบัติการในรูปแบบ Peer Evaluation ทำให้ได้คู่มือหลักเกณฑ์และกระบวนการในการบริหารจัดการหน่วยบริหารจัดการความตกลงร่วม ได้หน่วยบริหารจัดการความตกลงร่วม จำนวน 2 หน่วยงาน (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น) มีห้องปฏิบัติการที่ดำเนินงานด้านความปลอดภัยเพื่อการยอมรับร่วมเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมด 104 ห้องปฏิบัติการ และมีการอบรมผู้ตรวจประเมินใน 4 ภูมิภาค (ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้) ซึ่งมีผู้ตรวจประเมินที่ผ่านการฝึกอบรมและขึ้นทะเบียน จำนวน 121 คน

          ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาระบบการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการเป็นไปอย่างต่อเนื่องครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น วช. จึงเห็นควรให้มีการจัดทำโครงการตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการในรูปแบบ Peer Evaluation: Phase 3 โดยดำเนินการต่อยอดจากโครงการ Peer Evaluation: Phase 2 ในการตรวจประเมินห้องปฏิบัติการให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ การตรวจประเมินเพื่อต่ออายุการรับรองห้องปฏิบัติการที่หมดอายุ การพัฒนาหน่วยบริหารจัดการความตกลงร่วม การจัดทำหลักสูตรการตรวจประเมินระบบการจัดการความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการเพื่อฝึกอบรมและพัฒนาวิทยากรผู้ที่จะให้ความรู้ด้านการตรวจประเมินแก่ผู้ตรวจประเมิน (train the trainer) รวมถึงการสร้างผู้ตรวจประเมินให้เพิ่มขึ้น เพื่อให้เพียงพอและรองรับกับความต้องการของหน่วยงานที่ต้องการยื่นขอการรับรองห้องปฏิบัติการปลอดภัยในรูปแบบ Peer Evaluation ตลอดจนเป็นการพัฒนาและยกระดับห้องปฏิบัติการในหน่วยงานต่าง ๆ ให้มีมาตรฐานต่อไป


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.