• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ปี 2567

ตรวจประเมิน MU AUN-QA Assessment (ระดับส่วนงาน) มหาวิทยาลัยมหิดล

7 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณะกรรมการวิชาการ คณาจารย์ และบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมต้อนรับคณะกรรมการตรวจประเมิน MU AUN-QA Assessment (ระดับส่วนงาน) มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.อริศรา เล็กสรรเสริญ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจประเมินฯ และ อาจารย์ ดร.วิมลมาศ บุญยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิด วิทยาเขตกาญจนบุรี เป็นคณะกรรมการ

การประเมินฯ จัดขึ้น ณ ห้องประชุมนาท ตัณฑวิรุฬห์ อาคารนาท ตัณฑวิรุฬห์ โดยมีหลักสูตรระดับปริญญาโททั้งภาคปกติและภาคพิเศษ จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (ภาคปกติและภาคพิเศษ) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม (ภาคปกติและภาคพิเศษ) และ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) เข้ารับการตรวจประเมินฯ


พิธีปิดโครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 19 (The Power Green Camp 2024)

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการจัดโครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 19 (The Power Green Camp 2024) เพื่อมุ่งส่งเสริมเยาวชนนำองค์ความรู้ไปประยุกต์แก้ปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน สังคม และประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นรากฐานนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนในอนาคต ผ่านการทำกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพของป่าในเมืองอย่างเป็นระบบ รวมถึงการทัศนศึกษาในพื้นที่จริง อาทิ สวนเบญจกิติ กรุงเทพมหานคร และ ป่าและลำธารธรรมชาติ จังหวัดสระบุรี ระหว่างวันที่ 28 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2567 โดยมีนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 จากโรงเรียนรัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศเข้าร่วม จำนวน 50 คน

โดยในวันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม 2567 ได้มีการจัดกิจกรรมนำเสนอโครงงานกลุ่ม และประกาศทีมที่ได้รับรางวัลการนำเสนอโครงงาน ซึ่งในปีนี้ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศได้แก่ทีม “สีเขียว” จากผลงานในชื่อ “Tin Tin Assistant” แอปพลิเคชั่นเพื่อการวางแผนและการจัดการพื้นที่สีเขียวของผู้ใช้งานภายในเมือง ขณะที่ทีม “สีม่วง” ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากผลงานชื่อ “CO GREEN DESIGN” แอปพลิเคชั่นเพื่อแนะนำชนิดของต้นไม้ที่เหมาะสมในการนำมาปลูกในห้องต่างๆ ทั้งภายในบ้านและอาคาร และทีม “สีแดง” ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากผลงานชื่อ “pedpakgreen” แอปพลิเคชั่นเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง

ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.นพพล อรุณรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการนำเสนอโครงงานกลุ่มสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ คุณรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส-สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) อาจารย์ ดร. วิชญา รงค์สยามานนท์ อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และ คุณภาณี แสงอ่อน นักวิชาการเกษตร อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อนให้เกียรติเป็นประธานกล่าวปิดโครงการฯ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดค่ายฯ รายงานผลการดำเนินโครงการ และ คุณรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส-สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวแสดงยินดีกับผู้เข้าร่วมโครงการในพิธีปิดการแข่งขัน

โดยผู้สนใจสามารถรับชมการนำเสนอโครงการแบบย้อนหลังได้ที่
https://www.facebook.com/share/p/VM5S7Mq7sDsmZDZz/?mibextid=oFDknk


โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 19 (The Power Green Camp 2024)

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2567 เวลา 13.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดโครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 19 (The Power Green Camp 2024) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย ประธานค่ายฯ และ คุณรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส-สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์และกล่าวต้อนรับเยาวชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายฯ ซึ่งประกอบไปด้วยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนของรัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศ จำนวน 50 คน จาก 50 โรงเรียนทั่วประเทศ


ค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 19 (The Power Green Camp 2024) จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เพื่อมุ่งส่งเสริมเยาวชนนำองค์ความรู้ไปประยุกต์แก้ปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน สังคม และประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นรากฐานนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนในอนาคต ผ่านการทำกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพของป่าในเมืองอย่างเป็นระบบ รวมถึงการทัศนศึกษาในพื้นที่จริง อาทิ สวนเบญจกิติ กรุงเทพมหานคร และ ป่าและลำธารธรรมชาติ จังหวัดสระบุรี ระหว่างวันที่ 28 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2567


รางวัลสถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2566

26 เมษายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรทยา เริ่มมนตรี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร เป็นผู้แทนคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ รับมอบป้ายรางวัลสถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2566 และรับมอบของเชิงสัญลักษณ์ด้านความปลอดภัยประจำส่วนงานจากอธิการบดี โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้โครงการ Safety day รณรงค์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ครั้งที่ 8 ภายใต้แนวคิด ต้นแบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย "Safety Day: Safety Model"

โดย ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงความสำเร็จในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย สู่มาตรฐาน ในระดับประเทศและระดับสากล รวมถึงการร่วมรณรงค์ส่งเสริมและกระตุ้นจิตสำนึกด้านความปลอดภัยแก่บุคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ลดสถิติการประสบอันตรายจากการทำงาน ณ โถงรับรอง (Foyer) อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล

Notice: No Images or Galleries Found


รางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบด้านความปลอดภัย ประจําปี 2556

26 เมษายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราพร ขำโสภา รองคณบดีฝ่ายบริหาร ในฐานะผู้แทนคณบดี พร้อมด้วยบุคลากรห้องปฏิบัติการ งานปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานสากล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับมอบโล่รางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบด้านความปลอดภัย ประจําปี 2556 จํานวน 8 ห้องปฏิบัติการ ได้แก่
1. ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม 4420
2. ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม 4421
3. ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม 4422
4. ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม 4423
5. ห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 (ห้อง 4423/1 และห้อง 4423/2)
6 ห้องเครื่องมือกลาง 1 (ห้อง 4410/1)
7. ห้องเครื่องมือกลาง 2 (ห้อง 4410/2)
8. ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม 4418
โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้โครงการ Safety day รณรงค์อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ครั้งที่ 8 ภายใต้แนวคิด ต้นแบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย "Safety Day: Safety Model" โดย ศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงความสำเร็จในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย สู่มาตรฐาน ในระดับประเทศและระดับสากล รวมถึงการร่วมรณรงค์ส่งเสริมและกระตุ้นจิตสำนึกด้านความปลอดภัยแก่บุคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ลดสถิติการประสบอันตรายจากการทำงาน ณ โถงรับรอง (Foyer) อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล


โครงการสนับสนุนการเพิ่มประชากรนกกระเรียนพันธุ์ไทย

เมื่อวันที่ 11-12 เมษายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะกาญจน์ เที้ยธิทรัพย์ และ รองศาสตราจารย์ ประพฤติ เกิดสืบ เข้าร่วมประชุมในโครงการสนับสนุนการเพิ่มประชากรนกกระเรียนพันธุ์ไทย ร่วมกับสวนสัตว์นครราชสีมา องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย และ มูลนิธิอนุรักษ์นกกระเรียนสากล (International Crane Foundation) โดย Dr. Tran Triet ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สัตวแพทย์หญิง Diana Boon, DVM และ คุณ Kim Bordman พร้อมผู้แทนจากอุทยานแห่งชาติทรัมจิม และสวนสัตว์ไซง่อน ประเทศเวียดนาม เพื่อเตรียมความพร้อมในการขนย้ายนกกระเรียนพันธุ์ไทยจากสวนสัตว์นครราชสีมา ไปประเทศเวียดนาม ณ สวนสัตว์นครราชสีมา จังหวักนครราชสีมา และศูนย์เรียนรู้พื้นที่ชุ่มน้ำและนกกระเรียนพันธุ์ไทย จังหวัดบุรีรัมย์


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.